การศึกษาการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ของนักวิจัยชาวเนเธอแลนด์


วิจัยการใช้Voorbij, H. & Ongering, H. 2006. The Use of Electronic Journals by Dutch Researchers : a descriptive and exploratory study. Journal of Acdemic Librarianship. 32(3) : 223-227.

                 จำนวน 304 คน พบว่า นักวิจัยส่วนใหญ่ร้อยละ 40.8 มีประสบการณ์ในการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ในระดับปานกลาง รองลงมาร้อยละ 29.3 มีประสบการณ์ในระดับน้อย และร้อยละ 28.9 มีประสบการณ์ในระดับมาก ระดับการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์พบว่า นักวิจัย ร้อยละ 27.3 ใช้วารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ถึงร้อยละ 76-99 และพบว่านักวิจัยที่มีอายุน้อยจะมีการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์มากกว่าผู้วิจัยที่มีอายุมาก แม้ว่าจะมีการใช้วารสารในรูปแบบอิเล็กมรอนิกส์ค่อนข้างสูง นักวิจัยยังใช้วารสารที่เป็นฉบบัพิพม์อยู่ โดยร้อยละ  65.5 มีเหตุผลในการใช้ฉบับพิมพ์เนื่องจากวารสารที่เป็นฉบับเก่าไม่ได้จัดทำในรูปแบบอิเ,กทรอนิกส์ รองลงมาร้อยละ  61.5 เห็นว่าวารสารบางชื่อเรื่องไม่ได้จัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกสฺ ร้อยละ 42.8 เห็นว่าการเข้าถึงบทความในวารสารฉบับพิพม์นั้นง่ายกว่าการค้นในวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 40. 8 เห็นว่า วารสารฉบับพิมพ์นั้นจัดเก็บในห้องสมุดอยู่ใกล้ในการเข้าไปใช้ ร้อยละ 7.9 เห็นว่าวารสารอิเล็กทรอนิกส์นั้นยากต่อการใช้งาน และร้อยละ  3.9 เห็นว่า ได้ใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์แทนวารสารฉบับพิมพ์บางส่วนที่หายไป นักวิจัยมีความคิดเห็นต่อการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ว่ามีความสำคัญมากที่สุดเพราะการเชื่อมโยงแบบ Clinking Hyperlink (ร้อยละ 80.4) รองลงมาร้อยละ 76.0 เห็นว่ามีการสืบค้นจาก full text  ร้อยละ 21.1 เห็นว่ามีการเพิ่มข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ ร้อยละ 11.8 เห็นว่ามีข้อมูลที่เป็นการอภิปรายประกอบ และร้อยละ 11.6 เห็นว่ามีข้อมูลแบบสื่อผสมซึ่งสะดวกต่อการใช้  ความคิดเห็นต่อวิธีการได้มาซึ่งบทความนั้น นักวิจัยร้อยละ  75.9 เห็นว่า ใช้การสืบค้นจากรายการอ้างอิง (citations) รองลงมาร้อยละ  69.5 ใช้การสืบค้นจากฐานข้อมูลบรรณานุกรม ร้อยละ 41.6 ใช้การไล่เรียง (Browsing) ร้อยละ 39.4 ใช้การสืบค้นจากfull text และร้อยละ 27.5 ใช้บริการ Alerting ของฐานข้อมูล

                นอกจากนี้ในการศึกษายังพบว่า การสืบค้นจาก full text   การเชื่อมโยงแบบ Clinking Hyperlink การมีข้อมูลที่เป็นการอภิปรายประกอบ มีข้อมูลแบบสื่อผสม  และมีการเพิ่มข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ ซึ่งสะดวกต่อการใช้  มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำวิจัยแบบมีนัยสำคัญทางสถิติทางสถิติ

                สำหรับผลกระทบของวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อพฤติกรรมการทำวิจัย นักวิจัยร้อยละ 44.3 เห็นว่า ทำให้ได้มีการใช้วาสารที่หลากหลายและมีจำนวนมากยิ่งขึ้น ร้อยละ 38.0 เห็นว่าวารสารอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีความสำคัญอย่างมาก และร้อยละ 28.1 เห็นว่าวารสารอิเล็กทรอนิกส์เป็นแหล่งที่ให้บทความวิจัยและบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย

Voorbij, H. & Ongering, H.  2006. The Use of Electronic Journals by Dutch Researchers : a descriptive and exploratory study. Journal of Acdemic Librarianship. 32(3) : 223-227.

หมายเลขบันทึก: 308926เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2009 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท