การแจ้งตาย


การจดทะเบียนการตาย
การจดทะเบียนการตาย
 
หลักการทั่วไป     
                ทะเบียนคนตายเป็นทะเบียนราษฎรอีกประเภทหนึ่งที่นายทะเบียนสามารถรับแจ้งและออกหลักฐานการตายให้กับทุกคนที่เกิดเหตุเสียชีวิตในดินแดนของประเทศไทย โดยหลักการทั่วไปจะไม่แตกต่างกับการจดทะเบียนการเกิด กล่าวคือพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้กำหนดในเรื่องการจดทะเบียนการตายโดยเมื่อมีคนตายไม่ว่าจะตายในสถานพยาบาล ตายในบ้าน ตายนอกบ้าน ตายโดยมีสาเหตุ หรือตายผิดธรรมชาติ ไม่ว่าคนตายจะมีชื่อในเอกสารการทะเบียนราษฎรหรือไม่  คนตายเป็นคนสัญชาติไทยหรือคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในสถานะใดก็ตาม  ผู้มีหน้าที่แจ้งการตาย คือ เจ้าบ้าน บุคคลที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้พบศพ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวจะต้องแจ้งการตายต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่มีคนตายหรือที่พบศพภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยถ้าคนตายเสียชีวิตในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลไม่ว่าของรัฐหรือเอกชน ผู้รักษาก่อนตายจะต้องออกหนังสือรับรองการตายตามแบบ ท.ร.๔/๑ ให้เป็นหลักฐานสำหรับนำไปแจ้งการตายและขอมรณบัตร แต่ถ้าการเสียชีวิตเกิดจากเหตุผิดธรรมชาติหรือเกิดจากโรคติดต่ออันตราย การออกมรณบัตรจะต้องรอให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายได้ชันสูตรและมีความเห็นก่อน นายทะเบียนจึงจะสามารถออกมรณบัตรให้ได้
                การแจ้งการตายแบ่งออกเป็น 
๑.      การแจ้งคนตายในบ้านหรือตายนอกบ้าน
๒.    การแจ้งการตายต่างสำนักทะเบียน
๓.     การแจ้งการตายเกินกำหนด
๔.     การแจ้งการตายกรณีตายผิดธรรมชาติ
 
ก. การแจ้งการตายของคนสัญชาติไทย
๑. การแจ้งคนตายในบ้านหรือตายนอกบ้าน
                กฎหมาย
               พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
                มาตรา ๒๑  เมื่อมีคนตายให้แจ้งการตายดังต่อไปนี้
                (๑) คนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย ในกรณีไม่มีเจ้าบ้าน ให้ผู้พบศพแจ้งภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาพบศพ
                (๒) คนตายนอกบ้าน ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีการตายหรือพบศพ แล้วแต่กรณี หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ ในกรณีเช่นนี้จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้
                มาตรา ๒๓  เมื่อมีคนเกิดหรือคนตาย ผู้ทำคลอดหรือผู้รักษาพยาบาลต้องออกหนังสือรับรองการเกิดหรือการตายตามแบบพิมพ์ที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนดให้แก่ผู้มีหน้าที่ต้องแจ้งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๑
                ขั้นตอนการปฏิบัติ
๐ ผู้มีหน้าที่แจ้งการตาย ได้แก่
         (๑) เจ้าบ้านที่มีคนตาย กรณีคนตายในบ้าน (รวมถึงสถานพยาบาล) หากไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพเป็น    ผู้แจ้ง
         (๒) บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพ กรณีคนตายนอกบ้าน
๐ ระยะเวลาแจ้งการตาย
        (๑) คนตายในบ้าน ต้องแจ้งภายใน ๒๔ ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย หรือเวลาพบศพแล้วแต่กรณี
        (๒) คนตายนอกบ้าน ต้องแจ้งภายใน ๒๔ ชั่วโมงนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ เว้นแต่กรณีท้องที่ ที่การคมนาคมไม่สะดวก ผู้อำนวยการทะเบียนกลางสามารถขยายเวลาการแจ้งตายได้แต่ต้องไม่เกิน ๗ วัน  นับแต่เวลาตายหรือพบศพ
๐ สำนักทะเบียนที่แจ้งการตาย
        (๑) สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่มีคนตายหรือพบศพ
        (๒) ถ้าไม่ทราบท้องที่ที่ตายหรือมีเหตุจำเป็นไม่อาจแจ้งในท้องที่ที่ตายได้ (กรณีคนตายนอกบ้าน) ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่พบศพหรือที่พึงจะแจ้งได้ แล้วแต่กรณี
                ขั้นตอนการแจ้ง
๐ กรณีคนในท้องที่สำนักทะเบียนตายในบ้านหรือตายนอกบ้าน
๑. ผู้แจ้งแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ได้แก่
          (๑) บัตรประจำตัวผู้แจ้ง
          (๒) บัตรประจำตัวของคนตาย (ถ้ามี)
          (๓) หนังสือรับรองการตายตามแบบ ท.ร.๔/๑ (กรณีคนตายในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล)
          (๔) ใบรับแจ้งการตายตามแบบ ท.ร.๔ ตอนหน้า (กรณีแจ้งต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน)
          (๕) รายงานการชันสูตรของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานนิติเวช (กรณีตายผิดธรรมชาติ หรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ)
         (๖) สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่อและรายการบุคคล (ถ้ามี)
๒. นายทะเบียน
         (๑) ตรวจสอบหลักฐานของผู้แจ้ง
         (๒) สอบถามผู้แจ้งเกี่ยวกับการจัดการศพว่า จะเก็บ ฝัง เผาหรือทำลาย และสถานที่จัดการศพเพื่อลงรายการในใบรับแจ้งการตายหรือมรณบัตร
         (๓) ออกมรณบัตร (ท.ร.๔)
         (๔) จำหน่ายรายการคนตายในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านโดยประทับคำว่า “ตาย” สีแดงไว้หน้ารายการคนตาย
         (๕) มอบมรณบัตร ตอนที่ ๑ และหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้ผู้แจ้ง
๐ กรณีคนต่างท้องที่สำนักทะเบียนตายในบ้านหรือตายนอกบ้าน
๑. ผู้แจ้งแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ได้แก่
         (๑) บัตรประจำตัวผู้แจ้ง
         (๒) บัตรประจำตัวของคนตาย (ถ้ามี)
         (๓) สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อคนตาย (ถ้ามี)
         (๔) หนังสือรับรองการตายตามแบบ ท.ร.๔/๑ (กรณีคนตายในสถานพยาบาล)
         (๕) ใบรับแจ้งการตายตามแบบ ท.ร.๔ ตอนหน้า (กรณีแจ้งต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน)
         (๖) รายงานการชันสูตรของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานนิติเวช  (กรณีตายผิดธรรมชาติ หรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ)
๒. นายทะเบียน
         (๑) ตรวจสอบหลักฐานของผู้แจ้ง
         (๒) ตรวจสอบรายการบุคคลของคนตายในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร
         (๓) ดำเนินการเช่นเดียวกับกรณีคนในท้องที่ตาย แต่ให้ระบุในมรณบัตรด้านบนซ้ายมือว่า “คนต่างท้องที่”
         (๔) ส่งมรณบัตร ตอนที่ ๒ ไปยังสำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่คนตายมีชื่อในทะเบียนบ้าน
๓. สำนักทะเบียนที่คนตายมีชื่อในทะเบียนบ้าน
         (๑) กรณีเจ้าบ้านนำมรณบัตร ตอนที่ ๑ และสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านมายื่นเรื่องขอจำหน่ายรายการคนตายในทะเบียนบ้าน ให้นายทะเบียนตรวจสอบรายการคนตายในมรณบัตร สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านและฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร หากถูกต้องตรงกันให้จำหน่ายรายการคนตายตามคำร้อง
         (๒) กรณีได้รับมรณบัตร ตอนที่ ๒ จากสำนักทะเบียนต้นทาง ให้นายทะเบียนตรวจสอบรายการ คนตายในมรณบัตร และฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎรหากถูกต้องตรงกัน ให้จำหน่ายรายการคนตายในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร แล้วแจ้งเจ้าบ้านให้นำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านมาดำเนินการปรับปรุงรายการให้ถูกต้อง
         (๓) กรณีคนตายมีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้านกลาง ให้จำหน่ายรายการคนตายในทะเบียนบ้านกลาง
               ๐ กรณีได้รับแจ้งการตายโดยไม่ทราบว่าคนตายเป็นใคร
               ๑. ผู้แจ้งแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ได้แก่
         (๑) บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง
         (๒) เอกสารที่เกี่ยวข้องกับคนตาย (ถ้ามี)
               ๒. นายทะเบียน
         (๑) สอบสวนผู้แจ้งเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่มีการตายและสถานที่เกิดเหตุ ลักษณะทางกายภาพของ     คนตาย ความสัมพันธ์ระหว่างผู้แจ้งกับคนตาย
         (๒) สอบถามผู้แจ้งเกี่ยวกับการจัดการศพว่า จะเก็บ ฝัง เผาหรือทำลาย และสถานที่จัดการศพเพื่อลงรายการในใบรับแจ้งการตาย
         (๓) ออกใบรับแจ้งการตายตามแบบ ท.ร.๔ ตอนหน้า ให้ผู้แจ้งโดยรอการออกมรณบัตรไว้จนกว่าจะทราบว่าคนตายเป็นใคร จึงจะออกมรณบัตรให้
               ๐ กรณีได้รับแจ้งโดยมีเหตุเชื่อได้ว่ามีการตายแต่ไม่พบศพ
               ๑. ผู้แจ้งแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ได้แก่
         (๑) บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง
         (๒) สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อคนตาย (ถ้ามี)
         (๓) หลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับคนตาย (ถ้ามี)
               ๒. นายทะเบียน
         (๑) สอบสวนผู้แจ้งให้ทราบถึงมูลเหตุที่ทำให้เชื่อว่ามีการตายของบุคคล และ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้แจ้งกับคนตาย
         (๒) ออกใบรับแจ้งการตายตามแบบ ท.ร.๔ ตอนหน้า ให้ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน
         (๓) กรณีบุคคลที่เชื่อว่าตายมีชื่อในทะเบียนบ้านของสำนักทะเบียน ให้จำหน่ายรายการในทะเบียนบ้านและฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎรตามแบบ ท.ร.๙๗ โดยหมายเหตุด้วยข้อความว่า “รับแจ้งการตายไว้แต่ยังไม่พบศพ”
         (๔) กรณีคนตายมีชื่อในทะเบียนบ้านของสำนักทะเบียนอื่น ให้นายทะเบียนแจ้งเป็นหนังสือไปยังสำนักทะเบียนนั้นเพื่อดำเนินการจำหน่ายรายการบุคคลเช่นเดียวกัน
 ๒. การแจ้งการตายของคนที่ตายในท้องที่สำนักทะเบียนอื่น
               กฎหมาย
               พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
                มาตรา ๒๑  เมื่อมีคนตายให้แจ้งการตายดังต่อไปนี้
                (๑) คนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตาย...
               (๒) คนตายนอกบ้าน ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีการตายหรือพบศพ...
                มาตรา ๒๑ วรรคสี่  ให้นำความในวรรคสามของมาตรา ๑๘ มาใช้บังคับกับการแจ้งตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม
                (ความตามมาตรา ๑๘ วรรคสาม “ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน การแจ้งตามวรรคหนึ่งจะแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่อื่นก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง”)     
               กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งการเกิดหรือการตายต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่อื่น พ.ศ. ๒๕๕๑
               ข้อ ๒ ในกรณีผู้มีหน้าที่แจ้งการตายตามมาตรา ๒๑ (๑) หรือ (๒) ยังมิได้แจ้ง การตาย แต่มีการย้ายศพไปอยู่ต่างท้องที่สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่มีการตายหรือพบศพ  เจ้าบ้านของบ้านที่มีการตาย บุคคลที่ไปกับผู้ตายขณะตาย ผู้พบศพ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าว แล้วแต่กรณี จะแจ้งการตายต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ณ สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่ศพอยู่ หรือท้องที่ที่มีการจัดการศพโดยการเผา ฝัง หรือทำลายก็ได้
                การแจ้งการตายตามวรรคหนึ่ง ผู้แจ้งต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือรับรองการตายของผู้ตายซึ่งออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่บุคคลนั้นตาย และพยานบุคคลไม่น้อยกว่าสองคนซึ่งสามารถยืนยันตัวบุคคลของผู้ตายได้ 
                ในกรณีไม่มีหนังสือรับรองการตาย ผู้แจ้งการตายอาจใช้ผลการตรวจทางวิทยาศาสตร์ เช่น การตรวจสารพันธุกรรม ที่ตรวจพิสูจน์จากหน่วยงานของรัฐหรือสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือใช้เป็นหลักฐานประกอบ การแจ้งแทนได้
                ขั้นตอนการปฏิบัติ
                ๐ ผู้มีหน้าที่แจ้งการตาย ได้แก่  เจ้าบ้านของบ้านที่มีการตาย บุคคลที่ไปกับผู้ตายขณะตาย ผู้พบศพ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าว
                ๐ ระยะเวลาแจ้งการตาย
        (๑) คนตายในบ้าน ต้องแจ้งภายใน ๒๔ ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย หรือเวลาพบศพแล้วแต่กรณี
        (๒) คนตายนอกบ้าน ต้องแจ้งภายใน ๒๔ ชั่วโมงนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ เว้นแต่กรณีท้องที่ ที่การคมนาคมไม่สะดวก ผู้อำนวยการทะเบียนกลางสามารถขยายเวลาการแจ้งตายได้แต่ต้องไม่เกิน ๗ วัน  นับแต่เวลาตายหรือพบศพ
                 ๐ สำนักทะเบียนที่แจ้งการตาย ได้แก่ สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งที่ศพอยู่หรือที่มีการจัดการศพโดยการเก็บ ฝัง เผา หรือทำลาย
ขั้นตอนการแจ้ง
                ๑. ผู้แจ้งแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ได้แก่
         (๑) บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง
         (๒) บัตรประจำตัวของคนตาย (ถ้ามี)
         (๓) สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อคนตาย (ถ้ามี)
         (๔) หนังสือรับรองการตายตามแบบ ท.ร.๔/๑ ของโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่คนตายเข้ารับการรักษาก่อนตาย หรือผลการตรวจ ดีเอ็นเอ ที่สามารถบ่งบอกตัวบุคคลของคนตาย อย่างใดอย่างหนึ่ง
         (๕) พยานหลักฐานอื่น (ถ้ามี) เช่น รูปถ่ายงานศพของคนตาย เป็นต้น
         (๖) พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถให้การรับรองตัวคนตายได้ จำนวน ๒ คน
               ๒. นายทะเบียน
         (๑) ตรวจสอบความถูกต้องหลักฐานของผู้แจ้ง
         (๒) ตรวจสอบรายการบุคคลของคนตายในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
         (๓) เปรียบเทียบปรับ (กรณีการแจ้งการตายภายใน ๑ ปีนับแต่วันถัดจากวันที่ตาย)
         (๔) สอบสวนผู้แจ้งให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาเหตุการตาย  สาเหตุที่ไม่แจ้งการตายที่สำนักทะเบียนท้องที่ที่มีการตายหรือพบศพ ประวัติและภูมิลำเนาของคนตาย ความสัมพันธ์ระหว่างผู้แจ้งกับคนตาย การจัดการศพ และสถานที่จัดการศพ
         (๕) สอบสวนพยานบุคคลให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติและภูมิลำเนาของคนตาย รวมถึงบิดามารดาของคนตาย
         (๖) ออกมรณบัตร ท.ร.๔ ตามหลักฐานของผู้แจ้งและผลการสอบสวนของนายทะเบียน
         (๗) ถ้าคนตายมีชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียนที่แจ้งการตาย ให้  นายทะเบียนจำหน่ายรายการบุคคลของคนตายในทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านและฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร แต่ถ้าคนตายมีชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียนอื่น ให้นายทะเบียนส่งมรณบัตร ตอนที่ ๒ ไปยังสำนักทะเบียนที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการจำหน่ายรายการบุคคล    
         (๘) มอบมรณบัตร ตอนที่ ๑ และหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้ผู้แจ้ง
         (๙) เก็บค่าธรรมเนียมฉบับละ  ๒๐ บาท
 ๓. การแจ้งการตายเกินกำหนด
                การแจ้งการตายเกินกำหนด หมายถึง การที่ผู้มีหน้าที่แจ้งการตายได้แจ้งการตายหรือการพบศพต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เช่น กรณีคนตายในสถานพยาบาล ญาติผู้ตายได้รับหนังสือรับรองการตายจากสถานพยาบาลแล้วไม่ได้แจ้งการตายต่อนายทะเบียนภายในเวลา ๒๔ ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย ต่อมาภายหลังจัดการศพแล้วจึงไปแจ้งการตายต่อนายทะเบียน ถือเป็นการแจ้งการตายเกินกำหนด
                ขั้นตอนการปฏิบัติ
๐ ผู้มีหน้าที่แจ้งการตาย ได้แก่
         (๑) เจ้าบ้านของบ้านที่มีคนตาย กรณีคนตายในบ้าน (รวมถึงสถานพยาบาล) หากไม่มีเจ้าบ้านให้    ผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง
         (๒) บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพ กรณีคนตายนอกบ้าน
          (๓) ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลตาม (๑) หรือ (๒)
๐ ระยะเวลาแจ้งการตาย
                   ถ้าแจ้งการตายภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันถัดจากวันที่ตายหรือพบศพ เป็นเวลาที่ยังอยู่ในช่วงอายุความ ผู้แจ้งจะต้องเสียค่าปรับตามมาตรา ๔๗ (๒) แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔
๐ สำนักทะเบียนที่แจ้งการตาย
        (๑) สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่มีคนตายหรือพบศพ
        (๒) ถ้าไม่ทราบท้องที่ที่ตายหรือมีเหตุจำเป็นไม่อาจแจ้งในท้องที่ที่ตายได้ (กรณีคนตายนอกบ้าน) ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่พบศพหรือที่พึงจะแจ้งได้ แล้วแต่กรณี
  (๓) สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งที่ศพอยู่หรือที่มีการจัดการศพโดยการเก็บ ฝัง เผา หรือทำลาย (กรณีแจ้งการตาย ณ สำนักทะเบียนอื่นที่ไม่ใช่ท้องที่ที่ตายหรือพบศพ)
                ขั้นตอนการแจ้ง
               ๐ กรณีคนตายเป็นคนในท้องที่สำนักทะเบียน
      ๑. ผู้แจ้งแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ได้แก่
         (๑) บัตรประจำตัวผู้แจ้ง
         (๒) บัตรประจำตัวของคนตาย (ถ้ามี)
         (๓) หนังสือรับรองการตายตามแบบ ท.ร.๔/๑ (กรณีคนตายในสถานพยาบาล)
          (๔) ผลการตรวจ ดีเอ็นเอ ของคนตาย (กรณีแจ้งการตายต่างสำนักทะเบียนและไม่มี ท.ร.๔/๑)
         (๕) รายงานการชันสูตรของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานนิติเวช (กรณีตายผิดธรรมชาติ หรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ)
         (๖) สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่อและรายการบุคคล (ถ้ามี)
       ๒. นายทะเบียน
         (๑) ตรวจสอบความถูกต้องหลักฐานของผู้แจ้ง
         (๒) เปรียบเทียบปรับ (กรณีการแจ้งการตายภายใน ๑ ปีนับแต่วันถัดจากวันที่ตาย)
         (๓) สอบสวนผู้แจ้งให้ทราบถึงสาเหตุที่ไม่แจ้งการตายภายใน ๒๔ ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ตายหรือ พบศพ และการจัดการศพว่า จะเก็บ ฝัง เผาหรือทำลาย และสถานที่จัดการศพเพื่อลงรายการในมรณบัตร
         (๔) สอบสวนพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งรู้เห็นการตาย
         (๕) ออกมรณบัตร (ท.ร.๔) โดยระบุข้อความไว้ด้านบนซ้ายมือว่า “เกินกำหนด”
         (๖) จำหน่ายรายการคนตายในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านโดยประทับคำว่า “ตาย” สีแดงไว้หน้ารายการคนตาย
         (๗) มอบมรณบัตร ตอนที่ ๑ และหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้ผู้แจ้ง
               ๐ กรณีคนตายเป็นคนต่างท้องที่สำนักทะเบียน
        - ปฏิบัติเช่นเดียวกับการแจ้งการตายของคนในท้องที่ โดยในส่วนของนายทะเบียนให้เพิ่มขั้นตอนการตรวจสอบรายการบุคคลของคนตายในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรเพื่อตรวจว่าคนตายมีชื่อและรายการบุคคลในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรหรือไม่ ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ที่ใด
        - ส่งมรณบัตรตอนที่ ๒ ไปยังสำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่คนตายมีชื่อในทะเบียนบ้านเพื่อจำหน่ายรายการบุคคล
 ๔. กรณีคนตายโดยมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะตายด้วยโรคติดต่ออันตรายหรือตายโดยผิดธรรมชาติ (ถูกคนอื่นฆ่า ตายจากอุบัติเหตุ ฆ่าตัวตาย สัตว์ทำร้ายตาย หรือตายไม่ทราบสาเหตุ)
               กฎหมาย
                พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔
          มาตรา ๒๕  ถ้ามีเหตุอันควรสงสัยว่าคนตายด้วยโรคติดต่ออันตรายหรือตายโดยผิดธรรมชาติ ให้  นายทะเบียนผู้รับแจ้งรีบแจ้งต่อเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่ออันตรายหรือพนักงาน  ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ และให้รอการออกมรณบัตรไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานดังกล่าว         
                ขั้นตอนการปฏิบัติ
                ๐ ผู้มีหน้าที่แจ้งการตาย ได้แก่
         (๑) เจ้าบ้านของบ้านที่มีคนตาย กรณีคนตายในบ้าน (รวมถึงสถานพยาบาล) หากไม่มีเจ้าบ้านให้    ผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง
         (๒) บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพ กรณีคนตายนอกบ้าน
          (๓) ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลตาม (๑) หรือ (๒)
๐ ระยะเวลาแจ้งการตาย
        (๑) คนตายในบ้าน ต้องแจ้งภายใน ๒๔ ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย หรือเวลาพบศพแล้วแต่กรณี
        (๒) คนตายนอกบ้าน ต้องแจ้งภายใน ๒๔ ชั่วโมงนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ เว้นแต่กรณีท้องที่ ที่การคมนาคมไม่สะดวก ผู้อำนวยการทะเบียนกลางสามารถขยายเวลาการแจ้งตายได้แต่ต้องไม่เกิน ๗ วัน  นับแต่เวลาตายหรือพบศพ
๐ สำนักทะเบียนที่แจ้งการตาย
        (๑) สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่มีคนตายหรือพบศพ
        (๒) ถ้าไม่ทราบท้องที่ที่ตายหรือมีเหตุจำเป็นไม่อาจแจ้งในท้องที่ที่ตายได้ (กรณีคนตายนอกบ้าน) ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่พบศพหรือที่พึงจะแจ้งได้ แล้วแต่กรณี
                ขั้นตอนการแจ้ง
๑. ผู้แจ้งแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ได้แก่
         (๑) บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง
         (๒) สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อคนตาย (ถ้ามี)
         (๓) หลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับคนตาย (ถ้ามี)
๒. นายทะเบียน
         (๑) สอบสวนผู้แจ้งให้ทราบถึงมูลเหตุที่ทำให้มีการตายของบุคคล ลักษณะทางกายภาพของคนตาย และความสัมพันธ์ระหว่างผู้แจ้งกับคนตาย
         (๒) สอบถามผู้แจ้งเกี่ยวกับการจัดการศพว่า จะเก็บ ฝัง เผาหรือทำลาย และสถานที่จัดการศพเพื่อลงรายการในใบรับแจ้งการตาย
         (๓) ออกใบรับแจ้งการตายตามแบบ ท.ร.๔ ตอนหน้า ให้ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน
         (๔) ทำหนังสือแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่ออันตราย หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่
         (๕) เมื่อได้รับแจ้งผลการพิจารณาหรือผลการชันสูตรศพจากเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องแล้ว จึงออกมรณบัตรให้ผู้แจ้ง
         (๖) จำหน่ายรายการคนตายในสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านและฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
 ข. การรับแจ้งการตายของคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
               กฎหมาย
               พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔
                มาตรา ๒๑  เมื่อมีคนตายให้แจ้งการตายดังต่อไปนี้
                (๑) คนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย ในกรณีไม่มีเจ้าบ้าน ให้ผู้พบศพแจ้งภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาพบศพ
                (๒) คนตายนอกบ้าน ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีการตายหรือพบศพ แล้วแต่กรณี หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ ในกรณีเช่นนี้จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้ฯลฯ
                มาตรา ๒๓  เมื่อมีคนเกิดหรือคนตาย ผู้ทำคลอดหรือผู้รักษาพยาบาลต้องออกหนังสือรับรองการเกิดหรือการตายตามแบบพิมพ์ที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนดให้แก่ผู้มีหน้าที่ต้องแจ้งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๑
               กฎกระทรวงกำหนดให้คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยปฏิบัติเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎรและกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม พ.ศ. ๒๕๕๑
                 ข้อ ๓  เมื่อมีคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยเกิดหรือตาย ให้บุคคลตามมาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๑๙/๑ หรือมาตรา ๒๑ แจ้งการเกิดหรือการตาย แล้วแต่กรณี
                ขั้นตอนการปฏิบัติ
               การรับแจ้งการตายของคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยจะปฏิบัติเช่นเดียวกับคนสัญชาติไทย ส่วนแบบพิมพ์มรณบัตรที่นายทะเบียนออกให้แบ่งตามประเภทของบุคคลแต่ละกลุ่ม ดังนี้
               ๑. ถ้าเป็นคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และคนต่างด้าวที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ท.ร.๑๓ จะออกมรณบัตรตามแบบ ท.ร.๕  
               ๒. ถ้าเป็นคนต่างด้าวที่มีชื่อในทะเบียนประวัติ ท.ร.๓๘ เลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข ๐๐ จะออก
มรณบัตรตามแบบ ท.ร.๐๕  
               ๓. ถ้าเป็นคนต่างด้าวที่มีชื่อในทะเบียนประวัติ ท.ร.๓๘ ก เลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข ๐ และคน    ต่างด้าวที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต จะออกมรณบัตรตามแบบ ท.ร.๐๕๑
 
ตัวอย่างกรณีศึกษา
                กรณีที่ ๑  ผู้อพยพหนีภัยจากการสู้รบในศูนย์อพยพจังหวัดแม่ฮ่องสอนเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุโดยแพทย์ผู้ตรวจลงความเห็นว่าเสียชีวิตจากโรคหัวใจล้มเหลว กรณีดังกล่าวจะสามารถแจ้งการตายและขอ มรณบัตรได้หรือไม่เพราะผู้อพยพไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎร  หรือต้องออกเอกสารประเภทใดเพื่อเป็นหลักฐานการตาย
                แนวการวินิจฉัย  พื้นที่ศูนย์อพยพฯ เป็นดินแดนของประเทศไทย ส่วนผู้อพยพย่อมมีสถานะเป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ฉะนั้นเมื่อมีคนต่างด้าวเสียชีวิตในประเทศไทย การแจ้งการตายจึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๒๑ ประกอบกับกฎกระทรวงกำหนดให้คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยปฏิบัติเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎรและกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๓ นายทะเบียนผู้รับแจ้งจึงสามารถรับแจ้งการตายและออกมรณบัตรให้แก่ผู้แจ้งการตายได้
                สำหรับการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ ถ้าผู้ตายเสียชีวิตที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่อยู่ในศูนย์อพยพแพทย์ผู้รักษาพยาบาลก่อนตายจะต้องออกหลักฐานหนังสือรับรองการตายตามแบบ ท.ร.๔/๑ จากนั้นผู้อำนวยการโรงพยาบาลหรือหัวหน้าสถานพยาบาลในฐานะเจ้าบ้านหรือผู้พบศพจะต้องเป็นผู้แจ้งการตาย แต่ถ้าการเสียชีวิตไม่ได้เกิดขึ้นในสถานพยาบาลก็ไม่ต้องมีขั้นตอนการออกหนังสือรับรองการตาย ส่วนผู้มีหน้าที่แจ้งการตายได้แก่ผู้พบศพ โดยผู้มีหน้าที่แจ้งสามารถแจ้งการตายกับปลัดอำเภอซึ่งรับผิดชอบศูนย์อพยพในฐานะได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ สำหรับประเด็นที่ว่าผู้ตายไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎร  ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก มีแต่เลขประจำตัวที่ศูนย์อพยพจัดทำให้นั้น ไม่เป็นอุปสรรคต่อการ  แจ้งการตายและการออกมรณบัตร ทั้งนี้เพราะระบบปฏิบัติงานในการรับแจ้งการตายและการออกมรณบัตรสามารถดำเนินการได้โดยการบันทึกรายการลงในมรณบัตรจะบันทึกเฉพาะรายการที่ทราบเท่านั้น สำหรับแบบพิมพ์มรณบัตรที่จะออกให้กับผู้อพยพ ได้แก่ ท.ร.๐๕๑
                กรณีที่ ๒  เหตุการเสียชีวิตของชาวพม่าหลบหนีเข้าเมืองในรถบรรทุกปลาที่ถูกดัดแปลงเพื่อการนำเข้าแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย จำเป็นต้องใช้หลักฐานการตายเพื่อแจ้งไปยังประเทศต้นทางและการขอรับเงินช่วยเหลือจากองค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ย
หมายเลขบันทึก: 308253เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2009 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท