แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของตนเอง


แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อยกระดับคุณภาพของนักเรียน ภาคเรียนที่ 2/2552

            แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อยกระดับคุณภาพของนักเรียน ภาคเรียนที่ 2/2552  ของกลุ่มสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียน  เพราะการอยู่ร่วมกันบนโลกที่มีการเปลี่ยแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา   การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจซึ่งแตกต่างกันอย่างหลากหลาย  
การปรับตนเองกับบริบทสภาพแวดล้อม   ทำให้เป็นพลเมืองที่รับผิดชอบ  มีความสามารถทางสังคม  มีความรู้  ทักษะ  คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม  โดยให้ผู้เรียนเกิดความเจริญงอกงามในทุกด้าน  เพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียน ดังนั้นครูจึงต้องมีแนวทางตามขั้นตอน
          ในปี 2550-51 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ได้พยายามนำแนวคิดเรื่อง “ห้องเรียนคุณภาพ” (The Complete Classroom/Quality Classroom) ซึ่ง เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นให้สถานศึกษา บริหารจัดการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพในระดับปฏิบัติ คือ “ระดับห้องเรียน”(หมายถึง การจัดการเรียนการสอนระดับรายวิชา โดยครูผู้สอน  รวมทั้ง การปฏิบัติการพัฒนาหรือส่งเสริมศักยภาพของนักเรียนโดยอาจารย์ประจำชั้น) โดยเชื่อว่า หากการจัดการเรียนการสอนระดับรายวิชามีคุณภาพตามเกณฑ์ห้องเรียนคุณภาพ แล้ว  สถานศึกษาแห่งนั้นก็น่าจะกลายเป็นสถานศึกษาที่มีคุณภาพหรือมีความเป็นเลิศ(Excellence  School) ในที่สุด

จุดเน้นสำคัญของแนวคิด “ห้องเรียนคุณภาพ”  โดยสรุป เป็นดังนี้

1) มุ่งนำการเปลี่ยนแปลงสู่ห้องเรียน : จะต้องเปลี่ยน/

2) Effective Lesson Plan : จัดทำแผนการสอน/แผนจัดการเรียนรู้ที่มี

ประสิทธิภาพ

3) Effective Teaching : จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ใช้

เทคนิคการสอนที่หลากหลาย  สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียน จุดประสงค์การเรียนรู้ หรือ เนื้อหาสาระ

4) Effective Assessment : วัดและประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ

 ให้ความสำคัญกับการประเมินตามสภาพจริง

       ภายใต้แนวคิด “ห้องเรียนคุณภาพ” ในปีการศึกษา 2552 ซึ่งจะมีการทดลองนำร่องการใช้หลักสูตรแกนกลาง พ.ศ.2551 ผมคิดว่า สถานศึกษาและครูทุกคนจะต้องผนวกแนวคิดนี้ เข้ากับการขับเคลื่อนหลักสูตร 2551 ซึ่งอาจพิจารณาดำเนินการ ดังนี้

       1) ครูผู้สอนทุกคน จะต้องมุ่งมั่น ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพในวิชาที่รับผิดชอบ  คือ

-เพิ่มระดับเกรดเฉลี่ย และ ลด ค่าการกระจายหรือความแตกต่างระหว่างบุคคล

-พัฒนาให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ และมีสมรรถนะที่สำคัญ 5 ประการ(ครูประจำชั้น จะต้องเป็นเจ้าภาพหลัก ในการดูแล/ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในภาพรวม)

2) ให้ความสำคัญกับการออกแบบการเรียนรู้ที่อิงมาตรฐานชั้นปี หรือช่วงชั้น ตามที่หลักสูตร 2551 กำหนด

3) วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ โดย ครูทุกคน ควรมีผลงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ ที่สำคัญ ๆ  อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 รายการ(ดูประเด็นวิจัย ที่สอดคล้องกับหลักสูตร 2551 ที่.............

4) ใช้ ICT เพื่อการสอนและสนับสนุนการสอน ทั้ง การสืบค้นข้อมูล องค์ความรู้  การจัดทำฐานข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ในระดับรายวิชา  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านจอภาพ  หรือ การบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านจอภาพ

5)  สร้างวินัยเชิงบวก (Positive Discipline)  ควรมีการ

ทดลองนำร่อง กระบวนการสร้างวินัยเชิงบวก ที่เน้นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม หรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ  สังเคราะห์และจัดทำฐานข้อมูล Best Practice ในเรื่อง การสร้างวินัย หรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ที่เป็นรูปธรรม

ในครั้งต่อไป ผมจะพูดเรื่อง การขับเคลื่อนแนวคิด “ห้องเรียนคุณภาพ” สู่การปฏิบัติ เพื่อให้แนวคิดนี้ สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ยกระดับคุณภาพของผู้เรียน ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม ชัดเจน(ผลสัมฤทธิ์ตามหลักสูตร จะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น)

2) ให้ความสำคัญกับออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน

3) วิจัยในชั้นเรียน (CAR) : ให้ความสำคัญกับการสร้าง

นวัตกรรมที่เหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียนหรือเนื้อหาวิชา เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง

4) ใช้ ICT เพื่อการสอนและสนับสนุนการสอน

5)  สร้างวินัยเชิงบวก (Positive Discipline): เน้นการ

ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม หรือคุณลักษณะ ด้วยกระบวนการเสริมแรงเชิงบวก

หากพิจารณา ความเปลี่ยนแปลงระดับครูผู้สอน จะต้องมองเห็นการ

เปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ประการ คือ

1) Effective Syllabus : กำหนดหน่วยการเรียนรู้/หลักสูตรระดับรายวิชา

ที่มีประสิทธิภาพ

หมายเลขบันทึก: 304124เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2009 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท