ประสบการณ์ (สอน) และชีวิตครบรสที่เวียงจันทร์ 6 วัน 5 คืน ตอนที่ 6 - เฮ็ดบ่ทัน เฮ็ดบ่หมด ที่เวียงจันทร์


มีหลายอย่างที่ตั้งใจว่าจะทำเมื่อไปเวียงจันทร์ แต่ไม่ได้ทำเพราะเวลาหมด - ทำไม่ทัน ทำไม่หมด

ที่จริงตั้งชื่อตอนเลียนแบบชื่อหนังสือของสมเด็จพระเทพฯ ที่เขียนเรื่องไปเยือนเมืองลาวว่า "เบิ่งบ่ทัน เบิ่งบ่หมด" (เบิ่ง คือ ดู) ส่วนเรา "เฮ็ดบ่ทัน เฮ็ดบ่หมด" หมายถึง ทำไม่ทันเวลาหมดก่อน ทั้งๆ ที่ตั้งใจว่าจะไปทำอะไรหลายๆ อย่างที่เวียงจันทร์

ความตั้งใจแรกที่จะทำคือ กลับไปสถานที่ท่องเที่ยวที่เวียงจันทร์อันได้แก่ วัดสีสะเกด วัดสีเมืิอง หอพระแก้ว ธาตุหลวง เป็นต้น แต่คราวนี้ไม่ได้ไปเพราะไม่มีเวลา ได้แต่นั่งรถผ่านวัดองค์ตื้อ วัดองค์แปง วัดมีชัย ตอนเช้าที่ไปสอน

ตั้งใจจะไปดูสนามกีฬาที่จะแข้งซีเกมส์ตอนธันวาคม 52 ที่จริงมีสนามกีฬาแห่งชาติอยู่หลังโรงแรมลาวพลาซ่า อยากไปดูว่าปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปถึงไหน - ไม่ได้ไป แต่่ถนนหนทางไปเวียงจันทร์ดูแล้วพร้อมสำหรับการแข่งขันปลายปี

ตั้งใจจะไปร้านหนังสือข้างๆ ศูนย์วัฒธรรม มีร้านหนังสือสวยๆ แต่งร้านดีอยู่ร้านหนึ่ง ถ้าจำไม่ผิดชื่อร้าน monument  book store สองปีที่แล้วได้หนังสือสำหรับเด็กไปให้ลูกหัดอ่านนิทานภาษาอังกฤษ 2-3 เล่ม (ซึ่งจนป่านนี้ยังอ่านไม่คล่องเลย)

ตั้งใจจะไปกินอาหารฝรั่งเศสข้างๆ ววส. เพราะว่าน่าจะอร่อย จะไปกินอาหารญี่ปุ่น และอยากกินเบเกอรีสักวันหนึ่ง เพราะดูหน้าตาขนมแล้วน่าจะอร่อย เพราะลาวน่าจะได้สูตรจากฝรั่งมามากพอสมควรตามประวัติศาสตร์ และอยากลองรสชาดอาหารอื่นๆ คนไทยไม่ได้ทำบ้าง แต่สุดท้ายได้กินอาหารเกาหลีอย่างเดียวในวันแรกที่ไปถึง

อยากไปลองนวดเท้า นวดตัวที่เวียงจันทร์บ้าง เพราะอยากลองเทียบกับที่เคยทำที่ขอนแก่น ร้านสปาร้านนวดที่เวียงจันทร์เยอะพอสมควรและอยู่ในย่านใจกลางเมืองใกล้ๆ ที่สอนก็มี

สุดท้ายที่ตั้งใจคือ ตั้งใจจะไปพบผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติลาว เพราะก่อนหน้าที่ไปสอน ได้ไปลองค้นข้อมูลในอินเตอร์เนตเกี่ยวกับบทบาทสตรีของเมืองลาวแล้วเผอิญไปเจอผอ. สำนักหอสมุดแห่งชาติซึ่งเป็นผู้หญิง ได้เป็น 1 ใน 1000 ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลของ UN เกี่ยวกับการส่งเสริมการอ่านของคนลาว เช่น book in box - เป็นห้องสมุดเคลื่อนที่ เป็นต้น แต่หนึ่งในโครงการที่ทำมีการส่งเสริ่มให้เด็กอ่านหนังสือจากใบลาน การสมัครเป็นสมาชิกห้องสมุดด้วยค่าสมาชิกที่ต่ำมากๆ  โดยส่วนตัวรู้สึกสนใจอยากมีส่วนร่วมเพราะลูกชายตัวเองก็อยู่ในวัยประมาณนี้ แล้วไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือยาวๆ ชอบอ่านพวกการ์ตูนมากกว่า (ซึ่งเราเองก็ไม่ค่อยชอบใจเท่าไหร่)  จึงได้เขียนจดหมายไปแนะนำตัวกับผอ. เมื่อตอนต้นปี แต่ปรากฏว่าในตอนนั้นผอ. อยู่ที่ต่างประเทศจึงไม่ได้ติดต่อกันอีกเลย แต่เราหวังในใจว่าเมื่อไปที่เวียงจันทร์จะได้แวะไปคุยบ้าง แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ไป ได้แต่ถามนักศึกษาว่าห้องสมุดอยู่ที่ไหน เด็กบอกว่าอยู่ใกล้ๆโรงแรมล้านช้างและอยู่ใกล้ๆววส. นี่เอง 

ทั้งหมดนี้เป็นความตั้งใจที่จะทำเมื่อไปเวียงจันทร์ ซึ่งดูตามความอยากแล้วน่าจะใช้เวลาว่างๆ สักอาทิตย์จึงจะทำได้หมด ทำได้ทันทุกอย่าง ได้แต่หวังว่าถ้ามีโอกาสกลับไปอีกจะไปไล่ทำตามตามที่ตั้งไจไว้ข้างบน

สุดท้ายขอจบด้วยเนื้อเพลง "จำปาเมืองลาว" ดอกจำปาในที่นี้คือ ดอกลีลาวดี ไม่ใช่ดอกจำปีจำปาที่เรารู้จัก ดอกจำปาเป็นดอกไม้ประจำชาติลาว เพลงนี้ในความรู้สึกของตัวเองมันออกจะเหงาๆ เศร้าๆ เหมือนประวัตศาสตร์ชาติลาวยังงัยยังงั้น ครั้งสุดท้ายที่ได้ฟังอยู่ในฉากท้ายๆของภาพยนตร์เรื่อง สะบายดีหลวงพระบาง ซึ่งร้องได้เศร้ามาก เนื้อเพลงว่าดังนี้

อ้ดวงจำปาเวลาชมน้อง          นึกเห็นพันช่องมองเห็นหัวใจ

เฮานึกขึ้นได้ในกลิ่นเจ้าหอม    เห็นสวนดอกไม้บิดาปลูกไว้ตั้งแต่นานมา

เวลาหง่วมใจ                       เจ้าช่วยบรรเทาเฮาหายโศกา

เจ้าดวงจำปา                       คู่เคียงเฮามาแต่ยามน้อยเอย

กลิ่นเจ้าสำคัญติดพันหัวใจ      เป็นน่ารักใคร่แพงไว้เชยชม

ยามเหงาเฮาดมโอจำปาหอม    เมื่อดมกลิ่นเจ้าปานพบชู้เก่าที่พรากจากไป

เจ้าเป็นดอกไม่ที่งามวิไลตั้งแต่ใดมา   เจ้าดวงจำปามาลาขวัญรักของเรียมนี้เอย

โอ้ดวงจำปาบุปผาเมืองลาว     งามดังดวงดาวชาวลาวเพิงใจ

เกิดอยู่ในแดนดินล้านช้าง     ถ้าได้พลัดพรากเนรเทศจากบ้านเกิดเมืองนอน

เรียมจะเอาเจ้า     เป็นเพื่อนร่วมเหงาเท่าสิ้นชีวา

เจ้าดวงจำปา       มาลางามยิ่ง มิ่งเมืองลาวเอย.........

ในหนังสือ ฮักแพงเมืองลาว เขียนโดย สุมิตรา จันทร์เงา ได้เขียนประวัติเพลงนี้ไว้ที่หน้า 162 ขอยกมาล่าวไว้ในที่นี้เพื่อให้ทราบประวัติเพลงอย่างย่อๆ ดังนี้

เพลงจำปาเมืองลาว มีหลักฐานว่าแต่งขึ้นเมื่อประมาณ ค.ศ. 1945 เนื้อร้องโดย ท่านมะหาพูมี จิตพง ทำนองโดย ท่านมะหาอุตะมะ จุลมณี ....เพลงนี้แต่งขึ้นในช่วงที่ท่านมะหาอุตะมะ เข้าร่วมขบวนการต่อสู้กู้เอกราชคืนจากฝรั่งเศส เพื่อสร้างความเป็นนำ้หนึ่งใจเดียวกันให้กับประชาชนลาวที่อยู่ภายใต้อาณานิคมฝรั่งเศส ถึงความรักโดยใช้ "ดอกจำปา" หรือดอกลั่นทมที่ชาวลาวนิยมปลูกแต่ในอดีตเป็นสื่อบอกความรักแผ่นดินถิ่นเกิดของชาวลาว ......หลังจากการปฏิวัติประชาชนในลาวเสร็จสิ้นลงในปีพ.ศ. 2518 ผู้นำลาวได้เลือกดอกจำปาเป้นดอกไม้ประจำชาติ และเพลงจำปาเมืองลาวเป็นเพลงสัญญลักษณ์ความเป้นปึกแผ่นของลาวมาตั้งแต่บัดนั้น...

หมายเลขบันทึก: 307138เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2009 12:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • อยากเห็นสภาพทั่วไปในลาวครับ
  • อันนี้แพทย์ชาวลาวหรือครับ
  • รออ่านอีกครับ
  • Laos153

เรียนคุณขจิต

- จะ post ภาพทั่วไปในเวียงจันทร์เพิ่มให้อีกคะ

- ภาพที่เห็นเป็นนักศึกษาเทคนิคการแพทย์กำลังทำ lab ตอนที่ไปสอน

- ส่วนที่เห็นเสื้อลายนั้นเป็นอาจารย์ทางฝั่งโน้นมา attend class และช่วยคุม lab ด้วย

- เรื่องของเวียงจันทร์เขียนครบทุกอย่างที่ตั้งใจแล้วคะ 6 ตอนแล้ว อาจารย์อ่านตอนที่ 1 - 5 หรือยัง?

คุณนงนาทคะ

รูปดอกจำปาสวยมาก ตอนไปไม่ได้ถ่ายดอกเดี่ยว ๆแบบนี้ แต่ไปถ่ายรูปกับตึกเป็นส่วนใหญ่เพื่อบอกว่านี้คือ จำปาเมืองลาว จะ post รูปให้ดูเพิ่มคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท