สิ่งที่โรงพยาบาลต้องรู้ก่อนการ Accredit


คุณสมบัติโรงพยาบาลที่จะได้รับAccreditต้องสามารถแสดงให้เห็นการบรรลุเป้าประสงค์ของโรงพยาบาลต้องแสดงให้เห็นผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีขึ้น.

มาช่า เอ๊ย..มาช้าไปหน่อย  สำหรับการบอกเล่าเรื่องเด่นประเด็นเด็ดจากเวที Ac to Acc 6-8 ตุลาคม2552 เพราะต้องกลับมาตกตะกอนความรู้และทบทวนความรู้ใหม่ (สำหรับตนเอง) แต่ได้พี่รัชและจรรย์กู้หน้าเอาไว้ ขอบคุณทีมงานในดวงใจจริงๆ  พี่รัชเรียกน้ำย่อยเรื่องการบริหารความเสี่ยงไว้อย่างน่าสะเทือนใจว่าของเรายังไม่มีชีวิต ???? ขณะที่จรรย์โหมโลงเรื่องทีมนำเรียกพลังคณะกรรมการบริหาร(ถ้า...ท่าน/พี่/มัน..อ่านกัน)ได้ดีทีเดียว  เรื่องเล่าจากเวทีนี้คงลากยาวกันมากกว่าหนึ่งตอนแน่นอน นนนนนน… confirm  บรรยากาศของเวทีสะท้อนให้เห็นว่าโรงพยาบาลเอกชนมีความสนใจกระตือรือร้นในการพัฒนาคุณภาพ HA โดดเด่นกว่าฝั่งราชการ 

ขอเริ่มจากชั่วโมงสุดท้ายวันที่ 8   ตุลาคม 2552 เป็นเวทีของทีมPCT มีอาจารย์พยาบาลเป็นวิทยากรหลักมีอาจารย์แพทย์เป็นวิทยากรเสริม(ถ้าสลับวิทยากรกันจะOK กว่านี้มาก ใครก็ได้ช่วยบอก  สรพ.ที 555)

ภาษิตจีนสอนไว้ว่ารู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง  ทางสรพ. เลยบอกข้อสอบมาเพื่อให้โรงพยาบาลสามารถเตรียมพร้อมรับ Accredit  ได้ ดังนี้

1.             โรงพยาบาลต้องสามารถแสดงให้เห็นการบรรลุเป้าประสงค์ของโรงพยาบาล(ของโรงพยาบาลเรามีหรือเปล่า/ยังไม่มี) ตามบริบทที่ควรเป็น

2.             โรงพยาบาลต้องแสดงให้เห็นผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีขึ้น....คือ

-ครอบคลุมโรคสำคัญ(DM/HT(ทุ๊กโรงบาล),MI และโรคอื่นๆ ประมาณ 20โรคก็พอฯ

-วิเคราะห์ประเด็นสำคัญและมิติคุณภาพที่สำคัญได้เหมาะสม

-มีการจัดการกับความเสี่ยงสำคัญและประเด็นสำคัญเหมาะสม มีการรับรู้และเข้าใจทั่วถึง

-ใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพและการเรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคนั้นๆอย่างเหมาะสม

-มีการวัดผลที่เหมาะสมทั้งด้าน process outcome  นำเสนอโดย  control  chart (เป็นไง ยังนึกไม่ออก)

ขยายความเพิ่มเติม อาจารย์นายแพทย์ชัยณรงค์ ยกตัวอย่าง โรคMI  การวัด process ควรวัด key process ซึ่งมาจากการกระเทาะประเด็นสำคัญว่าสำหรับโรค MI  key process  คืออะไร..(แพทย์น่าจะรู้ดีกว่าใคร..อาจารย์ไม่ได้บอก  คิดเอง) หรือการวัด outcomeวัดแค่หาย ไม่ตาย ไม่พอ  เพราะอาจฟลุ๊กได้  ต้องคิดเพิ่มว่าจะวัดอะไรได้อีก....และเน้นการเรียนรู้จากการทบทวนเวชระเบียน

-ผู้รับบริการและผู้เยี่ยมสำรวจสามารถสัมผัสถึงคุณภาพที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้จริง

โดยให้ยกตัวอย่างผู้ป่วยจริงที่ได้รับบริการ/ลงไปย้อนรอยดู    บางครั้งอาจพบว่ามีโรคที่ไม่ใช่เป้าหมายถูกละเลย

เรื่องการกำหนดตัวชี้วัดถ้า ER ทำเรื่อง MI  เรื่องนี้จะเป็นตัวชี้วัดของ  ER  และเป็นของ PCT  แต่อาจไม่ใช่ตัวชี้วัดของโรงพยาบาล  แต่โรงพยาบาลจะดูอัตราตายของ MI  ได้  และอย่าลืมมมมม.... เรื่องสร้างเสริมสุขภาพ กรณีAcute MI   ERจะทำอย่างไร  ต้องมองไปที่ญาติ คือมองแบบองค์รวม และต้องไม่ลืมเรื่องเครื่องมือ รถ LAB เมื่อจะearly  diag  ความรู้ของบุคลากร  เรื่องระหว่างโรงพยาบาล    นี่คือการเชื่อมโยงซึ่งดูทุกระบบ

                และที่น่าสนใจคืออาจารย์กรุณายกตัวอย่าง กรณี MI  ในERไว้อย่างน่าสนใจ  เช่นหากมี  MI  20 คน  ต้องทบทวนการดูแลผู้ป่วย 3  กรณี คือ 1.ถ้าทำแล้วผู้ป่วยตาย  2.ถ้า  refer แล้วตายกลางทาง    3.  ถ้าวินิจฉัยผิด สมมุติว่าจาก20 คนเหลือ15 คน ที่ได้กลับบ้าน เพราะฉนั้น15  คนนี้ต้องได้รับการดูแลต่อ  โดยการสร้างเสริมสุขภาพจะเข้ามาเกี่ยวตอนนี้   เช่น  EMS มีแผนที่บ้านผู้ป่วยกลุ่มนี้ พอเริ่มมี Sign รถรับทันที  เป็น Home  to Hospital  ซึ่งช่วยลดเวลาให้กับผู้ป่วยได้   ต่อด้วยดู  Reattact  ที่  ER  ว่าลดลงที่  ER หรือเปล่า  วิเคราะห์ต่อว่าผู้ป่วยมี  underlying condition อะไรอีกบ้าง เช่น  อยู่คนเดียว  เพื่อส่งข้อมูลให้ชุมชนไปปรับการดูแลในชุมชนต่อไป

จากตัวอย่างได้เรียนรู้    -เชื่อมได้ทุกระบบ

                                                -หน่วยงานต้องเก็บตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับงานในโรคนั้นๆ

 

สวัสดี/พบกันตอนต่อไปเร็วๆนี้

ฉันทนา  พินิจจันทร์

                                               

 

                               

 

 

หมายเลขบันทึก: 308524เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2009 21:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณที่สรุปให้ สรพ. ฟังด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สรุปได้ดีจริงๆ แสดงว่าคนเขียนไปประชุมครั้งนี้ ไม่หลับเลย..active..จริงๆ/ N.W.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท