การประกันคุณภาพภายในด้านกิจกรรมขององค์การนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


องค์การนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม "มุ่งมั่น สร้างสรรค์ เพื่อมวลชน"

การประกันคุณภาพภายในด้านกิจกรรมขององค์การนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 
องค์การนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในฐานะตัวแทนของมวลนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ได้รับเลือกขึ้นมาบริหารงานองค์การนิสิต ทำหน้าที่การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพนิสิตให้มีความรู้และทักษะชีวิตที่ดีและเป็นที่ต้องการของสังคมตามหนึ่งในพันธกิจขององค์การนิสิตและตรงตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ องค์การนิสิตจึงได้มีการจัดทำการประกันคุณภาพกิจกรรมขึ้นเพื่อให้มันใจว่าองค์การนิสิตดำเนินการจัดกิจกรรมได้อย่างมีคุณภาพและตรงตามพันธกิจที่กำหนดไว้
การประกันคุณภาพด้านกิจกรรม องค์การนิสิตได้ดำเนินตามขั้นตอนการดำเนินงาน ซึ่งมีแนวทางและขั้นตอน ดังไปนี้
 
ขั้นตอนการดำเนินการประกันคุณภาพมีรายละเอียด ดังนี้
                1.ขั้นการเตรียมการ
1.1 คณะกรรมการบริหารองค์การนิสิตได้มีการกำหนดแผนการปฏิบัติงานหรือกรอบของการจัดกิจกรรมโดยให้สอดคล้องและตรงตามพันธกิจหลักขององค์การนิสิต
1.2 คณะกรรมการบริหารองค์การนิสิตแต่ละฝ่ายต่างๆ ได้มีส่วนร่วมในการหาข้อมูลเพื่อรองรับการจัดทำกิจกรรม เช่นการสำรวจ หรือทางผู้จัดกิจกรรมอาจมองเห็นถึงปัญหา จึงมีการจัดกิจกรรมนี้ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางหรือหาทางแก้ไข เป็นต้น (กรณีจัดกิจกรรมนอกเหนือจากแผนงานที่กำหนดไว้)
1.3 การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการในการประสานงาน กำกับดูแล ช่วยเหลือสนับสนุนให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกัน โดยการตั้งคณะกรรมการควรพิจารณาตามแผนภูมิโครงสร้างการบริหารซึ่งฝ่ายที่รับผิดชอบงานใดควรเป็นกรรมการรับผิดชอบการพัฒนาและต้องมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพงานนั้นๆ
               
2. ขั้นการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ประกอบด้วยขั้นตอน
หลัก 4 ขั้นตอน
2.1 การวางแผน (Planning)
องค์การนิสิตมีการประชุมคณะกรรมการเพื่อการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ แนวทางการดำเนินงาน ระยะเวลาและทรัพยากรที่ต้องใช้ จัดทำแผนต่างๆ เช่นแผนการปฏิบัติงาน(กำหนดการ) แผนการประเมินคุณภาพและแผนงบประมาณ เป็นต้น และแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน อีกทั้งมีการศึกษาเอกสารการดำเนินงาน สรุปการประเมิน ปัญหาของปีที่ผ่านมา 
2.2 การปฏิบัติตามแผน (Doing)
คณะกรรมการดำเนินงาน ได้จัดกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ ผู้รับผิดชอบโครงการ ประสานงานอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมให้มีความราบรื่นเพื่อดำเนินการตรงตามวัตถุประสงค์ สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการปฏิบัติ กำกับดูแล ติดตามการดำเนินงาน
2.3 การตรวจสอบ (Checking)
เป็นกลไกสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา เพราะจะทำให้ได้ข้อมูลย้อนกลับ   ที่แสดงว่าการดำเนินงานที่ผ่านมาบรรลุเป้าหมายเพียงใด โดยการประเมินต้องจัดวางกรอบการประเมิน จัดหาหรือจัดทำเครื่องมือ จัดเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการประเมิน
 
2.4 การปรับปรุง (Action)
 เมื่อประเมินผลเสร็จแล้ว ผู้รับผิดชอบโครงการ/คณะกรรมการดำเนินงานร่วมกัน วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปปรับปรุงการปฏิบัติงานวางแผนในระยะต่อไป และจัดทำเป็นข้อมูลสารสนเทศ
               
3. ขั้นการจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน  
เมื่อคณะกรรมการดำเนินการประเมินผลเสร็จเรียบร้อยแล้วลำดับต่อไปคือ จัดทำรายงาน เพื่อแสดงให้เห็นว่าองค์การนิสิตเองได้นำกระบวนการประกันคุณภาพภายในทั้ง 4 ขั้นตอนมาใช้ในแต่ละกิจกรรม อีกทั้งรวบรวมข้อมูลและผลการประเมินมาวิเคราะห์ในการเขียนรายงานผลการดำเนินกิจกรรมซึ่งจะตรงตาม แบบ กน.มมส.03 เพื่อเสนอเข้าไปยังกองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อรับทราบการจัดกิจกรรมต่อไป
 
  นายเชาวลิต ดุขุนทด             
ประธานฝ่ายประกันคุณภาพองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม    
"มุ่งมั่น สร้างสรรค์ เพื่อมวลชน"      (เรียบเรียง)
หมายเลขบันทึก: 307454เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2009 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ปัญหาเก่า ต้องไม่เกิด...ปัญหาใหม่ไม่ว่ากัน

คือหนึ่งประเด็นที่เกิดจากการถอดบทเรียนจากกระบวนการ KM และ QA โดยเป็นหนึ่งใน PDCA  และนั่นก็มาจากขั้น C-A ...ซึ่งเราๆ มักตกม้าตายในเรื่องเหล่านี้

สวัสดีครับพี่ แผ่นดิน

ถูกต้องครับ ปัญหาเก่าต้องไม่เกิดขึ้น

และพวกผมจะพยายามทำให้ดีที่สุด

มีอะไรก็ช่วยชี้แนะ แนะนำ ด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท