มุมมองของชาวต่างชาติต่อในหลวง” เรียนรู้จากพระเจ้าอยู่หัวผ่านสายตา ศ. แมนเฟรด คราเมส


ลองคิดดูสิว่า ถ้าหากท่านมีลูกที่ไม่เคยเชื่อฟังคำสั่งสอนของท่านเลย ไม่เคยเดินตามแนวทางทางที่ท่านวางไว้ ไม่เคยต้องการที่จะเรียนรู้จากท่าน สิ่งที่พวกเขาทำนั้นเพียงแค่ก่อปัญหา แล้วก็เรียกร้องให้ท่านยื่นมือเข้าไปช่วยเหลืออยู่เสมอ ในขณะเดียวกันก็พร่ำพูดว่า “ลูกรักพ่อ” ถ้าท่านเป็นพ่อท่านจะรู้สึกอย่างไร" ,,,,ศาสตราจารย์แมนเฟรด ครา เมส มีความสนใจในปรัชญาแบบตะวันออกและศาสนาพุทธตั้งแต่มีอายุได้ 15 ปี ทั้งที่ได้รับการศึกษาที่ดีและมีอาชีพการงานที่มั่นคงแต่เมื่อมีอายุได้ 19 ปี เขาก็ออกจากบ้าน โดยละทิ้งทุกอย่างไว้เบื้องหลัง เพื่อเข้าไปพำนักอยู่ใน........ แต่เขาก็ยังคงศึกษาปรัชญาตะวันออกรวมถึงศาสนาพุทธอย่างจริงจัง

 

เรียนรู้จากพระเจ้าอยู่หัวผ่านสายตา ศ. แมนเฟรด คราเมส
 
ในบรรดาสายตาแห่งความชื่นชมของชาวโลกที่มีต่อพระองค์ สายตาคู่หนึ่งในจำนวนนับล้านนั้นเป็นของศาสตราจารย์แมนเฟรด  คราเมส (Prof.Manfred Krames) ชาวเยอรมัน ผู้ซึ่งยกย่องให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของชาวไทยให้เป็นบรมครูผู้ยิ่งใหญ่        

 


ศาสตราจารย์แมนเฟรด  ครา เมส มีความสนใจในปรัชญาแบบตะวันออกและศาสนาพุทธตั้งแต่มีอายุได้ 15 ปี ทั้งที่ได้รับการศึกษาที่ดีและมีอาชีพการงานที่มั่นคงแต่เมื่อมีอายุได้ 19 ปี เขาก็ออกจากบ้าน โดยละทิ้งทุกอย่างไว้เบื้องหลัง เพื่อเข้าไปพำนักอยู่ในวัดเซน ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 3 ปี ทำให้ไม่เป็นที่พอใจของครอบครัวซึ่งเป็นชาวคริสเตียนอนุรักษนิยม แลกะเกือบถึงขั้นถูกตัดขาดออกจากครอบครัว แต่เขาก็ยังคงศึกษาปรัชญาตะวันออกรวมถึงศาสนาพุทธอย่างจริงจังมาจนถึง ปัจจุบัน

          เมื่อ ได้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นร่วม 10 ปี เพื่อเรียนภาษาญี่ปุ่นและการบำบัดรักษาแบบจีน ณ กรุงโตเกียว เขาได้กลายเป็นชาวต่างชาติคนแรกเพียงผู้เดียวที่เป็นสมาชิกของสมาคมเพื่อการ วิจัยด้านอายุรเวชแห่งญี่ปุ่น (Japan Research Society for Ayurveda) หลังจากนั้นศาสตราจารย์แมนเฟรดได้เดินทางไปพำนักยังประเทศศรีลังกาเป็นเวลา 7 ปี และเปิดคลินิกเพื่อทำการรักษาบำบัดตามแนวทางของอายุรเวท กระทั่งได้เขียนหนังสือเรื่อง “ความจริงเกี่ยวกับวิชาอายุรเวช” ซึ่งได้รับการเผยแพร่ความรู้ทางด้านนี้ไปอย่างกว้างขวาง ทำให้ได้รับการยกย่องเป็น “ศาสตราจารย์กิตติคุณ” จากมหาวิทยาลัยแห่งโคลอมโบ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดในประเทศศรีลังกา 
 
          หลังจากเกิดเหตุภัยพิบัติสึนามิได้ไม่นานนักเขาก็อำลาประเทศศรีลังกามา ด้วยความหวังว่าจะค้นพบประเทศที่มีสันติสุขและมีชาวพุทธที่เป็นมิตรมากกว่า ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจเดินทางมาพำนักอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย เขาได้เขียนหนังสือชื่อ “เรียนรู้จากพระเจ้าอยู่หัว : มุมมองของชาวต่างชาติต่อในหลวง” ขึ้นมา ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2549 หลังจากที่เขียนหนังสือเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเสด็จยุโรปครั้งที่2ของ”พระพุทธเจ้าหลวง ณ สปาการแพทย์ของเยอรมัน” และหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนาชื่อ “Photo Meditation”

    สิ่งที่ศาสตราจารย์แมนเฟรดได้น้อมนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของเขานั้น หาได้เป็นการยกย่องแต่เพียงเพราะพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในสายตาของใครๆ ทว่าเขามีความเข้าใจอันถ่องแท้ไปถึงคุณค่าที่เปล่งประกายออกมาจากภายในของพระองค์ท่านอย่างที่คนไทยหลายคนอาจจะมิเคยพิจารณาในด้านนี้มาก่อนเลยในชีวิตหากแต่มองพระองค์ท่านในฐานะของมนุษย์ปุถุชนคนหนึ่งวึ่งรักและเทิดทูนในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวภูมิพลอดุลยเดช ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าประชาชนชาวไทยในแผ่นดินนี้

          "ผมรู้สึกเศร้าใจ เมื่อมีคนตั้งคำถามกับผมว่ารู้สึกอย่างไรเวลาที่ได้ยินคนไทยพูดว่า “เรารักในหลวง” อันหมายความถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผมจะให้คำตอบเช่นนี้ เพราะอะไรน่ะหรือ ลองคิดดูสิว่า ถ้าหากท่านมีลูกที่ไม่เคยเชื่อฟังคำสั่งสอนของท่านเลย ไม่เคยเดินตามแนวทางทางที่ท่านวางไว้ ไม่เคยต้องการที่จะเรียนรู้จากท่าน สิ่งที่พวกเขาทำนั้นเพียงแค่ก่อปัญหา  แล้วก็เรียกร้องให้ท่านยื่นมือเข้าไปช่วยเหลืออยู่เสมอ ในขณะเดียวกันก็พร่ำพูดว่า “ลูกรักพ่อ” ถ้าท่านเป็นพ่อท่านจะรู้สึกอย่างไร" 
           
ผมจึงคิดว่าการดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริและน้อมนำคำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ จึงมีความสำคัญมาก เราจะเห็นว่าพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระองค์ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารต่างประเทศนับไม่ถ้วน และหลายต่อหลายครั้งที่พระองค์รวมถึงสมเด็จพระบรมราชินีนาถ โปรดให้นักหนังสือพิมพ์และผู้สื่อข่าวของทั้งต่างประเทศและของไทยเข้าเฝ้า เพื่อสัมภาษณ์

          การบอกเล่าถึงพระราชประวัติของพระองค์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงเป็นเพียงการตอกย้ำสิ่งที่ทุกคนโดยเฉพาะคนไทยต่างรู้ดีอยู่แล้ว สิ่งที่เราทั้งหลายควรให้ความสำคัญจึงเป็นสารที่พระองค์ทรงเพียรพยายามจะส่งต่อ ไปถึงชาวโลก และบทบาทในการสร้างความเข้าใจในระดับนานาชาติรวมไปถึงแนวทางการปฏิบัติตาม หลักพระพุทธศาสนาอันงดงามของพระองค์ 
         
อย่างไรก็ดี คำถามมีอยู่ว่าเราในฐานะปัจเจกบุคคลได้ทำอะไรบ้างที่เห็นเป็นรูปธรรมเพื่อทำ ให้โลกนี้ดีขึ้น โดยยึดแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ 
          เราไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้เลยว่าแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นแนวทางที่เกิดขึ้นจากการที่พระองค์ได้ทรงศึกษาจริงและการที่พระองค์ทรงกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการมีพระราชดำรัสต่อพสกนิกรในชาติของพระองค์ หรือบุคคลต่างๆ และแนวทางเพื่อทำให้พสกนิกรเกิดความเข้าใจนั้น พระองค์ทรงกระทำด้วยความอดทนและด้วยทรงเห็นอกเห็นใจในอาณาประชาราษฎร์ของพระองค์ ผมเชื่ออย่างมั่นใจว่าหากพระองค์มิได้ทรงเป็นกษัตริย์ในช่วงพระชนม์ชีพนี้พระองค์จะต้องทรงเป็นบรมครูที่มีชื่อเสียงอย่างแนนอน 


             ท่านทราบหรือไม่ว่า ความปรารถนาสูงสุดของครูคืออะไร?

          ผมตอบได้ว่า คือการที่เห็นศิษย์เป็นจำนวนมากเต็มใจศึกษาเล่าเรียนและเห็นคุณค่าคำสอนของครู ไม่มีอะไรอื่นอีกที่จะทำให้ครูมีความสุขมากไปกว่าสิ่งที่กล่าวแล้วนั้น ดังนั้น ผมจึงมีความรู้สึกว่าเราควรที่จะเน้นบทบาทของพระองค์เพื่อให้ทรงเป็นครูของเรา แต่โปรดตระหนักไว้เสมอว่า อย่าศึกษาเล่าเรียนเพื่อเอาใจครู แต่จงศึกษาเล่าเรียนเพื่อประโยชน์และความดีงามให้เกิดแก่ตัวท่านเอง การศึกษาเล่าเรียนและรู้จักปรับปรุงตนเองเท่านั้นที่จะทำให้ชีวิตของเราดีขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องไปคิดเรื่องไม่เป็นสาระอื่นๆ

          ผมคิดว่า เป็นการไม่รับผิดชอบที่จะนั่งๆนอนๆ ใช้ชีวิตอย่างสบาย และให้คนคนเดียวทำงานอย่างหนักเพื่อดูแลและแก้ปัญหาของชาติ ท่าทีเช่นนี้เป็นสิ่งที่แสดงถึงความไม่เคารพต่อพระองค์ ซึ่งแย่ยิ่งกว่าการพูดถึงพระองค์ในทางไม่ดีในสาธารณะ

          ประเทศหลายแห่งในโลกจะดีใจมากที่มีพระมหากษัตริย์เช่นนี้ แต่ท่านเองเป็นคนไทย มีพระองค์เป็นกษัตริย์แต่ไม่ได้นำประโยชน์จากพระองค์มาใช้ในชีวิตเลย ผมคิดว่าน่าละอาย ถ้าหากว่าเวลาหมุนเวียนเปลี่ยนไปสู่วาระใหม่และมีกระแสลมแรงมาจากทิศทางอื่น ประเทศหลายแห่งในโลกจะชี้มายังประเทศไทยและดูแคลนว่า… “ดูสิ พวกเขามีครูผู้ยิ่งใหญ่ แต่ได้เรียนรู้จากพระองค์น้อยมาก” 
         
ผมรู้สึกสงสารพระองค์อย่างสุดซึ้งเพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นเพียงบุคคลเพียงคนเดียวที่พยายามจะพัฒนาประเทศชาติ ในขณะที่คนอื่นๆในชาติได้แต่เฝ้ารอให้สิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นโดยที่มิได้ดำเนินตามรอยพระบาท ของพระองค์ ซึ่งผมคิดว่าการพัฒนาประเทศในรูปแบบนี้ไม่น่าจะนำพาไปสู่ความสำเร็จได้

         (นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่คัดลอกมา  ขอขอบคุณSomsri Kulratanamanee <[email protected]><[email protected]>; kitsana kiddee   และจะเป็นกุศลยิ่งถ้าทุกคนได้น้อมนำกระแสพระราชดำรัสมาใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล)

หมายเลขบันทึก: 307154เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2009 14:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณคะที่ได้นำสิ่งดีๆมาเล่าสู่กันฟัง ให้ตระหนักว่า จงทำดีเพื่อพ่อไม่ใช่สักแต่พูดว่า รักพ่อ  การกระทำย่อมสำคัญมากกว่าคำพูด จงทำดีจริงๆ อย่าพูดแต่ปาก ให้ดูตัวอย่างจากพ่อหลวงของเรา พระองค์ทรงเป็นตัวอย่างที่ดีมาตลอด

ขอบคุณที่ท่านเข้าไปเยี่ยมสุนะคะ ไปอ่านประวัติสุหรือคะ ถึงรู้ว่าขายประกัน ขายรักษาแต่ยอดรักษาคะ มีธุรกิจหลายอย่าง ทำก่อนรวยก่อน คำนี้ผ่านมาแล้วคะ เอ้าที่พูดมารู้เรื่องหรือเปล่าหนอ  ยินดีที่ได้รู้จักนะคะเป็นอยุธยา แต่ทักสุเหมือนคุ้นเคย

พึ่งเข้ามหรือคะ สุก็ไม่ได้ดูให้ละเอียด ไม่เป็นไรคะ เรายังจะได้คบกันต่อไปและยาวนานทีเดียว จนกว่านิ้วจะจิ้มคอมไม่ถูกโน่นแหละ  ไหนๆท่านก็เข้ามาแล้ว สุว่าให้ท่านกดตามนี้ไปเยี่ยมสุ อีก ไม่ได้บังคับนะคะ เผื่อจะใช้เวลาไปทักทายคนอื่นคะ

 http://gotoknow.org/blog/lelaxy/306813  เพื่อนแท้จริงใจมีไหมแถวนี้ ถ้ามียกมือขึ้น

http://gotoknow.org/blog/lelaxy/305995   อนิจังสังขานนั้นไม่เที่ยงคะ

http://gotoknow.org/blog/rangaai/307203  ธรรมะพาสุขคะ

                            

                                        ชอบภาพนี้จังเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท