พัฒนาระบบงาน กลุ่ม พส. (2) งานทันตฯ ระดับศูนย์ ที่ศูนย์ฯ 3 ชลบุรี


 

จุดแรกของการเรียนรู้การทำงานทันตฯ ระดับศูนย์อนามัย ค่ะ ที่ ศูนย์อนามัยที่ 3 เมืองชล โดยคุณหมอลิ้ม และคณะ มานำเสนอภาพงานของศูนย์ฯ ให้ฟัง ... ทีมของศูนย์ฯ 3 จะมี คุณเปิ้ล (ลลิตา) จพ.ทันตฯ, ผู้ช่วยทันตแพทย์ คุณอรอนงค์ สวยที่สุด และคุณหมออั๋น (กรกนก) 4 ชีวิต ค่ะ ที่ทำงานด้านทันตฯ แบบบูรณการกับงานอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ศูนย์ฯ 3 ดูแล 9 จังหวัด ของส่วนราชการเขต 3 และ เขต 9 กินพื้นที่ตั้งแต่สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ... มี 63 อำเภอ 10 กิ่งอำเภอ 571 ตำบล 5,000 กว่าหมู่บ้าน มี 2 เทศบาลนคร และเทศบาลเมือง เทศบาล และ อบต. 400 กว่า อบต. ที่ตอนนี้พยายามจะสร้างเครือข่ายกับระดับเหล่านี้ เพราะว่า บางงานเรา approach แค่จังหวัด และบางงานเราจะต้อง approach ในพื้นที่ด้วย เช่น การประเมิน รพ.ส่งเสริม เรื่องของ SLM แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ งานที่ทำกับชมรมผู้สูงอายุ

ด้านเศรษฐกิจ ลักษณะสำคัญ ที่นี่มีทั้งภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม นิคมฯ เยอะมาก ตั้งแต่ที่ปราจีน ระยอง ชลบุรี สมุทรปราการ และเป็นเมืองเกษตรกรรม และก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วย ... ลักษณะเศรษฐกิจจึงค่อนข้างหลากหลาย

ด้านทรัพยากรสาธารณสุข มี รพศ. รพท. 9 แห่ง รพช. 62 แห่ง สอ. 800 กว่าแห่ง และถ้า รพ.ตำบล เราต้องประเมิน ก็คงจะมากขึ้น

โครงสร้างของศูนย์ฯ 3 แบ่งเป็น 4 กลุ่มงาน เป็นฝ่ายบริหารทั่วไป กลุ่มสนับสนุนวิชาการ (ฝ่ายแผน ทั้งแผน กพร. พัฒนาบุคลากร ประชาสัมพันธ์ งานข้อมูล) และเราอยู่ในกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม กับกลุ่ม รพ.ส่งเสริมสุขภาพ ที่ทันตฯ เกี่ยวข้อง

กลุ่มพัฒฯ หรือพัฒนาการส่งเสริมและอนามัยสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น 2 สาย คือ สายส่งเสริม และสายสิ่งแวดล้อม และโรงพยาบาลจะแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มบริการทางการแพทย์ และกลุ่มการพยาบาล ซึ่งกลุ่มการพยาบาลที่นี่ จะไม่มี ER, OR, LR เราแบ่งเป็นกลุ่มวัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ วัยเรียน เยาวชน แม่และเด็ก และงานผู้ป่วยนอก ... เพราะฉะนั้น ภารกิจศูนย์ฯ จะดูภารกิจกรมฯ เป็นหลัก เราทำงานเชิงรุก และทำงานเชิงรับบ้างตามสถานการณ์

กลุ่มบริการทางการแพทย์ จะมีเวชกรรม ทันตกรรม เภสัช ชันสูตร ซึ่งตอนนี้งานทันตสาธารณสุข จะมารวมไว้แห่งเดียว ที่งานของหน่วยทันตกรรม รพ.ส่งเสริมสุขภาพ ... งานทันตฯ จะมีทั้งงานเชิงรับ และงานเชิงพื้นที่ด้วย

โครงสร้างการทำงานของศูนย์ฯ เขต สมัยนี้ แบ่งเป็น 4 แท่ง เป็น
แท่งประสิทธิผล หมายถึง เกี่ยวกับตัวชี้วัดต่างๆ ของกรม
แท่งประสิทธิภาพ หมายถึง การบริหาร
แท่งพัฒนาองค์กร หมายถึง PMQA
แท่งพัฒนาคุณภาพบริการ คือ งาน รพ. ทั้งหมด

แต่ละแท่งรับผิดชอบจังหวัดตามกำหนด ผมจะอยู่แท่งประสิทธิผล ดูแลพิเศษ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก

แท่งของเราสนับสนุนการทำงานของจังหวัดในเขตรับผิดชอบ ทุกด้าน หมายถึงว่า คนที่อยู่แท่งไหนต้องดูทั้งหมด ไม่แยกวิชาชีพ เราจะทำหน้าที่ประสานงาน นิเทศ ติดตาม รับรอง ประเมินผลต่างๆ ก็คือ ภารกิจในแท่ง ปีหน้าจะเป็นเช่นนี้

ขอบเขตการทำงาน เราดูในภาพเขต และรวมถึงพัฒนารูปแบบการบริการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ในโรงพยาบาลด้วย ... งานเรามี 2 ขา ขาบริการ กับงานที่ดูเขต

โครงสร้างที่ผมคิดขึ้นมา เราจะแบ่งเป็น งานบริหาร งานทันตสาธารณสุขเขต และงานคลินิก (พัฒนารูปแบบ) ... ภารกิจเราไม่ใช่งานบริการ ศูนย์ฯ เขต คือ ศูนย์วิชาการ ... เราจึงใช้คำว่า พัฒนารูปแบบสาธิตการส่งเสริมทันตสุขภาพ

งานหลักตามประเด็นยุทธ์ ได้แก่ อนามัยแม่และเด็ก เด็กวัยเรียน วัยทำงาน ผู้สูงอายุ งานพัฒนาวิชาการ งานวิจัย นิเทศติดตาม แก้ปัญหาพื้นที่เฉพาะ เช่น ฟลูออไรด์ และอื่นๆ ... หลักๆ เน้นเรื่องของเด็ก และผู้สูงอายุ

พัฒนารูปแบบตอนนี้เราเปิดบริการในเรื่องของงานส่งเสริมป้องกันในกลุ่มแม่และเด็ก ที่เป็นบริการที่ร่วมกับสายใยรัก และงานตรวจสุขภาพวัยทำงาน

งานระดับเขต ปี 2552

เรื่องลดปัจจัยเสี่ยงในวัยเรียนวัยรุ่น เครือข่ายเด็กไทยฟันดี ประกวดคู่หู เครือข่ายเด็กไทยฟันดีภาคตะวันออก และแปรงฟันระดับเขต ยิ้มสดใส

การประกวดคู่หูโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เรามีเกณฑ์ของเราเอง ดูกระบวนการ และผลลัพธ์ กระบวนการแบ่งตามเกณฑ์ รพ.ส่งเสริม มีเรื่อง การนำองค์กร การบริหาร การบริหารทรัพยากร และการพัฒนาทัรพยากร นวัตกรรม จัดสิ่งแวดล้อม ... ศูนย์ฯ เขตพยายามที่จะพัฒนาโมเดลของตัวเอง ให้มี effective ในการทำงาน

เครือข่ายเด็กไทยฟันดี เราสร้างระบบการพัฒนาเกิดขึ้น ให้โรงเรียนดีเด่นที่ได้รับการประกาศ สร้างระบบการพัฒนาทีละ 8 โรง ... มี Brand BSES ที่ สสจ. สระแก้วเป็นคนทำให้

ก่อร่างสร้างเครือข่าย โดยใช้กระบวนการของเรา โดยเราเอา รร.ส่งเสริมสุขภาพระดับเขตมา KM กัน และได้ปัจจัยแห่งความสำเร็จ เป็น competency ออกมาว่า โรงเรียนส่งเสริมควรจะมี competency อะไรบ้าง และเป็น guideline ให้กับโรงเรียนเครือข่าย กับเป็นการประเมินด้วย เขาจะได้ทำ gap analysis ให้กับตัวเองได้ว่า self assessment ของตัวเองเป็นอย่างไร อนาคตที่คาดหวังจะเป็นอะไร ก็จะเป็นเครื่องมือที่เป็นการประเมินด้วย และจะมีกำหนดเข็มมุ่ง ตัวชี้วัด กลยุทธ์ และคณะทำงานด้วย

จังหวัดที่มีเครือข่ายแล้ว คือ นครนายก ฉะเชิงเทรา สระแก้ว จันทุบรี อนาคตจะเป็นระยอง ชลบุรี ตราด

การประกวดแปรงฟัน เป็นโครงการที่ extra ออกมา จะมีจังหวัดที่เข้าร่วมกิจกรรมยกเว้นปราจีน ที่หนึ่งเป็นสมุทรปราการ ที่สองระยอง และชมเชย 2 รางวัล

เรื่องของวัยทำงาน ผู้สูงอายุ

ส่วนใหญ่ ดูเรื่อง โครงการฟันเทียม กับชุดสิทธิประโยชน์ เป็นการนิเทศ ติดตาม กำกับ มีการประกวดผู้สูงอายุฟันดีวัย 80 ปี และโครงการพัฒนารูปแบบการบูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคในช่องปากผู้สูงอายุ กรณีศึกษาอำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด

โครงการพัฒนารูปแบบบูรณาการส่งเสริมฯ กรณีศึกษาอำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด

Concept ผมไปคุยกับเขาในเรื่องอายุค่าเฉลี่ย ฐานประชากรเริ่มเปลี่ยน และคงจะมีชีวิตอยู่อีกนานพอสมควร เพราะฉะนั้น เราจะทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุตรงนี้ ให้เกิดรูปแบบ โดยสามารถเชื่อมต่อกับงานของสำนักฯ ได้ ในเรื่องของระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long term care) ... ทำอย่างไรให้เกิดงานส่งเสริมป้องกัน ป้องกันคือ สิทธิที่ผู้สูงอายุควรจะได้รับ แต่ส่งเสริมสุขภาพคือ วินัยที่ชมรมฯ ต้องทำ ต้องประสานร่วมกัน จึงจะออกมาได้ว่า ผู้สูงอายุจึงจะมีฟันอยู่ยืนยาวชั่วขีวิต

ที่แหลมงอบ มีกิจกรรมลงเต็ม ทั้ง preventive และ promotion ซึ่งพอมันไปด้วยกัน ก็ดีอย่างหนึ่ง คือว่า เหมือนกับเราไม่ได้ผู้สูงอายุทำแต่ฝ่ายเดียว และรัฐ ก็จัด access ให้เขาได้เข้าถึงบริการที่เราเข้าไปดูตรงนั้นด้วย ... ถ้าลงไปในพื้นที่จริงๆ CUP เองก็ออกเชิงรุกในแง่ของการบริการ มีทั้งขูดหินปูน และป้องกันให้กับผู้สูงอายุ รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพในชมรมฯ

กรอบแนวคิดในฝั่ง preventive จะมีกลุ่มเป้าหมายหลักๆ เป็นส่วนของชมรมฯ ตัวของผู้สูงอายุ ครอบครัว ... ตัวของชมรมฯ เอง น่าจะมีให้เขาได้รู้ในเรื่อง การทำความสะอาด ทำอย่างไรให้เขามี plaque ที่เหมาะสม มีอนามัยที่ดี ในเรื่องของโภชนาการ เรื่องของการถ่ายทอดภูมิปัญญา KM ต่างๆ เรื่องของการสร้างกระแส รณรงค์ ก็คือ ภารกิจที่ในส่วนของชมรม

และเพิ่มเติมในส่วนของการตรวจสุขภาพ การเฝ้าระวัง การสนับสนุนทรัพยากร ก็อยากที่จะให้ อปท. รับทราบ ที่จะมาเสริมในเรื่องของทรัพยากรต่างๆ

เรามี workshop ในกลุ่มแกนนำชมรมฯ ใช้กระบวนการ EAP

และจากนั้นก็ขยายผล ให้บทบาท CUP และ PCU ไปขยายผล จาก concept ที่ได้ใน workshop ไปขยายผลสู่เครือข่าย หน้าที่ของเราคือ จัดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไป KM ให้เขา และได้สร้างเครื่องมือการประเมินผลชมรมฯ ประยุกต์ของอาจารย์อุทัยวรรณมาให้แต่ละคนคิดปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้สำเร็จ และเลือกออกมาว่า อันไหน และให้คะแนนว่า ขณะนี้ตัวเองอยู่ที่ตรงไหน ติดตามความก้าวหน้า และขยายงานออกไปสู่จังหวัดอื่น นั่นก็คือ สมุทรปราการ และฉะเชิงเทรา

งานพัฒนาระบบบริการทันตสุขภาพ ทันตสาธารณสุข มีนิเทศติดตามการดำเนินงาน เป็นการนิเทศรวม ใช้งบฯ ร่วมกันในศูนย์ฯ

มีเวทีประชุมวิชาการ "ก้าวต่อไปสำหรับการส่งเสริมทันตสุขภาพ" หรือ "Next Step for Dental Health Promotion" ได้รับความอนุเคราะห์จากท่านที่ปรึกษามาร่วมกิจกรรม มีการทำ KM ในโรงเรียนคู่หู นิทรรศการ จัดมหกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในภาพเขตต่างๆ และมีมหกรรมของชมรมผู้สูงอายุในปีนี้ และมีการนำเสนอการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในช่องปาก ระดับ CUP / PCU

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ปัจจัยภายใน

  • ปรับทัศนคติ และภารกิจการทำงานของทันตบุคลากรโดยมุ่งภารกิจกรมอนามัยเป็นหลัก
  • การใช้ทรัพยากรร่วมกันงานทันตกรรม และงานทันตสาธารณสุข
  • การประสานความร่วมมือ และสร้างสัมพันธภาพระหว่างกลุ่มฝ่ายต่างๆในศูนย์อนามัย
  • การใช้กรอบวิชาการในการทำงาน
  • งบประมาณสนับสนุนเพียงพอ
  • ระยะเวลาเพียงพอเหมาะสม

ปัจจัยภายนอก

  • สัมพันธภาพระหว่างศูนย์เขตและจังหวัด
  • การสื่อสารและประสานงานกับจังหวัด
  • จังหวัดเชื่อถือศูนย์เขต
  • การมีส่วนร่วมกับภาคีทุกฝ่าย
  • แหล่งงบประมาณสนับสนุนโดยตรง

 

 

หมายเลขบันทึก: 305996เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2009 23:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ คุณ หมอ เพื่อน ร่วมทาง

ตามคุณ หมอมาตลอดเส้นทาง

แต่บางบันทึก หมอเลี้ยวโค้งหายไป ตามไม่ทัน

ก็แกะรอยตามหลังครับ

ตามคุณหมอมาเรียนรู้ งานทันต จะได้เอาไปคุยให้ ฝ่าน ทันต ทำงานให้หนักขึ้น

ทุกวันนี้ คนไข้ล้น โรงพยาบาล บางคน มาตั้งห้าครั้งกว่าจะได้ใช้บริการ

เสียเวลา

เสียเงิน

เสียความรู้สึก

สงสารผู้ป่วย และสงสารหมอฟัน ทำไม่ทันจริงๆ ยิ่งตอนปิดเทอม เป็นมหกรรมมาทำฟัน

หมอฟันอยู่ สองคน ผู้ป่วย มากันสิ่สิบ หยิบคิวรอตั้งแตหกโมงเช้า พอไม่ได้ทำฟัน ก็หันมาต่อว่าพนักงานเปลที่อยู่บุญดึก

พนักงานเปล ก็มาบ่นต่อ มาบ่นต่อพอสังเขป อิอิ

อยากไปด้วยจังเลย น้องเบญแบกเป้เหมือนจะไปเข้าค่ายลูกเสือ ที่แท้ก็ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับศูนย์3 นี่เอง

  • P P
  • วันนี้มาเช้าเลยค่ะ ท่าน วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei-- และหนู จ๊ะอู๋
  • เพราะว่าเพิ่งกลับมาจากลำปาง ขาไปจองเที่ยวบินลำปาง แต่ต้องกลับจากเชียงใหม่ เพราะว่า เครื่องไม่ไปลงลำปาง
  • ก็ทำให้เกิดเหตุฉะนี้แล มาถึงบ้านเสียกว่าเที่ยงคืน
  • ... เลยตาค้างอยู่เลยค่ะ
  • ท่าน วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei-- คะ ... ไม่อยากบอกว่า เข้าข้างหมอฟันหรือไม่ (เพราะว่าตัวเองก็เป็น อิอิ) ... แต่ว่า ถ้าทำแต่เรื่องของการรักษาฟัน ก็ไม่มีวันหมดจริงๆ ละค่ะ ถึงเวลาแล้วละค่ะ ที่ต้องเน้นส่งเสริม ป้องกัน ให้มากขึ้นๆ เพื่อที่จะได้มีการรักษาที่น้อยลงไป สามารถทำได้ และปลอดโรคในช่องปากในอนาคตละค่ะ
  • หนู จ๊ะอู๋ ... ไป trip เที่ยวนี้ ได้เรียนรู้ และปรับระบบเยอะแยะมากมาย รอดูความเปลี่ยนแปลงนะคะ (อิอิ ไม่ใช่เปลี่ยน "แปรง") 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท