โจทย์วิจัย : ๙. ทำวนเกษตรอย่างไรดี



          ที่มาของวนเกษตรคือผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม   คือการปลูกพืชหลายชนิดในแปลงเดียวกัน    ตรงกันข้ามกับการเกษตรเชิงเดี่ยว (monoculture)    ต่อมา ป๊ะหรน หมัดหลี แห่ง จ. สตูล ก็เผยแพร่วิธีปลูกพืชต่างชนิดในหลุมเดียวกันหรือใกล้กัน    ให้เกิดสังคมพืชที่เกื้อกูลกัน   เมื่อวันที่ ๑๕ ส.ค. ๕๒ ผมไปเห็นแม่นิดพ่อเกษม ทำเกษตรผสมผสานโดยวิธีที่กล่าวทั้งสองข้างต้น ที่อำเภออุบลรัตน์ จ. ขอนแก่น 


          ทำให้ได้โจทย์วิจัย เรื่องวิธีปลูกพืชแบบไร่นาสวนผสม   ว่าปลูกพืชต่างชนิดให้เกื้อกูลกันอย่างไร จึงจะได้ผลดี   โจทย์นี้นักวิจัยสามารถแตกออกไปตามภูมิประเทศ    ตามชนิดต้นไม้   ตามวิธีทำการเกษตรผสมผสาน ได้อย่างไน่รู้จบ


          ความงดงามอยู่ที่ มีการทดลองหลากหลายแบบ ที่เป็นของจริงอยู่แล้ว    นักวิจัยแค่ไปเก็บข้อมูล  วิเคราะห์ออกมาเป็นระบบ ก็จะได้ความรู้ที่ผ่านการตรวจสอบทางวิชาการ ช่วยเสริมการปฏิบัติของชาวบ้าน


 

วิจารณ์ พานิช
๙ ก.ย. ๕๒

        
         
            
        

หมายเลขบันทึก: 305481เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2009 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 10:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียนท่านอาจารย์หมอที่เคารพ

          กระผมกำลังทดลองเรียนด้วยตัวเองอยู่ครับผม ในเรื่องของการเกื้อกูลกันในระบบธรรมชาติตั้งแต่ระดับจุลินทรีย์ไปจนถึงนิเวศน์ภาพใหญ่ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของจุลินทรีย์และเห็ดต่างๆ ที่ขึ้นตามแหล่งนิเวศน์ที่มีสภาพกายภาพ ชีวภาพ ที่ต่างๆกันไป ในเชิงกายภาพหรือ microclimate (เช่น แสง ความชื้น ออกซิเจน หรือ ปัจจัยอื่นๆ) ชีวเคมี (กลไก เส้นทาง) ตัวบทบาททางชีวภาพ (จุลินทรีย์ แบคทีเรีย เห็ด รา ยิสต์) ปฐพีศาสตร์  (กายภาพดิน เคมีดิน และทางจุลินทรีย์ดิน รวมทั้งสารซับเตรทต่างๆในระบบนิเวศน์) กระผมก็ลองไปเรื่อยๆ กำลังสะสมข้อมูลจากเชิงประจักษ์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ เพื่อสร้างภาพในใจและหาวิชาการหรือเชิงทฤษฎีมามาประกบ นอกจากนี้ กระผมสนใจหาของป่ามาปลูกในสวนกระผมด้วย จะใช้หลัก system thinking and perspective ดู ครับผม กระผมคิดว่าน่าจะนับสิบๆปี ในการวิจัยด้วยตัวเอง และการใช้เวลาสะสมข้อมูลจากเกษตรกร กลุ่มปราชญ์ต่างๆด้วย  กระผมพยายามกระเทาะความรู้ที่เกิดในธรรมชาติ  เพื่อต่อยอดบนฐานทรัพยากรท้องถิ่นเรา ซึ่งมีมากมายมหาศาลที่เรายังถอดชุดความรู้จากธรรมชาติไม่ได้ แม้งานวิจัยส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยไม่ค่อยกล่าวถึงมากนัก แต่กระผมจะพยายามไม่ทิ้งความฝันเพราะเมื่อทำเสร็จมันมักจะใช้ได้จริงๆ ลองผิดลองถูกแล้วสรุปบทเรียน สร้างจินตมยปัญญาจากทั้งเชิงประจักษ์ทั้งวิชาการ จากเหตุไปสู่ผล จากผลไปสู่เหตุ คิดย้อนไปย้อนมาหลายตลบ จากสมมุติฐานจากสิ่งที่เห็นและเป็นอยู่ ตอนกระผมเป็นนักเรียนทุน คปก. ที่เคยทำวิจัย เรื่องน้ำหมักชีวภาพกับการเจริญเติบโตพืช กระผมใช้เวทีนี้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงๆด้วย แม้มาทำงานเป็นอาจารย์ก็ยังตามงานนี้อยู่ด้วยปฏิบัติเอง เวลาอาจจะจำกัดและใช้ไปทำอย่างอื่นก็มาก แต่กระผมไม่เคยทิ้งความฝันนี้ มันทั้งสนุก ตื่นเต้น ท้าทาย เพราะเวลาเบื่อโลกที่หมุนด้วยความคิดและความอยากที่มีอัตตาสูง กระผมก็มาทำงานที่ตัวเองรักอย่างสงบๆในสวนที่มีชีวิตชีวา หวังว่าระยะยาวจะมีอะไรที่ดี ทิ้งไว้ให้โลกบ้าง ดีกว่าหายใจทิ้งกับมายาไปวันๆครับผม เพื่อหวังว่าชาตินี้กระผมจะมีอะไรที่เป็นสิ่งดีๆให้แก่โลกบ้าง เพื่อคุณค่าของการเกิดเป็นมนุษย์หน่อยและไม่เสียชาติเกิดครับผม

ด้วยความเคารพครับผม

 นิสิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท