Visual Culture


Visual Culture

เป็นบทความที่เรียบเรียงจากชั้นเรียนวิชาสัมนา สมัยศึกษาในระดับ ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช่วงปี 2546 ครับ

Visual  Culture

คือศาสตร์ใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้นมาในโลก เป็นการเรียนรู้ มองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวไม่เฉพาะแค่ศิลปะเท่านั้น (ถือเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กับตัวเอง รับรู้ในศาสตร์และศิลป์ใหม่ๆ - ผู้เรียบเรียง) คำว่า Visual  แทนค่าของศิลป์ ( Art)  และ  Culture  แทนค่าของประวัติศาสตร์ (History) 

ประวัติศาสตร์ศิลป์มีอายุประมาณ 100 ปี  ที่มาของประวัติศาสตร์ศิลป์ มาจาก Hegal  ชาวเยอรมัน  ได้เขียนตำราชื่อ สุนทรียศาสตร์ ซึ่งเป็นต้นตำรับของศิลป์  ทฤษฎีของการแยกระหว่าง Fine Art  กับ Apply  art   มาจากสุนทรีย์ศาสตร์ 

HEGAL แสดงทรรศนะว่าประวัติศาสตร์ศิลป์มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ศึกษาประวัติศาสตร์และส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง มุมมองนักวิชาการและนักประวัติศาสตร์ มีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่มีความขัดแย้งกันในตัวศิลปะแต่ละอย่าง  และไม่สบายใจที่ประวัติศาสตร์ศิลป์มีความต่อเนื่องไปในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ   Hegal  พยามยามแยกศิลปะของแต่ละชนชาติ เพราะศิลปะแต่ละชนชาติมีความขัดแย้ง  การนำเอาศิลปะมาแยกคุณภาพของคน  HEGAL  ให้ความเห็นว่ายุโรปมีศิลปะที่ดีที่สุด (ผลความขัดแย้งน่าจะมาจากการผสมผสานกันทางวัฒนธรรมในประเทศที่มีพรมแดนติดกัน มีเชื้อชาติมีมีบรรพบุรุษมาจากที่เดียวกัน ส่วนความเห็นในเรื่องการแยกคุณภาพของคน สื่อให้เห็นการมองแบบมุมมองของชนชาวตะวันตก - ผู้เรียบเรียง)   

ปัจจุบันมีการวิจารณ์เกี่ยวกับแบบอย่างการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ว่า  Visual  Culture  เป็นการมองทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นศิลปะไม่เฉพาะวิจิตรศิลป์ (Fine Art)  แต่ยังมองรวมไปถึง Digital  Media,จิตรกรรม,  สถาปัตยกรรม  ศิลปกรรมด้วย  ซึ่งในปัจจุบันต้องศึกษาศิลปะจากสื่อต่าง ๆ ด้วย (ในอดีตการศึกษาเราเน้นแต่การสอนแบบวิชาการบริสุทธิ์ ไม่เน้นการสอนให้มองในวิชาการประยุกต์ - ผู้เรียบเรียง)

คนบางกลุ่มให้ความเห็นว่า Visual  Culture  กำลังจะมาแทนที่ Art  History   เฉพาะคำว่า  visual เน้นไปที่การมองเห็นอย่างเดียว  ไม่ได้พูดถึงการสัมผัสกับอย่างอื่น  ในขณะที่ Art  History พูดถึงเสียงที่สัมพันธ์กับภาพ  การเคลื่อนไหวของปะติมากรรมต่าง ๆ  ดังนั้น จึงมีคนเป็นห่วงว่า Visual  Culture  ไม่สามารถแยกแยะออกได้ว่าอะไรมีคุณค่ามากกว่ากัน  Visual  Culture อาจประนีประนอมยอมรับมากเกินไป (ควรมีการศึกษาในเรื่องนี้ให้รอบคอบ เพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ในมุมมองของผู้รวบรวม มองว่า เป็นไปได้ทั้งสองฝ่าย ขึ้นอยู่กับว่าในสถานะการณ์นั้น Case ที่เรายกขึ้นมาเป็นหัวข้ออภิปรายคืออะไร - ผู้รวบรวม)

การวิจารณ์สังคมในรูปแบบ Post modern  ที่ทุกสิ่งทุกอย่างถูกเปลี่ยนเป็นสภาพไม่มีสิ่งที่สามารถสัมผัสได้จริง  การประเมินคุณค่าของวัตถุต่าง ๆ ว่าอะไรดีกว่ากัน Visual  Culture  อาจยากในการหลักการประเมินคุณค่า  อาจถึงกับสูญเสียเอกราชในเชิงประเพณี (เหมือนกับกรณีที่ กลุ่มคนบางกลุ่มออกมาแสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับการรับเอาธรรมเนียมปฏิบัติทั้งที่ดีและไม่ดีของต่างชาติเข้ามามากจนเกินไป จนทุกวันนี้สังคมเมืองไทยเริ่มเปลี่ยนไปในทิศทางที่เลวร้ายลง ไม่ใช่เป็นเรื่องของใคร แต่เป็นเรื่องทุกๆคน ควรหันมาให้ความสนใจให้มากกว่าที่เป็นอยู่ - ผู้เรียบเรียง)

MEDIUM – MEDIA (เครื่องมือและสื่อ)

เครื่องมือ  ใช้ใน Art  History  ส่วน สื่อใช้ใน Visible culture   ในทางศิลปะเครื่องมือ  หมายถึง สิ่งที่พยายามจะถ่ายทอดออกมาให้คนอื่นรับรู้  เช่น การวาดภาพ 1 ภาพ สีหมายถึงเครื่องมือ  เพราะเป็นสิ่งที่ใช้สื่อภาพออกมาให้ผู้อื่นได้รับรู้ความคิดสามารถเป็นเครื่องมือได้  ทุกสิ่งทุกอย่างที่ใช้สำหรับสื่อสิ่งที่เราประดิษฐ์ขึ้นมาถือว่าเป็นเครื่องมือ

ความเหมาะสมของสื่อต่าง ๆ ในการสื่อสารเนื้อหาสู่ผู้รับ เช่น ใน Web site  ซึ่งเป็นสื่ออย่างหนึ่ง  เนื้อหาของ web site บาง web site  อาจเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับการนำเสนอนั้น ๆ  การจะนำเสนอในแต่ละผลงานต้องเลือกการนำเสนอหรือวิธีการที่จะนำเสนอให้เหมาะสมกับผลงานนั้น (เป็นเรื่องละเอียดอ่อนเพราะในบางประเทศ web ลามกอนาจาร ไม่ถือว่าเป็นสิ่งผิดกฏหมาย  ตัว web เป็นเพียงตัวกลางเท่านั้น ผู้ที่เข้ามาใช้บริการ หรือผู้ให้บริการที่มีเจตนาแอบแฝงต่างหากที่เป็นผู้ตัดสิน - ผู้เรียบเรียง)

Visual  Culture  ไม่จำเป็นต้องเป็น  High – Tech  Media อย่างเดียว  (คนยุคปัจจุบันมักคิดถึงhardware มากกว่าจะมองที่เรียก skillful - ผู้เรียบเรียง) สามารถเป็นได้ในสื่อทุกชนิด Visual  Culture กับ Visible Culture  เป็นวัฒนธรรมรวมที่เข้ามาแทนวัฒนธรรมตัวหนังสือ คือการใช้ภาพในการสื่อสารแทนการใช้ตัวหนังสือ  ภาพของ Visual  Culture คือการรวมทุกสิ่งทุกอย่างเป็นภาพ  สื่อออกมาด้วยภาพ  ซึ่งอาจเริ่มจะมีจุดเริ่มต้นจากภาพวาดในอดีต แต่พึ่งจะมามีบทบาทจริงๆ เอาเมื่อใน ค.ศ.ที่ 20

สื่อมีความหมายที่แตกต่างออกไป เนื่องจากการสื่อหมายถึง Digital Media ในยุคปัจจุบันนี้ เป็นการใช้วัสดุสมัยใหม่ในการสื่อ เช่น Internet   ใช้เงินในการลงทุนน้อย แต่มีประสิทธิภาพสูงในการนำเสนอ อีกทั้งเป็นสื่อที่นำเสนอไอเดียของคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สามารถสื่อให้ผู้คนทั่วโลกได้เห็นไอเดียของเรา และสามารถสื่อได้เร็วมากขึ้น แต่การสื่อสารทาง Internet  ก็มีข้อเสียคือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอาจลดน้อยลง (บางคนอาจไม่รู้จักหน้าตาที่แท้จริงกันเลยก็ได้ ทำให้มีปัญหาอาชญากรรมแทรกตามมา - ผู้รวบรวม)

New  Media  กับ  Digital  Media  

New Media เป็นการปฏิวัติในการที่จะสื่อสิ่งต่าง ๆ  ให้ผู้คนได้รับรู้  สื่อในปัจจุบันเป็น Digital  Media  แต่ในอดีตการค้นพบสื่อใหม่ ๆ  ก็ถือเป็น new  media ได้เช่นกัน  สำหรับ Art  History  กับ  New Media เกิดขึ้นเพื่อจะสร้างสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา แต่ก็มีแง่คิดให้เราต้องพิจารณ์กัน

ทฤษฎีต่าง ๆ ที่เชื่อมกับ New  Media 

New  Media  ที่เกิดขึ้นมีสองด้านคือ ด้านที่มองไม่เห็นอะไรเลย  กับด้านที่เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน  การนำ e-business  มาเป็นสื่อกลางในการทำการค้าบน Internet  เพื่อสามารถเปิดร้านค้าได้โดยที่เราและลูกค้าไม่ต้องเดินทางมาดูสินค้า  ลูกค้าสามารถเห็นสินค้าได้ทาง Internet  ซึ่งสื่อทาง Internet นี้อาจเรียกได้ว่าเป็น New  Media  ได้เช่นกัน  (ลดต้นทุนเรื่องการจัดทำหน้าร้านและการเดินทาง ที่สำคัญที่สุด ลดเวลาลงได้มาก - ผู้รวบรวม)

เราสามารถกล่าวโดยรวมในภาพของสื่อได้ทั้งหมด แต่เราไม่ได้บอกว่าศิลปะแขนงไหนมีความโดดเด่นกว่ากัน  ดังนั้นเราควรสรุปเป็นกลางว่า ศิลปะกับสื่อต่าง ๆ มีความเกี่ยวข้องกัน   

ศาสตร์ต่างๆ ที่มีใน Media study สามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยได้ดังต่อไปนี้

  1. Art history, Visual culture, Design, Film study ทำให้เรามีทักษะในการวิเคราะห์ในเชิงสายตา ใช้การศึกษา Media เหล่านี้ด้วยสายตา และมีการแทนค่าสื่อต่างๆ ด้วยสัญลักษณ์
  2. Communication พูดถึงด้านทฤษฏีว่ามีการออกแบบอย่างไร ส่วนทางด้าน Mass media ก็เป็นการสื่อสารทางด้านการใช้ TV, วิทยุ  การโฆษณา  ในการสื่อสารสู่คนทั่วไป
  3. จิตวิทยา (เกี่ยวกับทางด้านสังคม) and computer science (เกี่ยวกับเทคโนโลยี)
  4. การศึกษาในกลุ่มสังคมศาสตร์ (ศึกษาในด้านของสังคม ไม่ว่าจะกลุ่มไหนของสังคม) , Individual performanance (การปฏิบัติตัวของบุคคล), มนุษยวิทยา (ศึกษาเรื่องของวัฒนธรรม)มานุษยวิทยา กับ สังคมศาสตร์ ปัจจุบันมีการศึกษาในส่วนที่ใกล้เคียงกันมากขึ้น (บางมหาลัยถือว่าทั้งสองศาสตร์เป็นเรื่องที่มาจากรากฐานเดียวกัน ทำให้ถูกจัดรวมเข้าเป็นคณะเดียวกัน - ผู้เรียบเรียง)
  5. Philosophy  การศึกษาในของภาพในด้านการสื่อสารกับด้านภาษา , การแสดงออกในด้านปรัชญาในการใช้ภาษาในการสื่อสาร
  6. Engineering, Computer, programming  เป็นพวกที่ออกแบบโปรแกรม เกี่ยวกับภาษาศาสตร์ เพราะต้องใช้การสื่อสารในการทำ media

 Plato  เป็นนักปรัชญาเมธีชาวกรีก มีอายุอยู่ในช่วง 2,500 ปีก่อน เขาเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในด้านสื่อหรือ Media เป็นอย่างมากในประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตก หลักปรัชญาของ Plato ที่คนรู้จักมากก็คือ การแยกกันระหว่างร่างกาย กับจิตใจ คือการแยกกันระหว่างโลกที่เราสัมผัสได้ และโลกที่เราสัมผัสไม่ได้

มีนักนักปรัชญาฝรั่งเศสอีกคนซึ่งเกิดหลังยุคของ Plato คือเมื่อประมาณ 1,600 ปีก่อน ได้ให้ความคิดเห็นว่าควรแยกร่างกายกับจิตใจ  (รูปธรรม-นามธรรม, ทฤษฏี-ปฏิบัติ) นั่นก็คือ การมองเห็นความแตกต่าง (Descries)

IMMATERIAL IDEAS      MIND                THEORY           ABSTRACT

PHYSICAL WORLD      BODY               PRACTICE        CONCRETE

ตาม chart ข้างบนนี้ Plato เชื่อว่า idea(ความคิด) อยู่เหนือ physical world  (ธรรมชาติของโลก)ดังนั้น Mind(จิตใจ) อยู่เหนือ Body (ร่างกาย)  Theory (ทฤษฏีหรืสมมุติฐาน)อยู่เหนือ Practice (การปฏิบัติ) และ Abstract (ความไม่มีตัวตน )อยู่เหนือ Concrete (ความไม่มีตัวตน) โลกของความคิดอยู่เหนือโลกของสิ่งที่สัมผัสได้ นี่คือสิ่งที่ Plato เชื่อว่าอย่างนั้น (หลักการบางอย่างใกล้เคียงกับแนวคิดทางพุทธศาสนา - ผู้เรียบเรียง)

สิ่งที่สำคัญอีกอย่างใน Visual culture และ Media study คือ ทัศนะในการมีสัมผัสในการมองเห็น เพราะมันเป็นสัมผัสที่อยู่ใกล้กับสัมผัสของจิตใจ นักปรัชญายังพยายามจะแยกประเภทของสื่อให้ได้ เพื่อที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าสื่อประเภทไหนดีที่สุด ที่จะสามารถสื่อให้คนเข้าใจง่ายที่สุด นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารในรูปของคลื่นที่ผ่านเข้ามาในสมองของคนเรา ซึ่งสามารถเทียบได้กับสื่อเช่นกัน ถือได้ว่าพัฒนาการของเทคโนโลยี ทำให้การสื่อสารมีความรวดเร็วมากขึ้น

สามแนวความคิดระหว่างสื่อและความคิด

  1. สื่อเป็นสิ่งที่เสนอความคิดออกมาให้คนได้รับรู้สิ่งใหม่
  2. ในมุมมองของ Plato นั้นสื่อเป็นตัวที่กีดกันการรับความคิดของคนอื่น (เหมือนการสร้างกำแพงปกป้องตัวเองตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ที่ ฟอรยด์ คิดค้นได้ในอีก 2,000 ปีต่อมา - ผู้เรียบเรียง)
  3. สื่อก็คือความคิด และ ความคิดก็คือสื่อ ฟัง คิด ต้องแยกให้ออกพิจารณาความคิดหรือสิ่งที่ถูกสื่อออกมา

ความคิดแบบ Post modern (Medium is message  and  Message is medium)

            เครื่องมือต้องแยกกับ ความคิด (เพราะความคิดถูกจัดให้อยู่สูงกว่า)  ไม่ได้เป็นสิ่งที่มาคู่กันโดยตลอดเป็นอะไรที่ถูกสื่อออกมาทางเครื่องมือ ผู้รับความคิดจะเป็นผู้บันทึกความคิดจากผู้ส่ง(ไว้ในสมอง) แต่ผู้รับอาจเกิดความคิดใหม่ได้ จากสิ่งผู้ส่งส่งมาให้

โซเครติส อุปมาอุปมัยเปรียบเทียบการใช้สื่อโดยผ่านทางภาษาเขียนว่าเป็นเสมือนยา คือ ถ้าสื่อออกไปในทางดีก็เป็นยาวิเศษ หากสื่อออกไปไม่ดี ก็เทียบได้กับยาพิษ (สุภาษิตไทยที่ว่า พูดดีเป็นศรีแก่ตัว - ผู้เรียบเรียง)

            ยาวิเศษ คือ ทำให้เราสามารถบันทึกสิ่งต่างๆ ที่เราพบเจอ หรือบันทึกสิ่งต่างๆที่เป็นประวัติศาสตร์

            ยาพิษ คือ ทำให้เราไม่ได้ฝึกฝนความทรงจำ ทุกอย่างที่ทำเราต้องจดบันทึก ถ้าไม่ได้บันก็จะลืม

ภาษาเขียนเป็นการสื่อที่มีมานานแล้ว แต่สำหรับ Plato ถือว่าเป็นสื่อใหม่สำหรับเขา (ต้องทำความเข้าใจว่าเพราะยุคของ Plato ห่างจากปัจจุบันนับสองพันห้าร้อยปี - ผู้เรียบเรียง) ความทรงจำเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่ใช้ในการถ่ายทอดสิ่งต่างๆ ที่บรรพบุรุษได้พบเจอมา ไปสู่รุ่นหลังๆ (ความคิด) แต่ความทรงจำที่ถูกถ่ายทอดผ่านทางเครื่องมือเช่น การเขียน ไม่ได้บ่งบอกว่ามันมาจากความคิด  อาจมาจากรากฐานก็เป็นได้

ข้อแตกต่าง คือ การถ่ายทอดสิ่งต่างๆ จากความทรงจำถือว่าเป็นการถ่ายทอดจากความคิดเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก  ส่วนการถ่ายทอดจากการเขียน หรือสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม ไม่ถือว่าเป็นความคิด แต่เป็น เพียงเครื่องมือ คุณค่าของมันจะเทียบไม่ได้กับความคิด ซึ่งจะมาจากความทรงจำ

การพูดที่ดี คือ ต้องมีทั้งผู้พูด และผู้รับ เพราะจะมีการถ่ายทอดความรู้จากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง และจะมีคำถาม เพื่อให้มีการโต้ตอบอีกด้วย การพูด ดีกว่า การเขียน เพราะการเขียนเหมือนเป็นการเอาการพูดมาเขียน แต่ไม่สมบูรณ์แบบเพราะไม่สามารถเค้นเอาสิ่งที่อยู่ในสมองของเราออกมาได้จนหมดสิ้น การพูดใกล้เคียงกับความคิดของผู้พูดมากกว่าการเขียน ในความคิดของโซเครติส (สมองจะพูดได้เร็วกว่าเขียน เพราะไม่ต้องใช้เครื่องมือหรือตัวกลางใดๆ - ผู้เรียบเรียง) ทั้ง Plato และ โซเครติส จะมีความคิดก่อนแล้วค่อยพูดหลังจากนั้นจึงถ่ายทอดออกมาเป็นการเขียน

Theory of sign มี 2 แนวความคิดจาก

  1. Saussure ซึ่งเป็น นักภาษาศาสตร์ ชาวสวิส  สนับสนุนความคิดของ Plato และ โซเครติส เขาแบ่ง sign เป็น Signified ใช้ภาพในการสื่อ เป็น ความคิด,สิ่งที่นึกออกมา  ใช้สัญลักษณ์แทนการใช้สิ่งของ และ Sinifier ใช้ภาษาในการสื่อ (ตัวอักษร) โดยใช้ภาพซึ่งออกมาจากความคิดในการสื่อซึ่งดีกว่าการสื่อด้วยการเขียน ซึ่งทำให้เข้าใจได้ง่ายกว่า
  2. Peirce  ซึ่งเป็น นักปรัชญาชาวอเมริกัน บอกว่าสัญลักษณ์ที่แสดงออกมาต้องทำออกมาให้คนทั้งโลกมีความเข้าใจในแบบเดียวกันมีการแยก สัญลักษณ์ออกเป็น

-          Icon อาจหมายถึง รูป ที่แสดงให้เห็นว่าสิ่งๆ นั้น เครื่องหมายนั้นกล่าวถึงอะไรอยู่

-          Index ต้นเหตุของสิ่งที่มาแทนคำ (ต้นเหตุของสัญลักษณ์ที่เกิดขึ้น) เช่น ควัน เป็น index ของไฟ

-          Symbol ความสัมพันธ์ระหว่างสัญลักษณ์ที่มาแทนค่า กับความหมายของสิ่งๆ นั้น  สัญลักษณ์ที่จะมาแทนค่าต้องมีความหมายด้วย

คำสำคัญ (Tags): #visual culture
หมายเลขบันทึก: 305200เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2009 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 11:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท