บทบาทของครูที่เปลี่ยนไป


        ผมอ่านข้อเขียนเรื่อง "Learning Gallery เยี่ยม สคส."  ของคุณแอนน์ (สคส.) แล้ว เกิด "ติดใจ" ในเรื่องบทบาทของครูที่ต้องเปลี่ยนจาก Teacher มาเป็น Assessor และ Developer ...แต่อาจจะเป็นเพราะผมมีอคติกับคำว่า Developer/Development ...อันเนื่องมาจากผล (ที่ไม่พึงประสงค์) ของ "การพัฒนา" ที่ผ่านมาในช่วงหลายสิบปีนี้

        ผมจึงอยากจะมองผ่านเลนส์ KM ว่า ถ้าเพียงแค่ครูรู้จักใช้กระบวนการ KM และทำตัวเป็น "ผู้เอื้ออำนวย" การเรียนรู้ คือเป็น Facilitator ที่สามารถ "กวน" และ "กระตุ้น" ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ โดยที่ครูเองต้องไม่ลืมเป้าหมายใหญ่ ("หัวปลา") ว่ากำลังจะพัฒนาเด็กไปทางไหน ...จะให้เด็กเก่งอย่างเดียว หรือว่าเก่งด้วยดีด้วย มีความสุขด้วย "หัวปลา" ต้องชัดจะได้ไม่ไปผิดทาง

       นอกจากนั้นบรรดาครูอาจารย์ทั้งหลาย จะต้องไม่ลืม "เก็บเกี่ยว" สิ่งที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว สร้างเป็น "คลังความรู้" ("หางปลา") ในเรื่องนั้นๆ เอาไว้ด้วย หากทำได้แค่นี้ ผมถือว่าน่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในวงการศึกษาไทยแล้วครับ

หมายเลขบันทึก: 30544เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2006 08:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ  ที่ครูต้องทำตัวเป็น "facilitator" เพราะนั่นเป็นวิธีการสอน แบบ "child/student centered"  ครูที่เป็น facilitator ต้องเหนื่อย ลงทุนลงแรงอย่างเอาเรื่องทีเดียวล่ะค่ะ ในการเตรียมแต่ละ lesson plan เอาแบบคร่าวๆ ละกันนะคะ

  • ว่ากันตั้งแต่ทำไมต้องให้เด็กเรียน บทนี้ เรียนแล้วจะได้อะไร
  • ต้องรู้พื้นฐานของเด็ก กับเรื่องที่จะทำให้เด็กได้เรียนรู้เนื้อหาของบทเรียนที่เหมาะสมกับการรับรู้ของเด็ก ซึ่งปรับลด/เพิ่มตามความเหมาะสม ต้องสังเกตในขณะที่เด็กเรียนรู้
  • เตรียมหลายหลาย กิจกรรม (hand-on) ที่จะทำให้เด็กได้ทั้ง play + learn = เพลิน เพื่อให้เด็กเรียนรู้ และสำหรับเช็คความเข้าใจของเด็ก  จากการที่เด็กแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากกิจกรรม จากเพื่อน (pairwork, groupwork) แขกรับเชิญ visual aid
  • สุดท้ายเป็นกิจกรรมที่ขาดไม่ได้ คือ กิจกรรมที่เด็กจะถูกประเมินว่าเขาได้เรียนรู้ ตามที่ facilitatorได้ plan ไว้หรือไม่
  • แล้วก็ note ๆ ไว้ เพื่อมา share กับเพื่อน ครูด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนวิธีการ กิจกรรม พฤติกรรมเด็ก กับบทเรียนเรื่องโน้น เรื่องนี้

สนุกมากค่ะ เวลาอยู่ในชั้นเรียนกับเด็กๆ แต่ทุกครั้งที่ เตรียม lesson plan ใช้พลังเยอะจริงๆค่ะ ....ขอบอก!!! : )

 

จุมพฏ (อดีตครูเหมือนกันครับ)

เห็นด้วยเรื่อง facilitator ครับ แต่อยากจะเพิ่มเติมอีกอย่างคือการที่ครูควรจะรู้จักตัวตนที่แท้ของตนเอง และควรจะ "เป็น" ในสิ่งที่ตนเองสอน ครูบางคนสามารถเป็น facilitator ชั้นดี แต่ไม่สามารถเป็นต้นแบบที่ดีให้กับผุ้เรียนได้ ยกตัวอย่างเช่นครูวิทยาศาสตร์ ในความเป็น facilitator ท่านอาจจะไม่บกพร่อง แต่ในความเป็น "นักวิทยาศาสตร์" ท่านอาจจะไม่ใช่ ซึ่งทำให้ท่านอาจจะขาดพลัง หรือขาดลักษณะที่จะเป็นแบบอย่างในฐานะนักวิทยาศาสตร์ที่จะเป็นแรงกระตุ้นให้กับผู้เรียนในฐานะคนต่อคน วิชาต่อวิชา ไม่ใช่ในฐานะผู้จัดการความรู้  ผมคิดว่าครั้งหนึ่งเราเคยใช้ระบบการศึกษาที่สุดขั้ว โดยการให้เจ้าของวิชามาสอนโดยที่ไม่สนใจว่าเขามีวิธีการสอนหรือไม่ แต่ในขณะนี้เราก็กำลังสุดขั้วไปอีกข้างโดยการเน้นไปที่ระบบวิธีการสอนมากกว่าการเป็นเจ้าของวิชา กลายเป็นว่าครูแต่ละท่านสอนวิชาอะไรก็ได้ อ่านหนังสือจบเล่มก็ไปสอนได้เลย มันทั้งไม่มีพลังและเป็นการดูถูกวิชามากเกินไป  เคยพบกับนักการศึกษาระดับปริญญาโทด้านการสอนคณิตศาสตร์ซึ่งท่านรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์ แต่รู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์น้อยมากคือรู้เฉพาะเท่าที่อยู่ในบทเรียนเท่านั้นเอง ไม่ต้องพูดถึงการเอาคณิตศาสตร์นอกบทเรียนมาใช้ แค่เจอลูกพลิกแพลงท่านก็แทบแย่แล้ว ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ผมเห็นก็คือทำให้การออกแบบสื่อ หรือกระบวนการสอนของท่านถูกจำกัดอยู่เฉพาะสิ่งที่ท่านรู้ ซึ่งถึงแม้จะดูเผินๆ เหมือนว่าจะสนุก แต่ผมมองว่าเป็นคณิตศาสตร์ที่ไม่มีพลังและน่าเบื่อเอามากๆ

ขออนุญาติ share ต่อนะคะ  คิดว่าอันนี้คงต้องโยงไปเรื่อง Pre-Assessment ของครู ตั้งแต่ตอนที่รับครูเข้ามาร่วมทีมงานมั๊ยคะ Assessment นี้ ทีมบริหารของโรงเรียนต้องกำหนดเพื่อ put the right man to the right job แต่ถ้าทำๆไป ในทีมงานครูที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างสมำเสมอ อาจมีครูที่มีความสนใจอยาก rotate ไปลองวิชาอื่น  เนื่องจากตนเองมีพื้นฐานอยู่และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูในวิชาที่ขอ rotate ไป ก็ถือว่าเป็นการพัฒนาอีกรูปแบบหนึ่งของครู แต่คงต้องมีการ coaching หรือ team-teaching แล้ว ให้เป็น substitutor ก่อนในช่วงแรก แล้วทำ Assessment อีกครั้ง เพื่อขอ rotate ได้ค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็คงต้องขึ้นอยู่กับ ความพร้อมของโรงเรียนที่จะสามารถให้โอกาสครูได้ขนาดไหนค่ะ

 

ขอเอาใจช่วยคุณครูค่ะ

เรามักจะติดอยู่กับ"กับดัก" เดิมๆ แต่ไปไม่ถึงดวงดาวซะที

คุณครูจะเป็นคุณอำนวยได้ต้อง ออกแรงเยอะมาก แต่ครูก็จะได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ และทำได้ดีขึ้นในครั้งต่อๆ ไป

ครูหลายคน นึกถึง "content" มากกว่า "ผู้รับ"

Teacher ยังคงต้องเป็น Teacher

เพราะจิตใจเขาต้องเป็นผู้ให้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เต็ม

และประบปรุงตัวเองอยู่เสมอ

เห็นด้วยกับคุณครูจุมพฏนะคะ  ที่ว่าคุณครูจะต้องรู้จักตัวตนของตัวเอง  และ"เป็น"ในสิ่งที่ตัวเองสอน  คุณครูก็จะมีความสุขในงานที่ตัวเองทำ ซึ่งจะส่งผลไปถึงเด็ก  เราจะให้เด็กมีความสุขในสิ่งที่เขาเรียนได้อย่างไร ถ้าผู้สอนยังไม่เห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ให้คุณค่าและให้ความสุขกับคุณครูเลย

เชื่อมั่นว่า อีกไม่นานหรอกค่ะ เราจะได้เห็นเด็กได้เรียนแบบ Play+Learn เพราะทุกวันนี้มีคุณครูที่ได้พัฒนาตัวเองไปมากแล้ว ซึ่งนั่นจะเป็นพลังขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่ค่ะ

อ่านแล้วได้รับรู้ถึงจิตวิญญาณความเป็นครูที่แล้วจริง ถึงไม่ได้เป็นครู  แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อบทบาทวิทยากร(จำเป็น) ของตัวดิฉันเองได้มากเลยค่ะ ขอบคุณทุกท่านที่กรุณา ลปรร.ค่ะ

 KM           ถ้ารู้จักใช้กระบวนการ KM  การเรียนรู้    ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ โดยที่ครูเองต้องไม่ลืมเป้าหมายใหญ่ ("หัวปลา") ว่ากำลังจะพัฒนาเด็กไปทางไหน ...จะให้เด็กเก่งอย่างเดียว หรือว่าเก่งด้วยดีด้วย มีความสุขด้วย "หัวปลา" ต้องชัดจะได้ไม่ไปผิดทาง

       นอกจากนั้น จะต้องไม่ลืม "เก็บเกี่ยว" สิ่งที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว สร้างเป็น "คลังความรู้" ("หางปลา") ในเรื่องนั้นๆ เอาไว้ด้วย เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในวงการศึกษาไทย

          ขอบคุณอาจารย์   ครับประทับใจมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท