พันธุกรรม


ศัพท์ทางพันธุกรรม

 

ศัพท์การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรม

     อลลีล (Allele) คือยีนที่ประกอบหรือยีนที่อยู่กันเป็นคู่กันเฉพาะลักษณะหนึ่ง ๆ เป็นยีนที่อยู่บนตำแหน่ง เดียวกันของโครโมโซมที่เป็นคู่กัน เช่น T เป็นแอลลีล กับ t แต่ไม่เป็น แอลลีลกับ S หรือ s ซึ่งควบคุมลักษณะอื่น ลักษณะใดที่ถูกควบคุมด้วยแอลลีลมากกว่า 1 คู่จะเรียกว่า multiple alleles

      Dominant Allele หมายถึงแอลลีลที่แสดงลักษณะให้เห็นได้ทั้งในสภาพที่เป็น homozygote และ heterozygote
      Recessive Allele หมายถึงแอลลีลที่จะแสดงลักษณะให้ปรากฏได้ก็ต่อเมื่อเป็น homozygote เท่านั้น

      แอนติเจน (antigen) โปรตีนบนผิวเซลล์ที่สามารถทำปฏิกิริยากับแอนติบอดีที่เฉพาะกับชนิดของตัวเอง อาจเป็นเชื้อโรคก็ได้

      แอนติบอดี (antibody) โมเลกุลโปรตีนที่สร้างขึ้นมาเพื่อตรวจจับและทำลายแอนติเจนที่มากระตุ้นหรือพลัดหลงเข้ามาในกระแสเลือดหรือภูมิคุ้มกัน

      ออโตโซม (autosome) โครโมโซมภายในนิวเคลียส ยกเว้นโครโมโซมเพศ แต่ละเซลล์ของมนุษย์มี 46 โครโมโซม เป็น ออโตโซม 44 แท่ง อีก 2 แท่ง คือโครโมโซมเพศ

      เผือก (albino, albinism) สภาวะหรือคนที่ไม่สามารถสร้างสารสีชนิดเมลานินที่ตา ผม ผิวหนัง ในมนุษย์เกิดจากพันธุกรรมแบบด้อยบนออโตโซม

      เทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology) การใช้เทคนิคที่ได้จากผลงานวิจัยทางชีวภาพมาพัฒนาผลผลิตต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิต สุขอนามัยและการเกษตร

      เบส (base) ทางเคมีหมายถึง สารที่ทำปฏิกิริยากับกรดแล้วได้เกลือกับน้ำ แต่ในทางพันธุศาสตร์นี้หมายถึงสารประกอบไนโตรเจนชนิดพิวรีนหรือไพริมิดีนที่ทำพันธะกันในสายดีเอ็นเอ หรืออาร์เอ็นเอ เบสของดีเอ็นเอ มี 4 ชนิดได้แก่ อะดีนีน(A) กัวนีน(G) ไซโทซีน(C) และไทมีน(T) เบสของอาร์เอ็นเอมี 4 ชนิด เช่นกัน ได้แก่ อะดีนีน(A)
กัวนีน(G) ไซโทซีน(C) และยูราซิล(U) คำนี้ยังมีความหมายอื่นในสาขาคณิตศาสตร์ อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ

      พาหะ (Carrier) คือ ผู้ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมปกติ แต่มียีนผิดปกติของลักษณะนั้นแฝงอยู่

      ผสมข้าม (cross, crossing) การผสมพันธุ์ระหว่างเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียที่มาจากต่างต้นหรือต่างดอกกัน การผสมของสัตว์เซลล์สืบพันธุ์ต่างตัวกัน

      การโคลน (cloning) กระบวนการผลิตหรือทำซ้ำเพื่อให้ได้สิ่งมีชีวิตตัวใหม่ หรือต้นใหม่ที่เหมือนต้นแบบเดิม

      เซนโตรเมียร์ (centromere) ส่วนของโครโมโซมที่เส้นใยสปินเดิลเข้าเกาะ และเป็นส่วนที่เชื่อมติดต่อระหว่างซิสเตอร์โครมาติด ในช่วงการแบ่งเซลล์ มีอีกชื่อหนึ่งว่า primary constriction

        โครมาติน (chromatin) ก้อนดีเอ็นเอและโปรตีนที่รวมกันเป็นโครโมโซมภายในนิวเคลียส

       โครมาติด (chromatid) แท่งหนึ่งหรือหน่วยหนึ่งในสองหน่วยของโครโมโซมในระยะแบ่งเซลล์ที่มีการสังเคราะห์ดีเอ็นเอเพิ่มเป็น 2 เท่า ทำให้ 1 โครโมโซมมี 2 โครมาติด

      ซิสเตอร์โครมาติด (sister chromatids) โครมาติดที่เกิดจากการสังเคราะห์ของโครโมโซมแท่งเดียวกัน

      Chromosome โครโมโซมคือโมเลกุลดีออกซีไรโบนิวคลีโอโปรตีน อยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ ในระหว่างการแบ่งเซลล์จะมองเห็นเป็นแท่งติดสีเข้ม ในเชิงพันธุศาสตร์โครโมโซมมีหน้าที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรมไว้ในลักษณะของการเรียงลำดับนิวคลีโอไทด์บนดีเอนเอ

      โครโมโซม x (x chromosome) โครโมโซมเพศแท่งยาวในสิ่งมีชีวิตที่เพศเมียมีโครโมโซมเพศเหมือนกัน 2 แท่ง (xx)

 

      วัฎจักรเซลล์ (cell cycle) ระยะต่างๆ ที่พบในการเจริญเติบโตของเซลล์ตั้งแต่อินเตอร์เฟสจนถึงสิ้นสุดไมโตซิส

      โคลน (clone) เซลล์ เนื้อเยื่อ หรือสิ่งมีชีวิตที่เกิดมาจากเซลล์เดียว มีความเหมือนกันทุกอย่าง

      ครอสซิงโอเวอร์ (Crossing over) คือ ปรากฏการณ์ที่โครมาติดของโครโมโซมเส้นหนึ่งแลกเปลี่ยนกับโครมาติดของโครโมโซมอีกเส้นหนึ่ง ซึ่งเป็น
โฮโมโลกัสกัน

      เด่น (dominance) ปรากฏการณ์ที่แอลลีลหนึ่งสามารถแสดงฟีโนไทป์ออกมาโดยสามารถข่มหรือบดบังการแสดงออกของอีกแอลลีลหนึ่งได้ เมื่อพันธุกรรมหนึ่งนั้นเป็นเฮทเทอโรไซกัสแล้วและมีโอกาสปรากฏในรุ่นต่อมาเป็นสัดส่วนมากกว่า เขียนด้วยตัวย่อภาษาอังกฤษตัวใหญ่แทนยีนเด่น เช่น สูง ถนัดมือขวา

      ด้อย (recessive) คำที่ใช้เรียกแอลลีลที่ไม่สามารถแสดงลักษณะออกมาเมื่ออยู่ในจีโนไทป์ที่เป็นเฮทเทอโรไซกัสกับอีกแอลลีลหนึ่ง

      ลักษณะเด่นสมบูรณ์ (Complete dominance) หมายถึงลักษณะที่แสดงออก (phenotype) ที่ gene เด่นสามารถข่ม gene ด้อยได้อย่างสมบูรณ์

      ข่มไม่สมบูรณ์ (incomplete dominance) การแสดงออกของพันธุกรรมที่แอลลีลหนึ่งไม่สามารถข่มอีกแอลลีลหนึ่งได้

      ลักษณะเด่นร่วม (Co-dominant) หมายถึง ลักษณะทางกรรมพันธุ์ที่ gene แต่ละยีนที่เป็นแอลลีล (allele) กัน มีลักษณะเด่นทั้งคู่ข่มกันไม่ลง จึงแสดงออกมาทั้ง 2 ลักษณะ เช่น กรรมพันธุ์ของหมู่เลือด AB

       ดับเบิลเฮลิกซ์ (double helix) รูปแบบการพันเกลียวแบบคู่ขนานกลับหัวท้ายของสายดีเอ็นเอ ที่ค้นพบโดยวัทสันและคริก

       ดิพลอยด์ (diploid) สภาวะของสิ่งมีชีวิตที่แต่ละเซลล์ประกอบด้วยโครโมโซมที่เป็นคู่กัน 2 แท่ง (2 n)

       แฮพลอยด์ (haploid) เซลล์หรือสิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนโครโมโซมครึ่งหนึ่งของปกติ

       ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA fingerprint) โครโมโซมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะแต่ละแห่งของแต่ละคนซึ่งสามารถนำมาวินิจฉัยความเป็นเจ้าของหรือคดีความต่างๆ ได

       วิวัฒนาการ (evolution) กำเนิดของพืชและสัตว์จากบรรพบุรุษที่มีลักษณะโบราณกว่า

       เอนไซม์ (enzyme) โปรตีนที่ทำหน้าที่ควบคุมปฏิกิริยาทางชีวเคมีในเซลล์

       ลูก F1 (first filial generation) ลูกรุ่นที่ 1 ลูกที่เกิดจากการแต่งงานหรือผสมข้ามพันธุ์รุ่นแรกหรือลูกผสม (hybrid) ลูกที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่างพ่อแม่ที่มี
จีโนไทป์ต่างกัน

       ลูก F2 (second filial generation) ลูกรุ่นที่ 2 ลูกที่เกิดจากการผสมภายในลูกรุ่นที่ 1 (ลูก F1) หรือรุ่นหลาน

       จีโนไทป์ (Genotype) หมายถึง แบบของยีนที่อยู่เป็นคู่ ๆ ซึ่งสิ่งมีชีวิตได้รับมาจากพ่อและแม่ มีหน้าที่ควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิตในร่างกาย การเขียนจีโนไทป์ เขียนได้หลายแบบ เช่น TT , Tt , tt , T/T , T/t , t/t

       ฟีโนไทป์ (phenotype) หมายถึง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏให้เห็น เช่น ลำต้นสูงกับเตี้ย

 

       ยีน (gene) เป็นหน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตและถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง เช่น ยีน T, ยีน t , ยีน R , ยีน r

       Polygene หรือ Multiple gene หมายถึง ลักษณะทางกรรมพันธุ์ ที่มียีน (gene) หลายคู่ (มากกว่า 2 alleles) ที่ทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อควบคุม phenotype อย่างเดียวกันจึงทำให้เกิดลักษณะที่มี ความแปรผันกันแบบต่อเนื่องคือลดหลั่นกันตามปริมาณของยีน เช่น ลักษณะความสูงเตี้ยของคน จะมีตั้งแต่สูงมาก สูงปานกลาง เตี้ย

       ลิงค์ยีน (linked gene) คือ ยีนที่อยู่บนโครโมโซมเดียวกัน

       ยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ (Sex-linked gene หรือ x - linked gene) เป็นพันธุกรรมที่ถูกควบคุมโดยยีน  ที่อยู่บนโครโมโซม X แต่ไม่อยู่บนโครโมโซม Y เช่น ยีนที่แสดงสีตาของแมลงหวี่, โรคโลหิตไหลไม่หยุด

       จีโนม (genome) ลำดับ จำนวน และชนิดของยีนที่มีในสิ่งมีชีวิตแต่ละตัว

       จีเอ็มโอ (GMOs) สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงหรือเปลี่ยนแอลลีลพันธุกรรมบางตัว เพื่อนำมาใช้ประโยชน์

       พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) เทคนิคการเปลี่ยนหรือดัดแปลงยีน กลุ่มยีน หรือหน่วยพันธุกรรมในเซลล์สิ่งมีชีวิต โดยการคัดเลือก คัดออก แทรกใส่ หรือตกแต่งดัดแปลงเพื่อให้นำมาใช้ประโยชน์

       แกมมีต (gamete) เซลล์สืบพันธุ์ที่มีจำนวนโครโมโซมเป็นครึ่งหนึ่งของเซลล์ปกติ มนุษย์มีเซลล์สืบพันธุ์สองเพศคือเพศผู้คือ sperm และเพศเมียคือ egg

       รหัสพันธุกรรม (genetic code) กลุ่มรหัสที่มีลำดับเบส 4 ตัวในดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอแต่ละรหัส (โคดอน) ประกอบด้วยลำดับเบส 3 ตัวซึ่งจะทำหน้าที่ดึงกรด
อะมิโนเฉพาะชนิดเข้ามาต่อกันในการสร้างโปรตีน

       พันธุกรรมหรือกรรมพันธุ์ (Heredity) หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง หรือจากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน

       ฮีโมฟีเลีย (hemophilia) คือ โรคพันธุกรรม ซึ่งควบคุมโดยยีนเกี่ยวกับเพศ อาการของ โรคนี้ คือ เลือดจะแข็งตัวช้า

       ลูกผสม (hybrid) ลูกที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่างพ่อแม่ที่มีจีโนไทป์ต่างกัน

       homozygouse เป็นสภาพของสิ่งมีชีวิตที่มียีน 2 ยีนเหมือนกันควบคุมลักษณะหนึ่ง เช่น

   TT = homozygouse  dominant gene (เด่นพันธุ์แท้)
   tt  = homozygouse  recessive gene (ด้อยพันธุ์แท้)

       heterozygouse เป็นสภาพของสิ่งมีชีวิตที่มียีน 2 ยีนแตกต่างกันและควบคุมลักษณะหนึ่ง เช่น  Tt  = heterozygouse  gene (พันธุ์ทาง = hybrid) 

 

       โลคัส (locus) ตำแหน่งที่อยู่ของยีนบนโครโมโซม

        Monohybrid cross หมายถึง การผสมพันธุ์โดยพิจารณาเพียงลักษณะเดียว แต่ถ้าเป็นการผสมพันธุ์
  โดยศึกษาหรือพิจารณาทั้ง 2 ลักษณะควบคู่กัน เรียกว่า Dihybrid crosses

       ออร์แกเนลล์ (organelle) โครงสร้างขนาดเล็กในเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะด้าน ตัวอย่าง ไมโตคอนเดรีย

       อาร์เอ็นเอ (RNA) กรดไรโบนิวคลิอิก สายพอลินิวคลิโอไทด์แตกต่างจากดีเอ็นเอตรงที่เป็นสายเดี่ยวของน้ำตาลไรโบสและเบสไพริมิดีนเป็นชนิดยูราซิลแทนที่ไทมีน แบ่งเป็นไรโบโซมมัล อาร์เอ็นเอ (RNA) เมสเซนเจอร์ อาร์เอ็นเอ (m RNA) ทรานส์เฟอร์ อาร์เอ็นเอ (t RNA) และนิวเคลียร์อาร์เอ็นเอ

       เซลล์ร่างกาย (somatic cell) เซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่มิได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์

       ผสมตัวเอง (selfing) การผสมของเซลล์สืบพันธุ์ภายในต้นพืชต้นเดียวกัน การผสมหรือปฏิสนธิที่เกิดได้เอง

       พงศาวลี,เพดดีกรี (pedegree) แผนภาพแสดงลำดับ ความสัมพันธ์ของบุคคลในตระกูลเดียวกันเพื่อดูการถ่ายทอดพันธุกรรมหรือโรคพันธุกรรมบางชนิด

       พันธุ์แท้ (pure line = bred true) สิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการผสมภายในประชากรเดียวกันมาเป็นเวลานานจนมีจีโนไทป์เป็นโฮโมไซกัสกัน หรือสิ่งมีชีวิตที่มีพันธุกรรมแบบเดียวกันในประชากร

       Locus หมายถึงตำแหน่งของยีนบนโครโมโซม

       มิวเตชัน (mutation) คือ การเปลี่ยนแปลงของยีนที่ผิดไปจากเดิม ซึ่งลักษณะนี้ สามารถถ่ายทอดสืบต่อไปยังรุ่นลูกและรุ่นต่อ ๆ ไป

       ไมโตซิส (mitosis) การแบ่งเซลล์ที่ทำให้ได้เซลล์ลูก 2 เซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซมเท่าเดิม แบ่งเป็นระยะย่อย 4 ระยะคือ โพรเฟส เมตตาเฟส แอนนาเฟส และเทลโลเฟส ตามด้วยไซโตไคเนซิส

       ไมโอซิส (meiosis) การแบ่งเซลล์แบบที่มีการลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง พบในกระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศผู้และเพศเมียในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง หลังจากแบ่งเสร็จแล้วจะได้เซลล์สืบพันธุ์ 4 เซลล์  เพศเมียจะมีเพียงเซลล์เดียวที่พัฒนาไปเป็นไข่ อีก 3 เซลล์จะฝ่อไป

       นิวเคลียส (nucleus) 1. ทางเคมีหมายถึงแกนกลางของอะตอมที่ประกอบด้วยโปรตรอนและนิวตรอน 
2. ทางชีววิทยาหมายถึง ใจกลางของเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสล้อมรอบภายใน เป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรม

       สปีชีส์ (species) ประชากรภายใต้กลุ่มเดียวกันที่สามารถผสมพันธุ์กัน และมีลูกสืบทอดสายพันธุ์ได้โดยไม่เป็นหมัน

       เส้นใยสปินเดิล (spindle fiber) เส้นใยไฟเบอร์ที่สร้างจากการเรียงต่อกันของไมโครทิวบูล พบในช่วงการแบ่งเซลล์ ทำหน้าที่ดึงโครมาติดให้แยกจากกัน ไปเป็นโครโมโซมอิสระในเซลล์ลูก

       ไตรโซมี (trisomy) สภาวะของเซลล์หรือสิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนโครโมโซมเกินมา 1 แท่ง ทำให้โครโมโซมที่เกินมานั้นมี 3 แท่ง

       กรดนิวคลีอิก (Nucleic acid) มี 2 ชนิด คือ
  1. DNA – ทำหน้าที่เป็นสารพันธุกรรม
  2. RNA - ทำหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน
  ส่วนประกอบของ DNA กลุ่มฟอสเฟต น้ำตาลดีออกซีไรโบส เบสไซโตซีน เบสอะดีนีน เบสกวานีน เบสไทมีน

       ไซโกต (zygote) เซลล์ที่เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียเพื่อไปเป็นชีวิตใหม่


 

                   เอกสารอ้างอิง :
     รศ.สุภาพรสุกสีเหลือง. พันธุกรรมและการถ่ายทอด เล่ม 1. กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา 2544 .

    รศ.สุภาพร สุกสีเหลือง. พันธุกรรมและการถ่ายทอด เล่ม2. กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา 2544 .
 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 305538เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2009 13:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีครับคุณ Wanlop  มาขอบคุณที่ให้เกียรติเข้าไปทักทายผมครับ  ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ ที่คุณนำมานำเสนอครับ

 

สวัสดีค่ะ

หนูกำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่พอดีค่ะ

ขอบคุณค่ะสำหรับบทความดีดี

<img style="visibility:hidden;;;" border=0 width=0 height=0 src="http://counters.gigya.com/wildfire/IMP/CXNID=2000002.0NXC/bT*xJmx*PTEyNzMzOTgxNDYxODImcHQ9MTI3MzM5ODIwODM1NCZwPTUzMTUxJmQ9Jmc9MiZvPWRiOThkNjM4ZDZmYTQ3YzhiZmY4/ODQ3OTkxMjE2YzQ1Jm9mPTA=.gif" /><embed src="http://www.xatech.com/web_gear/chat/chat.swf" quality="high" bgcolor="#000000" width="540" height="405" name="chat" FlashVars="id=95071530" align="middle" allowScriptAccess="sameDomain" type="application/x-shockwave-flash" pluginspage="http://xat.com/update_flash.shtml" /><br><small><a target="_BLANK" href="http://xat.com/web_gear/?cb">Get your own Chat Box!</a> <a target="_BLANK" href="http://xat.com/web_gear/chat/go_large.php?id=95071530">Go Large!</a></small><br>

www.akaza.co.cc

ขอบคุณมากค่ะที่ให้คำตอบกับงานที่ทำ

ได้คำตอบเกือบหมดเลยค่ะ

ความหมายกระชับดีครับ กำลังค้นหาอยู่พอดี เว็บอื่นมีคำศัพท์น้อยเกินไป แปะๆๆๆ

ได้รายละเอียดในการทำงานในเรื่องนี้พอดีเลย ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคะ

ขอบคุณมากครับ กำลังศึกษาพอดีเลย ผมอยุม.3 เอง ><

ขอบคุณมากๆเลยครับผมทำรายงานเรื่องนี้เลย

ขอขอบคุณมากๆเลยครับผมกำลังทบทวนความรู้เรื่องนี้อยู่พอดีเลยเนื้อหาเข้าใจง่ายดีครับกระชับได้ใจความดี

ขอบคุณจริงๆค่ะ ทำให้หนูทำการบ้านได้เลยสบายๆ เพราะเหมือนเป็นการสรุปที่คอบคุมที่สุดที่หนูเคยเจอแล้วค่ะขอบคุณค่ะ

ขอบคุณจริงๆค่ะ ทำให้หนูทำการบ้านได้เลยสบายๆ เพราะเหมือนเป็นการสรุปที่คอบคุมที่สุดที่หนูเคยเจอแล้วค่ะขอบคุณค่ะ

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท