เทคนิคการใช้ “ ไมโตฟากัส” กำจัดไรไข่ปลาในเห็ดขอนดำ แบบนพรัตน์ฟาร์มเห็ด


แต่ที่สร้างความเดือดร้อนเป็นอย่างมากคือปัญหาเรื่อง “ไร” โดยเฉพาะ “ไรไข่ปลา” คุณธวัชแจ้งว่าจะพบตั้งแต่เริ่มเปิดหน้าก้อนครั้งแรกเลย ไม่ต้องรอรอบสองหรือรอบสามเหมือนที่ฟาร์มอื่นๆ เขาเจอกัน

 

“นพรัตน์ฟาร์มเห็ด”   บริหารงานโดยคุณธวัช   นพรัตน์  อยู่บ้านเลขที่  80  หมู่ 1 ตำบลป่าคาย  อำเภอ ทองแสนชัน จังหวัด อุตรดิษถ์  53230  เบอร์โทรศัพท์ 089-856-5065 เป็นเกษตรกรที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการเห็ดมาอย่างยาวนาน และได้ศึกษาวิธีการเพาะเห็ดมากมายหลายชนิด เช่น เห็ดหูหนู, เห็ดนางรม นางฟ้า, เห็ดรม เห็ดบด ฯลฯ แต่ความจัดจ้านชำนาญการจนโดดเด่นเห็นได้ชัดเจนก็คือ “เห็ดขอนดำ” ในกลุ่มผู้เพาะเห็ดด้วยกันก็จะมีเสวนาแลกเปลี่ยนข้อมูลให้ความรู้ซึ่งกันและกัน คอยให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ จัดได้ว่าเป็นกลุ่มใหญ่อยู่พอสมควร เพราะ “นพรัตน์ฟาร์มเห็ด” นั้นได้ถูกจัดให้อยู่ในโครงการ “หนึ่งตำบลหนึ่งฟาร์ม” ของรัฐบาลอีกด้วย ซึ่งถือว่าโดดเด่นและมีบทบาทในการเป็นผู้นำด้านการเกษตรในการให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารทางด้านเห็ดในชุมชนแก่ผู้ที่มีความสนใจในการเพาะเห็ด หรือการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษด้านต่างๆ เพราะนอกจากอาชีพเพาะเห็ดแล้วคุณธวัชยังทำนาข้าวควบคู่ไปด้วยช่วยกันหารายได้เพิ่มเข้ามาอีกทางหนึ่ง

 

ปัจจุบันคุณธวัชยังคงทำการเพาะเห็ดขอนดำอยู่ โดยใช้ก้อนเชื้ออยู่ประมาณ 3,200 ก้อน ภายในโรงเรือนขนาดย่อมๆ ประมาณ 4.5 X 6 เมตร ไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไป ทำการจัดเรียงหน้าก้อนในลักษณะรูปตัว A หลังจากที่หมักบ่มก้อนเชื้อจนได้ที่แล้ว (คือให้เส้นไยเดินจนเต็มก้อนประมาณ 25 – 30 วัน) จึงนำมาใส่ไว้ในโรงเรือนและเปิดหน้าก้อน หมั่นเฝ้าดูแลอุณหภูมิในช่วงนี้ให้อยู่ระหว่าง 20 – 30 องศาเซลเซียส เพื่อเลี้ยงดูทะนุถนอมเส้นไยให้เจริญเติบโตตามแบบและเทคนิคของคุณธวัชเอง โดยจะอยู่ที่ประมาณ 25 วันแล้วจึงจะมีผลผลิตรุ่นแรก แรกรุ่นออกมาให้ทำการเก็บเกี่ยว ถ้าปล่อยให้อุณภูมิสูงมากไปกว่านี้เส้นไยจะเดินเร็วเกินไป จะส่งผลทำให้หน้าก้อนเละมีผลเสียมากกว่าผลดี ผลผลิตก็น้อยกว่า คุณธวัชกล่าวไว้อย่างนั้น

หลังจากนั้นการดูแลรักษาอุณหภูมิในขณะที่มีดอกเห็ดจะอยู่ที่ 25 – 35 องศาเซลเซียส (ตามเทคนิคของคุณธวัชเอง) ผลผลิตที่ออกมาจะนับเป็นรุ่น ๆ ไป รุ่นหนึ่งก็จะเก็บได้ประมาณ 70 -80 กิโลกรัม ราคาเห็ดขอนดำหน้าฟาร์มที่คนซื้อมารับถึงที่อยู่ที่ 90 บาท แต่ถ้าพ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อแล้วนำไปขายต่อจะอยู่ที่ 120 – 150 บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นราคาที่ดีมากพอสมควร หลังจากเก็บเห็ดเบ็ดเสร็จในแต่ละรุ่นแล้ว ก็จะทำการพักหน้าก้อนนอนรอต่อไปอีก  5 - 7 วัน ระหว่างนี้ก็จะทำความสะอาดหน้าก้อน โดยใช้ปลายของด้ามช้อนล้วงแคะแกะเกาเอาเศษซากของเห็ดเก่าออกจนครบกำหนดจึงค่อยทำการกระตุ้นเส้นไยใหม่ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนอาหารหมดก้อน แล้วค่อยโละทิ้งและเปลี่ยนก้อนใหม่เข้าไปแทนที่ต่อไป

 

ปัญหาสารพันของเห็ดขอนดำก็เป็นเรื่องของเชื้อรา ที่ตั้งหน้าตั้งตาท้ารบกับผู้เพาะเห็ดทุกคน จนต้องทำให้คุณธวัชนำ บีเอสพลายแก้ว ตัวเก่งเข้ามาจัดการ ส่วนเรื่องหนอนแมลงหวี่ก็จะใช้ เชื้อบีทีชีวภาพ หมักขยายอัดฉีดเข้าไปเพื่อตัดวงจรของแมลงหวี่ และใช้แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ดในการกระตุ้นเส้นไยภายในก้อนและบำรุงให้ดอกเห็ดให้อวบอ้วนสมบูรณ์  ในกระบวนการผลิตทั้งหมดส่วนใหญ่คุณธวัชจะจัดการดูแลได้สบายไม่มีปัญหา แต่ที่สร้างความเดือดร้อนเป็นอย่างมากคือปัญหาเรื่อง “ไร” โดยเฉพาะ “ไรไข่ปลา” คุณธวัชแจ้งว่าจะพบตั้งแต่เริ่มเปิดหน้าก้อนครั้งแรกเลย ไม่ต้องรอรอบสองหรือรอบสามเหมือนที่ฟาร์มอื่นๆ เขาเจอกัน ของคุณธวัชนี้คือเปิดหน้าก้อนมาก็พบปัญหานี้เลย “ไรไข่ปลา” ( Luciaphorus sp. ) นั้นจะมีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจะต้องใช้แว่นขยายมาส่องจึงจะมองเห็น โดยในสภาพธรรมชาติจะเป็นจุดเล็ก ๆ ขาวใส เมื่อแก่จะออกเหลืองกระจายอยู่เต็มไปหมดทั่วทั้งก้อน มีวงจรระยะไข่ ถึง ตัวแก่ สั้นมาก เพียงแค่ 4 – 5 วัน จะพบตัวเมียมากกว่าตัวผู้ถึง 4 เท่า โดยตัวเมียยังสามารถขยายพันธุ์ต่อด้วยการออกไข่และเป็นตัวได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์กับตัวผู้ ทำให้ไรเกิดการระบาดได้อย่างรวดเร็วรุนแรง โดยเฉพาะในระยะที่กำลังสร้างเส้นไยหรือในช่วงที่เส้นไยกำลังเจริญเติบโตแผ่นขยายออกไป ตัวไรจะกัดกินเส้นไยจนฉีกขาดออกจากกัน จนเห็ดไม่ออกดอกเกิดความเสียหายมากมาย

ปัญหาจากไรอีกส่วนหนึ่งก็คือการสร้างความเดือดร้อนรำคาญ ปั่นป่วน ในกระบวนการผลิต เช่น ตัวไรที่โตเต็มวัยมักจะไต่ไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในช่วงที่ต้องเข้าไปทำกิจกรรมในโรงเรือน เช่นเมื่อถึงเวลาทำความสะอาด, ฉีดพ่นสมุนไพร หรือจุลินทรีย์ปราบเชื้อราต่างๆ  หรือในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตก็ตาม ล้วนแต่ได้รับปัญหาจาก “ไร” ตลอดมา  เมื่อคุณธวัชได้ทราบว่าชมรมเกษตรปลอดสารพิษมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้กำจัดไรชื่อว่า “ไมโตฟากัส” จึงได้ทำการสอบถามข้อมูลและสั่งซื้อนำไปใช้ ทำให้ปัญหาดังกล่าวนั้นหมดสิ้นไป ในระยะปรกติก็ใช้วิธีการหมักขยายตามที่ได้อ่านจากฉลากข้างบรรจุภัณฑ์หรือตามคำแนะนำที่นักวิชาการของชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้บอกไว้ แต่หลังจากใช้ไปได้ระยะหนึ่ง ก็ได้สังเกตุและอาศัยความรู้จากประสบการณ์ก็ห็นว่า การใช้ “ไมโตฟากัส” แบบหมักขยายจะให้ผลลัพธ์ที่ช้ากว่า จึงได้ทดลองใช้  “ไมโตฟากัส” 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเลยทันที ผลปรากฎหลังจากที่ฉีดพ่นไปในวันแรกแล้วทิ้งไว้ 1 คืน เช้าตื่นขึ้นมาดู ก็จะพบว่า ไรไข่ปลาจะฝ่อแห้งตายในทันที วิธีการดังกล่าวของคุณธวัช นพรัตน์ นั้นก็มิได้หวงแหนเก็บไว้ใช้คนเดียว  ใครจะนำไปดัดแปลงต่อยอดก็ไม่มีปัญหา ถือว่าเป็นวิทยาทานแก่พี่น้องในวงการผู้เพาะเห็ด

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 304512เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2009 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท