ภัทรานิษฐ์
นางสาว ภัทรานิษฐ์ เจริญธรรม ภัทร(จิ๋ว) เจริญธรรม

หญ้าแพรก ฯลฯ


หญ้าแพรกจัดเป็นพืชมงคลชนิดหนึ่ง ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความแตกฉานในสรรพวิชา เพราะหญ้าแพรกเป็นพืชที่แตกกอและกิ่งก้านง่ายและรวดเร็ว นอกจากนั้นยังเป็นพืชที่มีความทนทานต่อทุกสภาพแวดล้อม จึงเป็นสัญลักษณ์แสดงความอดทนในการศึกษาเล่าเรียนด้วย

     

      หญ้าแพรกจัดเป็นพืชมงคลชนิดหนึ่ง ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความแตกฉานในสรรพวิชา เพราะหญ้าแพรกเป็นพืชที่แตกกอและกิ่งก้านง่ายและรวดเร็ว นอกจากนั้นยังเป็นพืชที่มีความทนทานต่อทุกสภาพแวดล้อม จึงเป็นสัญลักษณ์แสดงความอดทนในการศึกษาเล่าเรียนด้วย

     หญ้าแพรก ในพุทธประวัติกล่าวว่าพระสิท หญ้าแพรก เป็นพืชในวงศ์หญ้า (Gramineae) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cynodon dactylon Pers. ชื่อสามัญคือ Burmuda grass หรือ Dub grass ไทยพายัพเรียก หญ้าแผด นักวิชาการบางท่านที่ไม่ทราบชื่อไทยของหญ้าชนิดนี้ได้เรียกทับศัพท์เป็น “หญ้าเบอร์มิวด้า” ทำให้นักศึกษารุ่นหลังๆต้องจำชื่อหญ้าแพรกใหม่ (แบบผิดๆ)
     หญ้าแพรกจัดเป็นพืชมงคลชนิดหนึ่ง ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความแตกฉานในสรรพวิชา เพราะหญ้าแพรกเป็นพืชที่แตกกอและกิ่งก้านง่ายและรวดเร็ว นอกจากนั้นยังเป็นพืชที่มีความทนทานต่อทุกสภาพแวดล้อม จึงเป็นสัญลักษณ์แสดงความอดทนในการศึกษาเล่าเรียนด้วย โดยจะใช้ร่วมกับ ดอกมะเขือ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความอ่อนน้อมถ่อมตน และดอกเข็มซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งสติปัญญาที่เฉียบแหลมในพิธีไหว้ครู
      ส่วนพืชที่ชื่อ หญ้าแพรกแดง เป็นพืชจำพวกหญ้า มีลักษณะเช่นเดียวกับกับ หญ้าแพรก แต่มีบางส่วนของต้นเป็นสีแดง จึงทำให้เรียกว่า “หญ้าแพรกแดง” ทำนองเดียวกับหญ้าพันงูแดง ธัตถะได้ทรงพระสุบิน ก่อนที่จะสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณคำรบสองว่า ต้นหญ้าแพรกต้นหนึ่ง ได้ขึ้นแต่พื้นพระนาภี และเจริญสูงขึ้น

     ในช่วงที่เริ่มเปิดเทอมเดือนพฤษภาคม - เดือนมิถุนายนนี้ จะเป็นช่วงที่โรงเรียนและมหาลัยต่าง ๆ ได้มีการจัดพิธีไหว้ครูขึ้นซึ่งครูนั้นมีความหมายว่า ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ซึ่งมีผู้กล่าวว่ามาจากคำว่า ครุ (คะ-รุ) ที่แปลว่า "หนัก" อันหมายถึง ความรับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนของครูนั้น นับเป็นภาระหน้าที่ที่หนักหนา ทั้งนี้เพราะว่ากว่าคนคนหนึ่งจะเติบโตเป็นผู้มีวิชาความรู้ และเป็นคนดี ของสังคม ผู้เป็น "ครู" จะต้องทุ่มเทแรง กายและแรงใจในการสั่งสอนวิชาทั้งศิลปะวิชาการต่าง ๆ ที่มีมากมายหลายแขนง ในชีวิตของของคน ๆ หนึ่ง นอกเหนือไปจากพ่อแม่ซึ่งเปรียบเสมือน ครู "คนแรก " ของเราแล้ว การที่เด็ก ๆ จะดำรงชีพต่อไปได้ในสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี "ครู " ที่จะประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ เพื่อปูพื้นฐานไปสู่หนทางทำมาหากินในภายภาคหน้าด้วย ดังนั้น ครู จึงเป็นบุคคลสำคัญเป็นที่สองรอง ไปจากมารดาที่เราทุกคนควรจะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่านเพราะ หากโลกนี้ไม่มีผู้ที่ทำหน้าที่เป็น " ครู " แล้ว สรรพวิชาต่าง ๆ ก็คง สูญหายไปจากพิภพ แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ก็ทรงเป็น " ครูของโลก " พระองค์หนึ่ง ด้วยเหตุนี้เอง " การบูชาครู " หรือ " การไหว้ครู " จึงเป็นประเพณีสำคัญที่มีมาแต่โบราณ ถือเป็นพิธีกรรมที่แสดงความเคารพและระลึก ถึงพระคุณ ของบูรพาจารย์ ครูอาจารย์ผู้ประสิทธิ์วิชาความรู้ให้ ทำให้เราสามารถนำไปประกอบวิชาชีพสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเอง และครอบครัวได้ในอนาคต
       การไหว้ครูก็คือ พิธีการหนึ่งที่ศิษย์ แสดงความเคารพและการระลึกถึงคุณ ยอมรับนับถือ ครูบาอาจารย์อย่างจริงใจว่า ท่านเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมความรู้ เป็นผู้ที่สั่งสอนอบรมเรามาทั้งจรรยามารยาทและศิลปะวิทยาการ ศิษย์ในฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการ จึงพร้อมใจกัน ปวารณา ตัวรับการถ่าย ทอดวิชาความรู้ด้วยความวิริยะอุตสาหะ เพื่อให้บรรลุปลายทางแห่งการศึกษาตามที่ตั้งใจเอาไว้ ซึ่งการไหว้ครูนี้ นอกจากจะเป็นธรรมเนียมอันดีงามที่มีส่วน โน้มน้าวจิตใจคนให้รักษาคุณความดี และช่วยธำรงรักษาวิทยาการให้สืบเนื่องต่อไปแล้วการที่ศิษย์แสดง ความเคารพยอมรับนับถือครูตั้งแต่เบื้องต้น ก็มีส่วน ทำให้ครูเกิดความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ อยากมอบวิชาความรู้ให้อย่างเต็มที่ และศิษย์เองก็จะมี ความรู้สึกผูกพันธ์ใกล้ชิดเกิดความมั่นใจว่าตนจะมีผู้คุ้มครองดูแลสั่งสอน ให้ไปสู่หนทางแห่งความดีงาม และความเจริญก้าวหน้าอย่างแน่นอน โดยการไหว้้ครูนั้นจะเริ่มตั้งแต่การอภิวาทคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยทั้งสามนี้เป็นคุณพระรัตนตรัยแก้วสามประการที่ทุกคนต้องเคารพ เป็นเบื้องต้น จากนั้น ก็เป็นคุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์ โดยมีพานดอกไม้ที่ ประกอบด้วย ดอกเข็มดอกมะเขือและ หญ้าแพรก โดยดอกเข็มมีลักษณะ แหลมคล้ายเข็ม มีความหมายในการอธิษฐานว่า ขอให้มีสติปัญญาแหลมคมดุจดั่งเข็ม ดอกมะเขือเป็นดอกไม้ที่เวลามันบานจะคว่ำดอกลง มีความ หมายในการอธิษฐานว่า ศิษย์จะน้อม รับวิชาความรู้จากครูด้วยความเคารพ ส่วนหญ้าแพรกเป็น หญ้าที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ผู้ใดจะไปเหยียบย่ำมัน ๆ ก็จะไม่ทำให้เราบาดเจ็บมีความหมายในการ อธิษฐานว่าศิษย์จะต้องมีความอ่อนน้อมและไม่โกรธตอบ ครูจะเฆี่ยนตีอบรมสั่งสอนก็ไม่คิดอาฆาต พยาบาท เพราะครูทำไปด้วยความเมตตาอยากให้ศิษย์ เป็นคนดี นอกจากนี้ยังมีความหมายถึงการศึกษาที่ให้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว โดย บทความในครั้งนี้ จะขอกล่าวถึงหญ้าแพรก พืชที่ใช้ในพิธีการ ต่าง ๆ ของพราหมณ์ เช่น ในอินเดียที่เขาใช้หญ้าแพรกบูชาพระพิฆเณศ เพราะเขาถือ ว่าพระพิฆเณศเป็นครู เป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ ก่อนที่จะกล่าวถึง
       ลักษณะและประโยชน์ของ หญ้าแพรก จะเล่าตำนานของหญ้าแพรกให้ทราบเสียก่อน ตำนานของหญ้าแพรกมีหลายเรื่องเล่ากันว่า หญ้าแพรกเป็นหญ้า ของพระนารายณ์ โดยอ้างว่าเมื่อพระรามเข้าโกศ ได้ใช้ให้นายเสนาไปบอกลวงนางสีดาว่าพระรามได้สวรรคตแล้ว นางสีดา หลงกลนึกว่า เป็นความจริงก็ รีบมาแต่พอเปิดโกศก็ทราบว่าพระรามยังไม่สวรรคต นางสีดาจึงอธิษฐานแทรกพสุธาหนีไป พระรามรีบคว้าจับไว้แน่น และเข้าพระทัยว่าได้ยึดผมของนาง สีดาไว้ได้แล้วแต่ที่แท้คว้าเอาหญ้าแพรกไว้เต็มกำมือ ตั้งแต่นั้นมาเกิดความเชื่อและนับถือกันว่าหญ้าแพรกเป็น ของศักดิ์สิทธิ์ อีกเรื่องหนึ่งเล่ากันว่า หญ้าแพรก ก็คือ หนวดของพญาอนันตนาคราช ซึ่งเป็นอาสนะที่บรรทมของพระนารายณ์ กล่าวกันว่าหนวดของพญาอนันตนาคราชได้หลุดลอยขึ้นมาบนฝั่ง แล้วได้กลายเป็นหญ้าแพรก ในอีกทางหนึ่งก็เล่ากันว่า หญ้าแพรก นั้นก็คือผมขององค์พระวิษณุที่ หลุดออกมาตอนกวนเกษียรสมุทรในเมื่อพวก เทวดาเอาน้ำอมฤตมาวาบนสนามหญ้าแพรก ทำให้หญ้าแพรกได้กลายเป็นของศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย นอก จากนี้ในวรรณคดีสมัยสุโขทัย ก็มีการกล่าวถึงหญ้า แพรกในหนังสือ ไตรภูมิพระร่วงว่า " เมื่อไฟไหม้กัลปแล้ว และตั้งแผ่นดินใหม่ มิได้ตั้งทุกแห่ง มิเป็นโดยธรรมดา แต่ก่อนมีที่เปล่า ยังมีลางแห่งเปล่าโดย กว้างโดยสูง ได้แล ๓๐๐ โยชน์ ก็ยังมีลางแห่งหนึ่งโดยกว้าง โดยสูงแลได้ ๕๐๐ โยชน์ก็มี ลางคาบ ลางแห่งโดยกว้างโดยสูงได้ ๗๐๐ โยชน์ก็มี แลที่นั้น กลายเป็นแผ่นดิน เสมอกันทุกแห่ง เลื่อมขาวงามดังแผ่นเงินยวง มี หญ้าแพรก เขียวมันเหมือนตามกัน โดยสูง ๔ นิ้วมือเขียวงาม ๓ นิ้วมือดังแผ่นแก้ว ไพฑูรย์ฉัน
นั้นแล ฯ "
      ในพุทธประวัติกล่าวว่า พระสิทธัตถะได้ทรงสุบิน ก่อนที่จะสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณคำรบสองว่า ต้นหญ้าแพรกต้นหนึ่งได้ขึ้นแต่พื้นพระนาภีและเจริญสูงขึ้นไปจนจดคัดนาดลนภากาศ ซึ่งทำนายว่าการที่ หญ้าแพรก งอกจากพระนาภี สูงไปจดอากาศนั้น เป็นบรรพนิมิตที่ได้ตรัสเทศนาพระอริยมรรคมีองค์ 8 ( อัฏฐังคิกมรร ) แก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งปวง ในทางสำนวนโวหารเปรียบหญ้าแพรกเสมือนหนึ่งประชาชนพลเมือง ดังเช่นกล่าวถึงในวรรณคดีขุนช้างและ ขุนแผนตอนหนึ่งว่าลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้ประเภทเดียวกับหญ้า แตกกิ่งก้าน เลื้อยปกคลุมดินยาวประมาณ 1 เมตร และลำต้นที่ชูตั้งขึ้นสูงประมาณ 4-12 นิ้ว ลักษณะของลำต้นเป็นข้อ และมีรากงอกออกมาลักษณะของหญ้าแผด เป็นพันธ์ไม้ประเภทเดียวกันกับหญ้า แตกกิ้งก้าน เลื่อยปกคลุมดินยาวประมาณ 1 เมตร และลำต้นชูตั้งขึ้นประมาณ 4-12นิ้ว ลักษณะของลำต้นเป็นข้อ
   -ใบ : ใบออกที่ข้อลำต้นตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นเส้นยาว โคนใบมีขนสั้น ปลายใบแหลมยาว ขนาดของใบมีความยาวประมาณ 1-6 ซม. กว้างประมาณ 1-3 มม.

   -ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีช่อดอกย่อยอีกประมาณ 3-6 ช่อ ลักษณะของช่อดอกย่อย เป็นเส้นมีสีเขียวอมเทา หรือสีม่วงยาวประมาณ 1-2 นิ้ว และลักษณะของดอกย่อยจะออกเรียงกันเป็นแถว

   -ผล: เมื่อดอกร่วงก็จะติดผล มีขนาดยาวประมาณ 1 มม.

   การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่มักพบขึ้นเอง ตามที่ว่างริมถนน หรือบริเวณสนามหญ้า ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ต้องการความชื้นในปริมาณค่อนข้างมาก ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด กิ่ง และราก

ส่วนที่ใช้ : ลำต้น ราก

สรรพคุณ : ลำต้น ใช้ลำต้นสด ประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ ขับลม อาเจียนเป็นเลือด แก้อัมพาต ปวดเมื่อยกระดูก แก้โรคเบาหวาน ท้องเสีย ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้ริดสีดวงทวาร หรือใช้ลำต้นสดนำมาตำให้คั้นเอาน้ำและกาก ทา หรือพอกแก้ปวดข้อ ช่วยห้ามเลือด พิษไข้มีผื่นต่าง ๆ เช่น เป็นหัด เหือด อีสุกอีใส ดำแดง เป็นต้น

ราก ใช้รากแห้งประมาณ 60 กรัมนำมาต้ม หรือบดให้ละเอียด ใช้กินเป็นยาแก้โรคหนองเรื้อรัง ขับปัสสาวะ แก้นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ซิฟิลิสในระยะออกดอก ริดสีดวงทวารมีเลือดออก และเป็นยาแก้บวมน้ำ เป็นต้น

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา :

1. จากการทดลองฉีดอัลคาลอยด์ ของหญ้าแพรก ในปริมาณ 2.5 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ฉีดเข้าในหลอดโลหิตดำ ของกระต่าย ผลปรากฏว่าเลือดจากบาดแผลของกระต่ายเกิดการแข็งตัวขึ้น
และเลือดหยุดไหลได้เร็วขึ้น

2. จากการสกัดลำต้นของหญ้าแพรก ด้วยอีเธอร์ จะได้สารที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Streptococcus faecalis Salmonella typhi, Shigella dysenteriae, Staphylococcus aureus, Bacillus subtilis แต่สารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อไวรัส ซึ่งมีการทดลองกับ Vaccinia virus

ที่มา...

หญ้าแพรก - วิกิพีเดีย    

หญ้าแพรก ในพุทธประวัติ

หมายเลขบันทึก: 307096เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2009 09:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

หญ้าแพรก บางที โดนเหยียบ ราบ เลยครับ

ความจริง เป็นสิ่งไม่ตายค่ะ

จะหญ้าแพรกหรือไม่แพรก เดินผ่านไปผ่านมา ก็โดนเหยียบนะซิคะ(พูดถึงหญ้าค่ะ)

แต่ลำต้นและใบก็สวยดีนะคะ

ขอบคุณที่มาชมค่ะ

เกือบจะสูญพันธ์แล้วนะ...โดนยาฆ่าหญ้า

การกำจัดแบบ......ไม่มีทางสู้เลย

สวัสดีค่ะ ครูป.1

ถ้าหญ้าแพรกอยู่ในป่าลึก คงไม่สูญพันธุ์นะคะ

ขอบคุณที่เข้ามาชม สม่ำเสมอ

อิ อิ อิ

สวัสดีครับคุณครู  เรื่องหญ้าแพรก เหยียบย่ำทุกวันเพิ่งรู้รายละเอียด...เพราะน้ำอมฤตนี่เอง  หญ้าแพรกเลยไม่ตายง่ายๆ..ขอบพระคุณครับ

สวัสดีค่ะ คุณหนุ่ม กร~natadee

พอดีว่าได้ค้นคว้าเจอจึงนำมาฝาก เห็นว่าเป็นบันทึกที่ดี

ต้นไม่ตายง่ายๆเพราะ ความแข็งแรงต้านลมฝนนะึ่ค่ะ

ไม่ได้ทักทายกันนานนะ

เมื่อช้างชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกราญครับ

ช้างชนกันไม่เท่าไร รถไฟชนกันยับเยิน ไม่เหลืออะไรเลย

5555

เพิ่มเติม อ.small man

แบบว่าแซวกันเล่นๆนะค่ะ

อย่าคิดมาก ไปอ่้านบันทึกของท่าน แล้วสนุกดีค่ะ

"หยุดเพื่อรู้ ของ อ.เจเจ ดีมากค่ะ"

cheer!!!

สวัสดีค่ะคุณครูจิ๋ว

อ่านแล้วยิ้ม ๆ จะคอมเม้นท์ก็มีคนแย่งซีนไปแล้ว...55555...

คิดถึง คำว่า ช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกราญ เหมือนท่าน small man เลยค่ะ

คิดถึงค่ะ

(^___^)

สวัสดีค่ะ คนไม่มีราก

อะน่ะ มาแล้ว

หญ้าก็คือหญ้า มีตาย มีเป็น ธรรมด๊าๆ

คิดถึงเช่นกัน

 

เคยแต่ใช้หญ้าแพรกในพิธีไหว้ครูหลายครั้งแต่ประวัติความเป็นมาพึ่งได้รับความรู้จากการนำเสนอของครูจิ๋วก็คราวนี้เอง เป็นวิทยาทานทางความรู้และมีประโยชน์ครับ

สวัสดีค่ะ ดร. เมธา สุพงษ์

เพิ่งค้นพบเมื่อไม่นานมานี้เองค่ะ

หญ้าแพรกเป็นสัญลักษณ์แห่ง สติปัญญาแตกฉาน และความอดทนต่อการเรียน

ขอบคุณที่เข้ามาชมสม่ำเสมอค่ะ

 

 

  • ...สวัสดีครับ...ครูจิ๋ว...สบายดีนะครับ...
  • ...ลุกมาตอบเมนต์ได้นิดหน่อยตอนบ่าย...ไม่ได้เข้ามาทักทายขออภัยด้วย...เพราะพิษไข้ นี่แหละ...
  • ...มีรายละเอียดดีมากครับ...และที่ชอบก็ตรงที่มีสรรพคุณอย่างมากมาย
  • ...นึกว่า เป็นหญ้าที่คอยรับการเหยียบของช้างเท่านั้น...

สวัสดีค่ะ อ.udomran

ขอบคุณที่เม้นให้ค่ะ ด้วยการให้อภัย เพราะพิษไข้......???

หายไวไวนะคะ...ด้วยความห่วงใยสุขภาพค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท