เครือข่าย KM เบาหวานและ CoPs เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (๓)


เพื่อไม่ให้ผู้เข้าประชุมฟังแบบ passive และได้มีส่วนร่วม เมื่อฟังแล้วให้อยู่ในความเงียบ แล้วบันทึก learning log ว่าฟังแล้วได้อะไร

ตอนที่

วันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๒ (ต่อ)
หลังการเปิดการประชุมเสร็จเรียบร้อย ผู้เข้าประชุมแยกย้ายกันเข้าห้องประชุม ๒ ห้อง ซึ่งทีมงานจัดไว้ดังนี้
ห้องที่ ๑ การจัดการความรู้ในแผนงานและเครือข่ายต่างๆ มี ดร.ไพฑูรย์ ช่วงฉ่ำ เป็นวิทยากรกระบวนการ และ นพ.ทวีศักดิ์ นพเกษร เป็นผู้วิพากษ์
ห้องที่ ๒ ระบบการจัดการความรู้และผลงานขององค์กร-เครือข่ายต่างๆ มี นสพ.ปกรณ์ สุวรรณประภา เป็นวิทยากรกระบวนการ และ รศ.นพ.อำนาจ ศรีรัตนบัลล์ เป็นผู้วิพากษ์

ดิฉันเป็นหนึ่งในผู้นำเสนอในห้องที่ ๑ ซึ่งมีเรื่องการจัดการความรู้ของแผนงานและเครือข่าย ดังนี้
- เครือข่ายฯ ของแผนงานคณะแพทยศาสตร์
- แผนงานคณะเภสัชศาสตร์
- คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล
- สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก

วิทยากรและผู้วิพากษ์ ชี้แจงกิจกรรมว่าเพื่อไม่ให้ผู้เข้าประชุมฟังแบบ passive และได้มีส่วนร่วม เมื่อฟังแล้วให้อยู่ในความเงียบ แล้วบันทึก learning log ว่าฟังแล้วได้อะไร เช่น ได้ความรู้อะไรจากการฟัง สิ่งที่ได้คิดว่าจะนำไปทำอะไร เพราะอะไร ให้เวลาสำหรับผู้นำเสนอคนละ ๑๕ นาที การวิพากษ์จะเป็นการจุดประกายเพื่อให้คนฟังเข้าสู่ learning log ได้สะดวกขึ้น ได้เวลา ๑๐ น. จึงเริ่มการนำเสนอ

ดิฉันพยายามฟังและจดบันทึก เพราะอยากจะรู้ว่าแต่ละแผนงาน/กลุ่ม/ทีม เข้าใจ KM และใช้ KM อย่างไร

เครือข่าย รร.แพทย์ฯ
มีสมาชิก ๑๘ สถาบัน วิสัยทัศน์คือใช้การจัดการความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนางานจนเกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้และได้ฐานข้อมูลความรู้การสร้างเสริมสุขภาพฯ ผู้นำเสนอกล่าวถึง change agent, LO และให้ประชาชนได้ประโยชน์ พันธกิจ ๓ เรื่อง

ใช้ OM ในการทำแผนงาน บอกว่า partner มีใครบ้าง outcome challenge มีอะไรบ้าง คาดหวังจะมีทีม KM มีกิจกรรม KM จนมีกิจกรรม KM อย่างต่อเนื่อง เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร/คณะ เป็น LO นำสู่ TQA

มีการจัดตั้ง หลังจากมีการ ลปรร. ผ่านไป ๔-๕ ครั้ง พอมองออกว่าใครเป็นขาประจำ จึงมีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ มีกิจกรรมมาแล้ว ๑๕ ครั้ง จัดทุก ๒ เดือน เวียนไปตามสถาบันต่างๆ กำลังเริ่มสร้างคลังความรู้ มีคุณลิขิต จะเริ่มแบบ electronic ๒ รูปแบบคือ Wiki และ Website

ผลการประเมินตนเองของ ๑๖ สถาบัน (อีก ๒ สถาบันกำลังคิดอยู่)
- Expect to see = ๙
- Like to see = ๕
- Love to see = ๒ (ศิริราช และ มข.)
การประเมินแบบนี้ใช้ติดตามความก้าวหน้าและใช้จับคู่แลกเปลี่ยนเรียนรู้

กิจกรรมในปี ๒๕๕๒ ได้เวียนไปที่ไหนบ้าง เวลาเวียนไปที่ไหนจะให้เจ้าภาพตั้งประเด็น แต่ที่คุยกันสม่ำเสมอทุกเวทีคือเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ และการจัดการความรู้ รร.แพทย์แบ่งได้เป็น ๓ กลุ่มคือกลุ่มที่มีอายุ ๒๐ ปีขึ้นไป อายุ ๑๐ ปีขึ้นไป และที่อายุต่ำกว่า ๑๐ ปี เอาตัวแทนจากแต่ละกลุ่มมาแลกเปลี่ยนกัน พบว่าการเรียนรู้ที่ดีเป็นการเรียนรู้จากความแตกต่าง

วางแผนว่าจะเอาความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนมาเผยแพร่ โดยจะจัดแถลงข่าวในเดือนธันวาคม ๒๕๕๒ ได้ความรู้มา ๒๐-๓๐ เรื่อง จะมีทีมบรรณาธิการมาเรียบเรียงให้เข้าใจง่าย

ดิฉันพยายามฟังและคิดตาม แม้จะไม่ชัดเจนนักว่าแผนงานนี้ใช้เครื่องมือ KM อะไร อย่างไร แล้วเกิดอะไรขึ้น แต่ก็สนใจที่มีการนำเรื่องของการสร้างเสริมสุขภาพไปผนวกกับเรื่องของ TQA และมีวิธีการประเมินตนเองโดยใช้ Progress markers

เอาความเห็นของผู้วิพากษ์มาฝาก ดังนี้
- คำที่ต้องทำความเข้าใจ data, knowledge
- ความแตกต่างระหว่าง to study, to learn
- สิ่งที่ทำมี step น่าสนใจ แต่การจะเป็น LO สัมพันธ์กับ learning culture
- เป็นการจัดตั้งตนเอง self-organize ซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืน
- สิ่งที่ได้มาเป็นความรู้ อะไรบ้างที่จะบอกว่าเป็น highly lesson learned
- มีการแบ่ง รร.แพทย์หลายรูปแบบ ตามเวลา-อายุ ตามขั้นของ expected outcome

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 306250เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2009 00:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับอาจารย์ แวะมาหาความรู้วิยาลัยหลังเที่ยงคืน แวะไปบ้านหมอเจ๊แล้วมาหาอาจารย์ครับ สบายดีครับท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท