แนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้ การอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน


แนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้ การอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน
     การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เป็นปัญหาสำคัญในการจัดการเรียนรู้ของการศึกษาไทยมาโดยตลอด และเป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ ถ้าได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจัง การพัฒนาความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน เพื่อให้บรรลุตามหลักการและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544  คือ การมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นผู้มีความสามารถ มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการอ่าน รักการเรียน และรักการค้นคว้า มีความรู้อันเป็นสากล รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ มีทักษะ และศักยภาพในการจัดการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี ปรับวิธีคิด วิธีการทำงานได้เหมาะสมกับสถานการณ์
     การฝึกทักษะในการอ่าน การคิด การเขียน เพื่อให้ผ้เรียนมีความสามารถสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนั้น โดยฝึกให้ผู้เรียนเป็นผู้รู้จักการคิด วิเคราะห์ แสวงหาความรู้ หาคำตอบ จะส่งผลให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง มีวิสัยทัศน์ รู้จักการจำแนกแยกแยะ ประเมินค่า มีทักษะการแสวงหาความรู้
     ปัญหาการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนที่บกพร่อง และส่งผลไปถึงคุณภาพการศึกษานั้น พบว่า นักเรียนทำข้อทดสอบที่เป็นอัตนัยด้วยการเขียนอธิบายความไม่ได้ และความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ ประกอบกับการยกตัวอย่างประกอบที่เป็นเหตุผลต่าง ๆ และการเขียนข้อความยาว ๆ ไม่ได้ นั้นจะพบอีกต่อไปว่า นักเรียนจะอ่อนวิชาอื่น ๆ อีกด้วย นักเรียนเก่งอาจทำข้อสอบแบบเลือกตอบ(ความจำ)ได้ แต่ไม่สามารถเขียนข้อสอบแบบอธิบายได้
     ดังนั้น ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะมุ่งให้นักเรียนอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน นั้นมีแนวทางในการแก้ปัญหาได้หลายแนวทาง และแนวทางหนึ่งที่จะเสนอ คือ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ โดยเน้นกระบวนการคิด(Thinking Istruction)  ซึ่งต้องอาศัยสิ่งเร้า (สื่อ) สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม (บรรยากาศการเรียนรู้)ที่จะฝึกให้นักเรียนคิด วิเคราะห์ และเขียน วิธีการสอนที่หลากหลาย ครอบคลุม      ต่อเนื่อง การจักการเรียนการสอนตามสภาพจริง เรียนรู้จากธรรมชาติ เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจะช่วยส่งเสริมและพัฒนาการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียนได้ดี
     การอ่าน เป็นทักษะแรกที่จะพัฒนาให้เป็นผู้มีนิสัยรักการอ่าน เลือกอ่านหนังสือที่มีประโยชน์ อ่านทุกครั้งที่ว่าง อ่านให้รวดเร็ว จับประเด็นสำคัญของการอ่านให้ได้ สังเกตส่วนประกอบของหนังสือ ฝึกเทคนิคการอ่านหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ เสริมการอ่านให้สัมพันธ์กับความคิด โดยเทคนิค SQRC (State,Question,Read,Couciude) คือ ระบุ ถาม อ่าน สรุป  โดยครูเป็นผู้ชี้นำ ตั้งคำถามจากเรื่องที่อ่าน นักเรียบนอ่านเรื่องเพื่อหาคำตอบ แล้วสรุปเป็นเรื่องราวด้วยการเขียนหรือพูด แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสร้างความรู้ใหม่
     การคิดวิเคราะห์ เป็นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถด้านเหตุผล รู้จักใช้เหตุผลเชิงวิเคราะห์ มีวิจารณญาณ รูปแบบการสอนที่เน้นการคิด ซึ่งมีหลายรูปแบบที่จะส่งเสริมทักษะการคิด บทบาทของครูมีบทโดยตรงที่จะกระต้นให้นักเรียนฝึกคิด การฝึกคิดอย่างมีระบบจะสามารถพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนได้เป็นอย่างดี  การตั้งคำถามกระตุ้นให้เกิดการคิดที่มีลักษณะดังนี้ คือ  1.  ไม่มีคำตอบสำเร็จรูป ตายตัว หรือมีคำตอบเดียว  2.  มีคำตอบที่หลากหลาย สามารถใช้เหตุผลประกอบได้  3.  ควรเป็นคำถามปลายเปิด   4.   เป็นเรื่องใกล้ตัว อย่ในความสนใจ  หรือเกี่ยวข้องกับชีวิตผู้เรียน
     การเขียน  เป็นการถ่ายทอดความรู้ ความคิด การเขียนที่ดีต้อง ชัดเจน เรียบง่าย กระชับ ประทับใจ โน้มน้าวจิตใจ ถูกหลักภาษา ลีลาไพเราะ
     การพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวเคราะห์และเขียนใช้การบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้เริ่มจากการวางแผน  ปฏิบัติกิจกรรมตามแผน ประเมินผล แก้ไขและพัฒนา สรุปและรายงาน
     กิจกรรมที่ใช้ในการพัฒนามทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ซึ่งได้แก่ สื่อ ทั้งที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร จุลสาร หนังสืออ่านประกอบ ใบงาน เอกสาร ภาพ   สื่อ ICT ได้แก่ Powerpoint  VCD
     การวัดผลประเมินผล ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ การใช้แบบประเมินการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน การปฏิบัติงานกล่ม
     แนวทางพัฒนาการอ่าน คิดวิเคราะห์และสื่อความนี้เป็นแนวทางหนึ่งที่จะพัฒนาศักยภาพของนักเรียนเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สุงขึ้น
หมายเลขบันทึก: 304279เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2009 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นด้วยครับ ท่าน krupen

สวัสดครับ ท่าน krupen

  • ผมแวะมาเยี่ยม  มาขอบคุณ ที่คุณครู แวะไปเยี่ยม ไปทักทาย
  • บันทึกนี้เป็นประโยชน์มากเลย โดยเฉพาะ กลุ่มสาระภาษาไทย
  • โชคดีมีสุขมากๆนะครับ

เห็นด้วย อยากให้คุณครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ถ้าคุณครูเข้าใจพร้อมที่ปรับวิธีคิดเปลี่ยนวิธีสอนย่อมส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท