แนวทางให้ได้มาซึ่ง Part Diagram>>MR/LISREL/AMOS


 

 

 

ดิฉันมีโอกาสได้ตอบข้อสงสัย นศ.ท่านหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องการทำ Part Analysis ดิฉันเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับ นศ.ที่กำลังวางแผนทำวิจัยเชิงปริมาณเกี่ยวกับการหาอิทธิพล และวิเคราะห์ข้องมูลโดย MR/LISREL/AMOS  ก็เลยถือโอกาสนำมาเผยแพร่เพื่อเป็นแนวทางให้ได้มาซึ่งกรอบแนวคิดในการทำวิจัยเชิงปริมาณด้านนี้ค่ะ

 

กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย

 

     ดิฉันเริ่มต้นด้วยการยก ตย.งานวิจัยขึ้นมา 1 เรื่องค่ะ       

     ขอยกตัวอย่างการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย จาก ตย.งานของอาจารย์นะคะ ซึ่ง Model ด้านบนนี้เป็นกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัยค่ะ

     ขอยืนยันอีกทีว่า การ Confirm Part Model เป็นการพิสูจน์ทฤษฎีที่เรา review มาค่ะ  นั่นคือเริ่มต้นที่เรา review ทฤษฎีที่เราสนใจ มาก่อนซึ่งเริ่มต้นที่ตัวแปรตาม ยก ตย.งานของอาจารย์นะคะ อาจารย์สนใจเรื่อง Competency ของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเรื่องของ Competency ของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ใน Model คือ Comp นะคะ  ซึ่งเป็น Latent variable) อาจารย์ base on ทฤษฎีของ Ulrich  ซึ่ง Competency  ของ Ulrich  มีองค์ประกอบอยู่ 5 องค์ประกอบคือ Fact1 – Fact5 ใน Model นะคะ (ส่วนนี้เป็น observe variable) โดยอาจารย์ต้องการค้นหาคำตอบว่า สมรรถนะของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีปัจจัยอะไรที่ส่งผลหรือมีอิทธิพลต่อสมรรถนะบ้าง อาจารย์ก็ไป review literature และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า มีปัจจัยที่น่าสนใจ (คือreview แล้วพบว่ามีอิทธิพลต่อสมรรถนะ) อยู่หลายตัว แต่ปัจจัยที่อาจารย์สนใจคือ Self Directed learning  (SELF ซึ่งเป็น Latent variable) ซึ่งอาจารย์ base on ทฤษฎีของ Gluglielmino ซึ่งท่านทำวิจัยไว้และพบว่า Self Directed learning   มี 8 องค์ประกอบค่ะ คือ S1-S8   ใน Model (ส่วนนี้เป็น observe variable)

     อีกตัวแปรที่อาจารย์สนใจคือบรรยากาศองค์กร (Climate ซึ่งเป็น Latent variable) ตัวแปรนี้อาจารย์บูรณาการแนวคิดทฤษฎีบรรยากาศองค์กรของ Litwin & Stringer กับทฤษฎีบรรยากาศที่สนับสนุนการเรียนรู้ของ Marquart แล้วดึงเฉพาะบรรยากาศองค์กรที่ผู้วิจัยสนใจมา 7 องค์ประกอบ คือ Cli1-Cli7 ใน Model   (ส่วนนี้เป็น observe variable

     จากสิ่งที่ทบทวนสามารถสรุปเส้นทางอิทธิพลของปัจจัยต่าง ๆ ที่สนับสนุนสิ่งที่อาจารย์ต้องการศึกษา (สมมุติฐานที่เราตั้งขึ้นนั่นเอง) ได้ตามภาพข้างล่างนี้ สิ่งที่อาจารย์จะบอกก็คือ Part Model ที่อาจารย์ตั้งสมมุติฐานนั้น มีทฤษฎีหรืองานวิจัยมารองรับนะคะ การได้มาซึ่งส่วนนี้จะต้อง review งานมารองรับเยอะมากค่ะเพราะไม่มีใครเค้าทำออกมาเป็นภาพนี้หรอกนะคะ แต่จะทำเป็นส่วน ๆ เช่นงานวิจัยหนึ่งอาจพบว่าบรรยากาศองค์กรส่งผลต่อ SDLR อีกฉบับพบว่า อายุมีผลต่อ สมรรถนะ อีกฉบับพบว่าระยะเวลาในการทำงานส่งผลต่อ SDLR ฯลฯ อ่านเป็นร้อย ๆ เล่มนะคะกว่าจะสรุปภาพนี้ออกมาได้

      ถ้าถามว่าทำไมต้องมีทฤษฎีหรืองานวิจัยรองรับ คำตอบก็กลับไปที่ประโยคแรกที่อาจารย์เตือนไว้คือ งาน Part analysis เป็นงานพิสูจน์เส้นทางความสัมพันธ์ ที่เราบูรณาการมาเป็นงานของเราค่ะ  โดยเราจะใช้สถิติมาเป็นตัวยืนยันโมเดลที่เราตั้งเป็นสมมุติฐาน  สถิติจะมาเป็นตัวยืนยันว่าข้อมูลเชิงประจักษ์สอดคล้องกับสมมุติฐานค่ะ สรุปก็คือเป็นการพิสูจน์ทฤษฎี ว่าเมื่อมาทำในบริบทใหม่ ทฤษฎีนั้นจะยังใช่ตามนั้นหรือไม่ ถ้าเรา review มาดี มีทฤษฎีหรืองานวิจัยรองรับ Model ที่เราตั้งสมมุฐานนี้เมื่อไป run ด้วย LISREL หรือ AMOS  โมเดลก็จะ Fit ค่ะ แต่ถ้าreview มาไม่ดี โมเดลสมมุติฐานของเราอาจไม่ Fit กับข้อมูลเชิงประจักษ์  นั่นคือปฏิเสธสมมุติฐานค่ะ

     การที่ นศ.บอกว่า  “Review Literature ทำมาพอสมควรครับ  ไม่แน่ใจว่าทำเสร็จแล้วจะ fit รึเปล่าเอาไว้ถึงตอนนั้นค่อยว่ากันอีกที ” เป็นความคิดที่อันตรายค่ะ เมื่อไม่ Fit คราวนี้เราจะกลับไปแก้ตรงไหนละค่ะ เพราะสมมุติฐานของเราผิด ต้องreview ใหม่หรือไง ถ้าเป็นงาน ป.เอก อาจารย์จับรื้อทั้งฉบับแน่ ต้องนับ 1 ใหม่  อาจารย์ว่าไม่คุ้มนะคะ สู้ review ให้ Sure จะดีกว่า

 

     กลับมาที่งานอาจารย์นะคะ   อาจารย์มี ทฤษฎีของ Bandura ที่บอกความสัมพันธ์ไปมาของปัจจัยสามตัวค่ะ ลูกศรหัว 2 ทิศทางนี้สามารถนำมาอ้างทิศทางของลูกศรงานของเราได้อย่างดีค่ะ

     จะเห็นได้ว่าตอนนี้อาจารย์มีทฤษฎีที่สนใจ 3 ทฤษฎี คือสมรรถนะ บรรยากาศองค์กร และ Self directed learning อาจารย์ก็ไปหยิบเครื่องมือของทั้งสามทฤษฎีมาทบทวนและประยุกต์สร้างเป็นแบบสอบถามที่จะใช้ในการประเมินให้เหมาะกับบริบทของกลุ่มตัวอย่างที่เราจะเก็บค่ะ  ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้สามารถ Load ได้มากมายทั้ง Paper ในปท. หรือ ตปท. อยากหยิบมาแปลใหม่ก็ได้ เอาที่เค้าแปลแล้วมาใช้ก็ได้ มีค่า relia แล้วด้วย เห็นไหมคะว่ามันไม่ใช่เรื่องยากเลย ถ้าเราเริ่มต้นด้วยความถูกต้อง มั่นคง เราก็มั่นใจได้เลยว่า งานของเราจะต้องออกมาดีแน่นอนค่ะ

กลับมาที่งาน นศ.นะคะ

     ที่บอกว่า พฤติกรรมของผู้รับสื่อ มีองค์ประกอบเป็น motivation, ability, opportunity  (หรืออาจเป็นตัวอื่นก็ได้ เช่น Attitude) ต้องมีงานมารองรับนะคะว่าเป็นองค์ประกอบจริงหรือเปล่า แต่ถ้าเล่นเป็นตัวแปรไปเลยโดด ๆ ก็โอเคเลย ซึ่งเราอาจ review มาแล้วว่าปัจจัยเหล่านี้  (motivation, ability, opportunity) มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตอบสนองต่อการท่องเที่ยวของบุคคล ซึ่งเป็นตัวแปรตาม ซึ่งอาจมีทั้งตัวแปรต้น ตัวแปรคั่น ก่อนถึงตัวแปรตาม  อาจได้เป็นกรอบแนวคิดดังนี้นะคะ

 

 

     เป็น ตย.นะคะ อาจารย์ลองวาดเป็น Part diagram ให้ดูเลย  สมมุติว่า review แล้ว Motivation น่าจะเป็นตัวแปรคั่นค่ะ ตัวแปรต้น หรืออิสระเรามี 3 ปัจจัยคือ ปัจจัยส่วนบุคคล  ปัจจัยด้าน Ability และปัจจัยด้าน Opportunity ค่ะ ตัวแปรตามเป็น Response (ตัวแปรตัวนี้อาจารย์ไม่ค่อยแน่ใจนะคะ ว่าจะเป็น Response process  มันน่าจะเป็น Response behavior มากกว่า เพราะมันดู Outcome ที่คนเลยว่า มีพฤติกรรมตอบสนองอย่างไร เชิงบวกหรือเชิงลบ  แต่ถ้ามอง Process  อาจารย์นึกภาพแบบประเมินไม่ออกค่ะ แล้วเชิงบวกเชิงลบจะมองอย่างไร แต่ นศ.อาจมีงานวิจัยหรือ ทฤษฎี รองรับแล้ว  หาทฤษฎีมารองรับให้ดีละกัน)

อย่าลืมงานต้องให้อาจารย์สถิติดูทุกขั้นตอน

คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์นะคะ

.............
คนึงนิจ อนุโรจน์

คำสำคัญ (Tags): #hr
หมายเลขบันทึก: 308073เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2009 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2013 09:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท