โครงงานวิทยาศาสตร์แสนเศร้า


โครงานวิทยาศาสตร์

ด้วยเพราะการไปแสดงผลงานทางการวิจัย และไปดูโครงงานที่น่าสนใจของงานการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ซึ่งปีนี้เป็นครั้งที่ 35 แล้ว กลับมานั่งคุยกับคนที่เกี่ยวข้องเรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์ของเด็กมัธยมศึกษา ไม่ว่าจะเป็นตอนต้นและตอนปลาย พบหลายเรื่องที่มีทั้งข้อดีข้อด้อยรวมไปถึงเบื้องหลังของโครงงานที่นำมาแสดง

ข้อดีของโครงงานเด็กก็คือ เด็กได้เอาความรู้ความเข้าใจทางด้านวิทยาศาสตร์มาแสดงให้ชาวบ้าน(ส่วนใหญ่เป็นครูอาจารย์และนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมาดูงาน) อย่างเต็มที่ และแสดงต่อสาธารณะไม่ใช่ที่โรงเรียน เจอคำถามหลากหลาย ทำให้เด็ก ๆ เหล่านี้ได้คิดและได้เข้าใจว่าชาวบ้านเขาคิดเขาสนใจ เขาเข้าใจงานของคนนำเสนอผลงานอยู่นั่นแค่ไหนอย่างไร และคำถามส่วนใหญ่ก็จะเป็นวิชาการที่เกี่ยวข้องกับโครงงานที่นำเสนอ ข้อดีคิดว่าคงมีเยอะแยะแต่บันทึกฉบับนี้คงเขียนมุมมืดอีกมุมของโครงงานที่หลาย ๆ คนได้ยินแล้วต้องรู้สึกไม่ค่อยจะปลื้มซักเท่าไหร่รวมทั้งตัวผู้เขียนเอง ข้อเน้นว่าบางมุมเท่านั้น

เรื่องมีอยู่ว่าเด็กที่จะมาทำโครงงานวิทยาศาสตร์ได้ต้องเป็นเด็กที่ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก เด็กกลุ่มนี้จะได้รับการโปรโมทอย่างเด็กที่ เช่นว่าเรียนพิเศษ ติววิชาการ กินอยู่ทำการทดลองอย่างใกล้ชิด อุปกรณ์ สารเคมี วัสดุหรืออะไรที่เกี่ยวข้องกับโครงงานจะได้ทันทีทันใดจากผู้บริหาร เด็กกลุ่มนี้เปรียบได้ดั่งเทวดากันไปเลย เพราะเด็กกลุ่มนี้ได้รับคำชื่นชม ได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่ง ขาดเหลือสิ่งของประการใด ขอให้เด็กเอ่ยออกปากแล้วได้ทันทีจากครูหรือผู้บริหาร เหล่านี้เป็นต้น

ทำไมเด็กกลุ่มนี้ถึงถูกเอาใจถึงขนาดนี้ ก็ด้วยเพราะว่าผลงานที่เด็กทำโครงงานนั้นอาจารย์หรือผู้บริหารที่ต้องการเติบโตในตำแหน่งขอการประเมินต้องการได้ข้อมูลจากเด็กกลุ่มนี้ นำรายงานหรือการทำโครงงานนี้ไปทำประโยชน์แห่งตน จากอาจารย์หรือผู้บริหารชั้นต้นไปสู้อาจารย์ระดับที่สูงขึ้น ผู้บริหารก็จะได้ตำแหน่งที่สูงขึ้น

ถามว่าสิ่งที่เขาทำดำเนินการนี้ไม่เห็นจะมีอะไรที่เสียหาย และไม่เห็นจะเป็นเรื่องเชิงลบใด ๆ ให้รู้สึกขุ่นข้องหมองใจนิ ครับ คิดมากไปหรือเปล่า? นั่นซิครับมีอะไรที่เป็นเรื่องเชิงลบกระนั้นหรือ?

หากว่ามาดูภาพรวมทั้งหมดของเด็กส่วนรวมของโรงเรียนที่เขาเหล่านั้นควรได้โอกาสบ้างหละ เช่นว่า เครื่องมืออุปกรณ์ สารเคมี ไปสู่การทดลองในวิชาวิทยาศาสตร์ตามหลักสูตร ตามวิชาที่สอนในเวลาปกติในห้องเรียนที่ควรจะเป็นบ้างหละ มีบ้างไหม ด้วยเพราะเด็กนักเรียนส่วนใหญ่จะเจอแต่การสาธิตการทดลองให้ดูเท่านั้น ซ้ำร้ายบางโรงเรียนเอาวีดีโอฉายให้ดู เลยกลายเป็นว่าเด็ก ๆ เหล่านี้ไม่มีทักษะการใช้เครื่องมือ ไม่ได้ลองผิดลองถูก ไม่ได้เข้าใจกลไกการทดลอง ดูการเปลี่ยนแปลงจากตัวตนที่เป็นตัวตนเป็นคนทดลองจริง ๆ  Learning by doing ก็ขาดไปอย่างน่าเสียดาย  วิชาวิทยาศาสตร์กลายเป็นวิชาท่องจำไปไม่ต่างจากวิชาท่องจำอื่นไป  เด็กส่วนมาของโรงเรียนเสียโอกาส การพัฒนาการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ไป ก็ทำเกิดช่องว่างเกิดขึ้น ทำให้เด็กมีทัศคติไม่ดีกับวิชาวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของเหตุและผลในบัดดล

เมื่อมองไปที่ตัวโครงงาน คนที่ได้ผลประโยชน์เต็ม ๆ คือ ผู้บริหารหรือครูผู้ซึ่งทำโครงงาน และเด็กที่ทำโครงงานแม้ว่า เด็กที่ทำโครงงานอาจะเป็นเครื่องมือของผู้บริหารและอาจารย์ก็ตาม  ด้วยเพราะเขาเหล่านั้นได้ตั้งงบประมาณขอเงินโครงงานวิทยาศาสตร์ แล้วนำผลงานที่ได้นี้เป็นผลงานของโรงเรียน ทำให้ผู้ปกครองของเด็กรุ่นถัดไปสนใจที่จะลูกหลานเข้ามาเรียนโรงเรียนนี้ รวมไปถึงการนำผลงานของเด็กที่ทำไปขอการประเมินวิทยาฐานะ

ถึงบทสรุปว่ามุมมืดบางมุมที่ผู้เขียนนำเสนอมาให้อ่านนี้ คิดว่าทำให้ผู้อ่านคงรู้สึกหดหู่กับการกระทำของอาจารย์หรือผู้บริหารแบบนี้นะครับ และที่น่าสงสารสุด ๆ ก็คือเด็กอื่น ๆ ที่ขาดโอกาส ไม่ได้รับการเหลียวแลเท่าที่ควรจะเป็น ทั้ง ๆ ที่เด็กเหล่านั้นสมควรที่จะได้รับโอกาสไม่ต่างจากเด็ก ๆ ที่ทำโครงงานแต่ประการใด....นะครับ

หมายเลขบันทึก: 307214เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2009 19:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ

ผมว่าสังคมการศึกษาบ้านเรา ยังมีอีกหลายมุมมืด ที่ค่อยสั่งการ เพื่อผลประโยชน์แก่ตน บนพื้นฐานความสำเร็จของคนอื่น

แต่ก็ต้องยกย่องเด็กไทยที่ได้รับโอกาส ถึงแม้จะไม่สวยงานในที่มาที่ไป แต่อย่างน้อยก็เป็นเวที่การเรียนรู้ นอกห้องเรียนทีี่มีค่า เพราะเมื่อเข้ารัวมหาวิทยาลัยก็จะมีโอกาส และเท่าทันเพื่อนๆ ด้วยกัน

ขอเป็นแรงใจให้สิ่งดี เกิดขึ้นกับสังคมนี้...

อ่านแล้วขอชื่นคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดสร้างสรร ขอให้มีความสุขกับการทำงาน

ขอบคุณครับสำหรับคอมเมนท์ ของทุกท่าน ตอนนี้วงการแพทย์เองก็ระส่ำระสายอยู่ไม่น้อยว่าด้วยเรื่องการฟ้องร้องการรักษาพยาบาลจากแพทย์ คนเรียนแพทย์ปัจจุบันจำนวนไม่น้อยสุดท้ายก็เปลี่ยนอาชีพ ด้วยเพราะความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้องในการรักษาพยาบาลจากคนไข้ เช่นกันผู้บริหารโรงเรียนในอนาคตจะถูกฟ้องร้องจากผู้ปกครองของเด็กในอนาคตอันใกล้นี้ ว่าด้วยเรื่อง การเลือกปฏิบัติ หากว่าเทียบเคียงกฎหมายก็มาตรา 157 ด้วยศาลปกครองในเวลาใกล้ ๆ ต่อไปนี้

เข้าใจอย่างยิ่งค่ะว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเช่นนี้ เป็นมานาน และจะเป็นต่อไปอีกนาน เพราะมันอยู่ที่วิธีคิดของการดำเนินชีวิตของสังคมไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันเกือบทุกวงการและทุกระดับ ดิฉันเคยเข้าไปรับรู้เรื่องการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ตอนปลายๆ คือส่งงานประกวด ได้รางวัล ก็ได้เห็นสิ่งที่ต้องปรับปรุงเพื่อให้เด็กไทยเข้มแข็งขึ้น มีกำลังใจทำงานค้นคว้าวิจัยที่ยิ่งๆขึ้นไป แต่วิธีคิดของผู้ใหญ่ที่มากำกับมันก็เหมือน การพัฒนาที่มาจากภายนอก คือคนนอกมาบอกให้ทำ เป็นอย่างนี้ไปในทุกเรื่อง ทุกงาน จนดิฉันดีใจมากที่ลาออก (ทั้งๆที่จบป.เอกด้าน Science Communication น่าจะทำประโยชน์อะไรได้มาก แต่คิดๆแล้วท่าทางจะไม่คุ้มกับการป่วยด้วยความเครียดและคับข้องใจ)

เป็นกำลังใจให้ก็แล้วกันค่ะ

ได้สุขใจกับการถ่ายภาพนกและแบ่งปันความสุขคงช่วยได้มากนะคะ^___^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท