รายงานการวิจัยค่านิยมทางจริยธรรมนักศึกษาครู


คุณธรรมจริยธรรมที่ควรปลูกฝังให้กับครู

รายงานการวิจัย 

เรื่อง  ค่านิยมทางจริยธรรมของนักศึกษาครูชั้นปีที่ 2 (หลักสูตร 5 ปี) 

คณะศึกษาศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ผู้วิจัย  นางสาวปัญญฎา  ประดิษฐบาทุกา 

ปีพ.ศ.2548

ทุนสมาคมนักวิจัยแห่งชาติครั้งที่ 3

 

บทคัดย่อ

                   การวิจัยครั้งนี้   มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย  คือ  เพื่อหาระดับค่านิยมทางจริยธรรม 5 ด้านของนักศึกษานักศึกษาครู   และเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสนับสนุนกับค่านิยมทางจริยธรรม 5 ด้านของนักศึกษาครู   โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  นักศึกษาครูชั้นปีที่ 2  (หลักสูตร  5  ปี)  คณะศึกษาศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมที่ศึกษาในสาขาวิชาเอกคณิตศาสตร์   วิทยาศาสตร์   ภาษาไทย   ภาษาอังกฤษ  สังคมศึกษา  ศิลปกรรม   และการศึกษาปฐมวัย   ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้เครื่องมือ  2  ส่วน   ส่วนแรกเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว   และส่วนที่สองเป็นแบบสอบถามค่านิยมทางจริยธรรม   5 ด้านของนักศึกษาครู  ประกอบด้วย   ด้านความเมตตากรุณา   ความซื่อสัตย์   ความขยันหมั่นเพียร  ความมีวินัย  และความอดทนอดกลั้น   และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (Percentage)  ค่าเฉลี่ย  (Mean)   และ (Chi-Square  Test)

                   ผลการวิจัย  ค้นพบดังนี้

                   1.   นักศึกษาครูชั้นปีที่ 2  (หลักสูตร 5 ปี)  มีค่าเฉลี่ยของค่านิยมทางจริยธรรมเท่ากับ  1.7   ถือว่ามีค่านิยมทางจริยธรรมระดับ “ปานกลาง”  

                   2.  ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสนับสนุน   มีความสัมพันธ์กับค่านิยมทางจริยธรรม 5 ด้านของนักศึกษาครูชั้นปีที่ 2  (หลักสูตร 5 ปี)   อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05   พบว่า ด้าน  ความเมตตากรุณา   มี  6  ปัจจัย   ได้แก่   เพศ    สาขาวิชา   ลำดับการเกิด   รายได้ของผู้อุปการะ   อาชีพของบิดา    และการศึกษาของบิดา  ด้านความซื่อสัตย์สุจริต  มี  5  ปัจจัย   ได้แก่   เพศ   สาขาวิชา   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   ลำดับการเกิด   และอาชีพของมารดา   ด้านความขยันหมั่นเพียร    มี  5  ปัจจัย   ได้แก่   เพศ  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   สภาพครอบครัว   ลำดับการเกิด   และการศึกษาของมารดา    ด้านความมีวินัย  พบว่า  มี  3  ปัจจัย   ได้แก่   เพศ   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   และสภาพครอบครัว  และด้านความอดทนอดกลั้น   มี  8  ปัจจัย   ได้แก่   ภูมิลำเนา   สาขาวิชา   สภาพครอบครัว   ค่าใช้จ่ายส่วนตัวของนักศึกษา (ไม่รวมค่าที่พักอาศัย)   การพักอาศัยกับบุคคล     ผู้อุปการะ   รายได้ของผู้อุปการะ   และอาชีพของมารดา

                                                            ด้วยความรักและเมตตา

 

หมายเหตุ  1. ค่านิยมทางจริยธรรมในงานวิจัยนี้  ได้มาจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ถึงได้ตัวแปรที่ดีและน่าสนใจ 

               2. ในการศึกษาหลักของพระพุทธศาสนา เอกสาร  งานวิจัย  และจากประสบการณ์ส่วนตัว เชื่อว่า ความเมตตา เป็นตัวที่สำคัญที่สุด  ดังเช่นคำกล่าวที่ว่า

"เมตตาธรรมค้ำจุนโลก"

 

หมายเลขบันทึก: 304729เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2009 11:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบพระคุณครับ สำหรับ งานวิจัย ดีดี

เรียนท่านอาจารย์jj

กราบขอบพระคุณที่ท่านให้การสนับสนุน และให้กำลังใจ ทำให้งานชิ้นนี้ดูมีคุณค่า และน่าเชื่อถือ เพื่อให้เกิดการพัฒนาสังคมต่อไป

เรียน อาจารย์

ผมเป็นอาจารย์ม.ราชภัฏสุรินทร์ กำลังศึกษาระดับปริญญาเอก สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค อยากร่วมเรียนรู้เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา อยากให้อาจารย์แนะนำแหล่งเรียนรู้ ข้อมูลเพิ่มเติม ขอบคุณครับ

เรียนอ.ประดิษฐ์

ต้องกราบขออภ้ยเป็นอย่างสูง ที่ไม่ได้เข้ามาเช็คคำถามที่อาจารย์ฝากไว้ และเนื่องจากมีภาระงานสอนมาก อีกทั้งต้องควบคุมนักศึกษาทำวิจัย สอนป.วิชาชีพครู และเร่งปิดวิจัยส่วนตัว จึงไม่ได้เข้า gotoknow มานาน และไม่ได้เข้ามาตรวจสอบว่าท่านอาจารย์ได้ฝากข้อมูลไว้

สิ่งที่อาจารย์ฝากข้อคำถามมา ด้วยประสบการณ์อันน้อยนิด อาจจะยังไม่สามารถตอบคำถามได้ดีพอ แต่จะกราบเรียนแนะนำเกี่ยวกับศูนย์คุณธรรม หรือที่สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ที่ตนเองศึกษาอยู่ ก็มีการศึกษาด้านคุณธรรมจริยธรรมเยอะ และคณะจิตวิทยา ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็มีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องคุณธรรมจริยธรรมอยู่มาก

ท้ายที่สุดหวังว่าคงจะพอช่วยเหลืออาจารย์ได้บ้างนะคะ

ด้วยความรักและคอยเป็นกำลังใจ

เมตตาธรรมค้ำจุนโลก นะค่ะ อิอิ

สร้อยหทัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท