“เมื่อรายการเด็กคิดเล็กไม่ได้”


“เมื่อรายการเด็กคิดเล็กไม่ได้”

                ในวันที่ 10 กันยายน 2552  มีการประชุม TV for kids ที่จัดขึ้นบริเวณ TK park central would สิ่งที่สร้างความประทับใจเป็นอย่างมากต่อผู้ที่ได้เข้าร่วมการประชุมสิ่งหนึ่งก็คือ   การบรรยายเรื่อง “ถอดรหัสจากแผ่นฟิล์ม” การตีความภาพยนต์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ  โดย  คุณทิชา  ณ  นคร  หรือ  ครูมลจากบ้านกาญจนาภิเษก  ครูมลได้ใช้ภาพยนตร์เป็นสื่อในการที่จะสอนให้เด็กรู้จักคิด  เข้าใจคนอื่น  และรู้จักที่จะคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากผลของการกระทำของตนเอง  โดยใช้ภาพยนตร์เป็นสื่อ  ท่านจะให้เด็กๆ  ที่อยู่ในบ้านกาญจนาได้ดูภาพยนตร์ แล้วตั้งคำถามให้เด็กตอบว่า  ตัวละครในเรื่องทำถูกหรือไม่  แล้วเขาสมควรที่จะได้รับผลของการกระทำนั้นหรือไม่  เป็นต้น  ซึ่งมีความสอดคล้องกับหลักของพัฒนาการมนุษย์  เนื่องจากเด็กที่อยู่ในวัยรุ่นนั้นสมองส่วน  prefrontal  cortex นั้นยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์  ซึ่งสมองในส่วนนี้มีหน้าที่หลักในการที่จะแยกแยะถูกผิด  การที่จะควบคุมการกระทำของตนเอง  และการที่จะทำนายผลของการกระทำ  ดังนั้นหากเด็กในวัยนี้ได้รับการฝึกฝนให้รู้จักคิด  และแยกแยะผิดถูกได้ด้วยตนเอง  จะส่งผลให้ช่วยในเรื่องของพัฒนาการเกี่ยวกับสมองส่วนนี้ได้ดียิ่งขึ้น  และยิ่งเด็กได้รับการสอนด้วยวิธีที่ให้รู้จักคิดเอง  ไม่ถูกบังคับ  โดยการใช้ภาพยนต์ที่เป็นสิ่งดึงดูดใจให้เด็กๆ  มีความอยากที่จะดู  อยากที่จะศึกษาและร่วมกิจกรรมที่ผู้ใหญ่จัดไว้ให้  ยิ่งจะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ  พ่อแม่บางคนอาจใช้วิธีการบอกกล่าว  สอนให้ว่าอะไรไม่ดี  อะไรไม่ควรทำนั้น  ทำให้เด็กไม่ได้รู้จักคิดเอง  ไม่ได้ฝึกฝนสมองส่วน higher function นี้  และการที่เด็กได้เห็นภาพ  ได้เห็นสถานการณ์ที่เหมือนจริง  ก็ทำให้เด็กเข้าถึงและเกิดความเข้าใจในโลกและชีวิตได้มากกว่า 

                จากกรณีของครูมลนี้ทำให้เราต้องตระหนักว่าจริงๆ แล้ว  สื่อโทรทัศน์  หรือ ภาพยนตร์ ก็ไม่ได้มีแต่ข้อเสียเสมอไป  หากแต่ขึ้นอยู่กับผู้ที่จะนำสื่อมาใช้ว่าจะใช้สื่อไปในทิศทางใด  บางครั้งนอกจากเราจะมัวพะวงว่าผู้ผลิต  ผลิตอะไรออกมาให้เด็กดู  เราอาจต้องมาคำนึงถึงว่า  เราให้เวลาในการที่จะอยู่เป็นผู้ปกครอง  ผู้ให้คำแนะนำ  และคอยอยู่เคียงข้างระหว่างทางที่เด็กกำลังใช้ความคิด  กำลังวิเคราะห์หรือประเมินสิ่งที่ตาเห็นและสิ่งที่ได้ยินไปในทิศทางใด  ผู้ใหญ่อย่างเราทุกคนมีหน้าที่ไม่ใช้การปกป้องไม่ให้เด็กเจอกับสิ่งเลวร้าย  แต่เป็นผู้คอยชี้แนะแนวทางให้เด็กเรียนรู้ที่จะคิด  เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา  เรียนรู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด  และเข้าใจถึงความรู้สึกของคนอื่นซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กต้องเรียนรู้และเข้าใจมันด้วยตนเอง  จึงจะสามารถนำมาใช้เพื่อการดำรงชีวิตต่อไปในอนาคตโดยไม่ก่อปัญหาต่อสังคม  และเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างสิ่งดีๆ ให้สังคมต่อไป

โดย  นางสาวอุสา  บุญเพ็ญ

รหัสประจำตัว  5236722

คำสำคัญ (Tags): #human development
หมายเลขบันทึก: 305239เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2009 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท