beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

วิธีคิดเชิงระบบของ beeman <๓> : การบริหารค่าโทรศัพท์ (มือถือ) ต้องคิดเป็นระบบ


ลดค่าใช้จ่ายค่าเติมเงิน จากปีละ ๑๒,๐๐๐ บาท เหลือ ๔,๑๐๐ บาท โดยอาศัยวิธีคิดเชิงระบบ และการบริหารจัดการแบบบูรณาการ

    บันทึกนี้ขอนำเสนอ วิธีคิดเชิงระบบ ในการบริหารค่าโทรศัพท์ของผม ซึ่งผ่านประสบการณ์จากการปฏิบัติ ซึ่งผมเคยเล่าไว้ที่

   สรุปฐานความคิดง่ายๆ ว่า

  1. เดิมค่าโทรศัพท์ ๔ เครื่องของครอบครัว ๒ ระบบ (AIS,DTAC) จ่ายค่าโทรเครื่องละ ๓๐๐ บาท ต่อเดือน ปีหนึ่งคิด ๑๐ เดือนเป็นเงิน ปีละ ๑๒,๐๐๐ บาท (ตอนนั้นไม่ได้จดบันทึกค่าโทรศัพท์ไว้-ตัวเลขจึงเป็นค่าประมาณการจากการใช้จริง)
  2. (โจทย์) ถ้าต้องการลดค่าโทรลง เหลือปีละ ๔-๕,๐๐๐ บาท จะทำได้หรือไม่
  3. ก่อนทำก็ต้องเสนอแนวทางการคิดให้กับตัวเองก่อน จึงเขียนเป็นบันทึก ของวิธีคิด ณ เวลานั้น
  4. แต่เมื่อถึงเวลาปฏิบัติจริง ก็ต้องมีการปรับแผนกันบ้าง (ปรับแผนในชีวิตประจำวันโดยเราเป็นเจ้านายตัวเองง่ายกว่าการปรับแผนในส่วนของราชการ ซึ่งต้องอธิบาย โดยการผ่านการเขียนให้ผู้บริหารหน่วยงานนั้นๆ ได้ทราบ และทำให้เขาเชื่อตามนั้น) แต่หลักปฏิบัติคือ โทรไปเรียนรู้ไป และที่สำคัญคือ "ต้องจดบันทึกให้เป็นระบบ"
  5. วิธีเรียนรู้ก็ต้องลงทุนบ้าง คือ ไปเรียนรู้ที่ศูนย์ DTAC ซึ่งต้องเสียค่าน้ำมันในการเดินทาง แต่บริหารโดยที่เราต้องไปทำภาระกิจเรื่องอื่นๆ อยู่แล้ว ส่วนนี้จึงไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่ก็ต้องเสียเวลาไปบ้าง แต่ถือว่าคุ้มค่า เพราะเป็นเวลาแห่งการเรียนรู้

     การปฏิบัติจริง

  1. จากหมายเลขที่ถืออยู่รวมกัน ๖ หมายเลข (DTAC) เพิ่มขึ้นเป็น ๑๕ หมายเลข (DTAC) หมายเลขที่เพิ่มขึ้น (เป็นระบบเติมเงินทั้งสิ้น) เสียค่ารักษาหมายเลข ๒๐๐ บาท (เป็นค่าเติมเงินเพื่อซื้อเวลาให้ผ่านพ้น ๙๐ วัน)
  2. ในรอบ ๑ ปี (ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๕๒-๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๒-คิดค่าใช้จ่ายล่วงหน้า)
    1. เติมเงินเข้าระบบทั้งสิ้น ประมาณ ๘,๓๐๐ บาท
    2. หักค่าบริหารจัดการค่าโทรซึ่งมีผู้ฝากบริหาร ๒,๗๐๐ บาท (จาก ๘,๓๐๐ บาท จึงจ่ายจริงเพียง ๘,๓๐๐-๒,๗๐๐ = ๕,๖๐๐ บาท)
    3. บริษัท การเงินบริษัทหนึ่ง ส่งบัตรเครดิตมาให้ใช้ ๑ ใบ (ฟรี) มีเงื่อนไขกระตุ้นการใช้คือ หากใช้ ๑๕ ครั้ง ใน ๕๐ วัน จะคืนเงินเข้าบัญชีเป็นตัวเลขให้ ๑,๕๐๐ บาท ลงทุนใช้จริงเป็นเงิน ๔,๑๔๘+๕๓๗.๕๐ บาท ๔,๖๘๕.๕๐บาท (จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนเป็น ๑,๕๐๐/ ๔,๖๘๕.๕๐ คูณ ๑๐๐ เท่ากับ ๓๒%)
    4. นำเงินที่คืนเข้าบัญชีบัตรเครดิตไปเติมเงิน ในวันเกิด ๓ ครั้ง ครั้งละ ๕๐๐ บาท ได้เงินเข้ากระเป๋าหลัก ๑,๕๐๐ บาท เข้ากระเป๋า bonus ๑,๕๐๐ บาท
  3. สรุปว่าในรอบ ๑ ปี จ่ายค่าเติมเงินในโทรศัพท์ไป (จ่ายจริง) ๘,๓๐๐-๒,๗๐๐-๑,๕๐๐ = ๔,๑๐๐ บาท (เกินไป ๑๐๐ บาท)
  4. ยังเหลือเงินค่าโทร ในปีถัดไป (ในกระเป๋าหลัก) อีกประมาณ ๒,๐๐๐ บาท ทำให้ปีต่อไปบริหารค่าโทรไม่เกิน ๔,๐๐๐ บาท ทำได้ง่ายมาก ประกอบกับมี Promotion ที่ทำให้ค่าโทรลด ดังนั้นปีต่อไปจะเติมเงินเพิ่มอีกเพียง ๒,๐๐๐ บาท เท่านั้น
  5. สิ่งที่เกินคาด คือ มีวงเงินให้เล่นอินเตอร์เน็ต ผ่าน GPRS ซึ่งจะใช้ไปในปี ๕๒ ประมาณ ๑,๔๐๐+VAT ๑๐๐ เท่ากับ ๑,๕๐๐ บาท ซึ่งเงินส่วนนี้อยู่ในค่าโทรที่จ่ายล่วงหน้า)
  6. สิ่งที่เกินคาด อีกอย่างหนึ่งคือ การสมัคร Happy bank และสมัครการใช้บริการผ่าน web รวมทั้งส่ง SMS ทาง อินเตอร์เน็ตได้ฟรี
  7. เงินที่ประหยัดค่าโทรศัพท์ ซึ่งคาดว่าประหยัดได้อย่างน้อย ๖,๐๐๐ บาท และช่วยให้คนอื่นประหยัดเงินได้อีก ๙๐๐ บาท นำไปซื้อโทรศัพท์ (ทั้งมือ ๑ และ ๒) ได้โทรศัพท์เพิ่มมา ๔ เครื่อง จ่ายเงินไปเพียง ๓,๔๗๐ บาท
  8. พบว่า เรามีโทรศัพท์ และหมายเลขที่ใช้โทรเพียง ๓-๔ เครื่อง (ต่อคน) ก็สามารถบริหารค่าโทรศัพท์ได้อย่างคุ้มค่า
    • ๑ เครื่อง เป็นระบบ AIS ไว้โทรหาเครือข่าย AIS
    • ๑ เครื่อง เป็นระบบ DTAC เอาไว้รับสาย โดยใช้ Promotion รับสายรับทรัพย์เอาไว้เก็บสตางค์
    • ๑ เครื่อง เป็นระบบ DTAC สมัครโปรโมชั่น ๑๕ หยกๆ ๑๖ หย่อนๆ เอาไว้โทรในเครือข่าย นาทีละ ๑๖ สตางค์
    • ๑ เครื่อง เป็นระบบ DTAC Promotion อะไรก็ได้ เพราะเราสามารถสมัคร Supermouth ได้ ไม่ต้องเสียค่าเปลี่ยน Promotion ให้เปลืองเงิน และสามารถสมัคร Happy เบอร์คนโปรดได้ด้วย (บางครั้งสมัครฟรีผ่าน Promotion พิเศษ)

สรุปการเรียนรู้ เรื่องระบบโทรศัพท์มือถือ ในรอบ ๑ ปี ที่ผ่านมา

  1. ได้เรียนรู้ "วิธีคิด"ในการบริหารการตลาด ของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ เครือข่าย DTAC จากที่ก่อนหน้านั้นไม่ค่อยรู้อะไร กลายเป็นการรู้แบบ "ผู้รู้จริง" มากขึ้น
  2. ได้เรียนรู้ "วิธีคิดเชิงระบบ" ซึ่งนำมาวางแผนการใช้จ่ายล่วงหน้า และสามารถลดค่าใช้จ่ายค่าเติมเงิน จากปีละ ๑๒,๐๐๐ บาท เหลือ ๔,๑๐๐ บาท ด้วยการบริหารจัดการแบบบูรณาการ
  3. ได้เรียนรู้ วิธีบริหารจัดการ Promotion ของบริษัทโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
  4. ได้เรียนรู้เทคโนโลยีของโทรศัพท์มือถือเพิ่มมากขึ้น ผ่านความรู้ในอินเตอร์เน็ต
  5. ได้เรียนรู้ว่า นิสิตรุ่นใหม่ ไม่ค่อยได้ภูมิคุ้มกันทางด้านความประหยัด มาจากพ่อแม่และครูบาอาจารย์
  6. ได้ถ่ายทอดความคิดเชิงระบบ ผ่านบันทึก ใน GotoKnow... ขอบคุณ ทีมงาน  GotoKnow
beeman by Apinya

มนุษย์ผึ้งมหัศจรรย์  
神奇的蜂爷
  
(shen2  qi2  de1  feng1  ye2)

หมายเลขบันทึก: 308825เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2009 09:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คิดเป็นเชิงระบบ ประหยัดค่าโทร

แบบนี้ต้องนำใช้บ้างคะ จะได้ประหยัด

  • ยินดีครับ นำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมครับ

 

ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ แต่เพราะใช้โทรศัพท์รายเดือนจึงยังไม่เข้าใจเท่าที่ควร

แต่ขออนุญาตศึกษาแล้วจะนำไปจัดเป็นกิจกรรมปลูกฝังแนวคิดให้กับนักศึกษา

ขอบคุณนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท