การติดอันดับ 200 มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก จำเป็นกับมหาวิทยาลัยไทยหรือไม่?


ผมเพิ่งโพสต์เรื่องเกี่ยวกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัย 200 อันดับแรกของโลก โดย Times Higher Education ลงในบล๊อกของผม ปีนี้มีมหาวิทยาลัยในเอเชียติดอันดับกันมากมาย โดยเฉพาะจากญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง หรือแม้กระทั่งสิงค์โปร์และมาเลเซีย

สำหรับประเทศไทยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดอันดับที่ 138 ของโลก ร่วมกับ University of Groningen นอกนั้นไม่มีมหาวิทยาลัยอื่นๆ (รวมทั้ง ธรรมศาสตร์) ติดอันดับอยู่เลย

จึงเกิดความสงสัยว่า เออ ทำไมเราถึงไม่ติดอันดับหนอ แต่ก็คิดย้อนกลับไปก่อนทำถามนั้นด้วยว่า การติดอันดับใน 200 มหาวิทยาลัยชั้นนำนั้นจำเป็นต่อมหาวิทยาลัย (อย่างเช่นธรรมศาสตร์) หรือไม่ ? ว่าไงกันหนอโลก..?

หมายเลขบันทึก: 308366เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2009 00:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สำหรับมหาวิทยาลัยเล็ก ๆ ที่ผมอยู่ ... แค่อยู่ในประเทศไทย ก็ยังมาคุยแล้วคุยอีก

หมายถึง คุณภาพมันไม่ได้จริง ๆ แต่เอามาคุยเหมือนหาเสียงครับ

ที่ 1 อันโน้น ที่ 3 อันนี้ ที่ 1 อันโน้นอีกที ...

ไม่รู้ล่ะผม ... หากผลประโยชน์และความรู้ตกอยู่ที่นักศึกษา ผม OK หมด ไม่ว่าจะติดฝุ่น หรือไม่ติดฝุ่น

ขอบคุณครับ ;)

  • เมื่อสังคมไม่รู้ว่า อะไรคือความรู้ อะไรคือการเรียนรู้ที่แท้จริง สำหรับสังคมไทย
  • การอิงแอบอยู่กับมาตรฐานคนอื่น...จึงกลายเป็น "ความจำเป็น"
  • แต่ถ้าเรารู้จักตัวตน รู้จักสังคม และรู้ว่าแท้จริงเราต้องการอะไรที่เหมาะสมกับตนและสังคม
  • มาตรฐานของคนอื่น ก็ไม่สำคัญ เท่ากับว่า คนของเราได้อะไรจากการเรียนรู้
  • คำถามจึงอยู่ที่ "มหาวิทยาลัย" เข้าใจบทบาทของตนเองมากน้อยเพียงใด
  • หรือจะเป็นเพียง "สถาบันจัดแบ่งชนชั้น"
  • และอ้างเอา "ความเป็นสากล" เป็นเกราะสร้างความชอบธรรม ในการสร้างคุณค่าของสถาบัน.....เพื่อใคร???

ขอบคุณพื้นที่สำหรับร่วมแสดงความคิดเห็นค่ะ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท