วิชาการ ตรวจระบบหลอดเลือดแดง 2552


ห้องตรวจพิเศษระบบหลอดเลือดแดงทางรังสีวิทยา

บันทึกนี้ขอกล่าวถึงวิชาการ ในสหสาขาวิชาชีพ ของหน่วยรังสีวินิจฉัย ที่จัดให้มีขึ้น ซึ่งเป็นการทบทวนการทำงาน ในสหสาขาวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ถูกต้อง และยังเพิ่มประสิทธิภาพ การให้บริการให้ดีขึ้น และเกิดความร่วมมือในการปฎิบัติงานร่วมกันอย่างมีความสุขทั้ง รังสีแพทย์ รังสีเทคนิค และ พยาบาล

ครั้งนี้เป็นห้องตรวจพิเศษทางรังสีของระบบหลอดเลือดแดงค่ะ...บรรยากาศก่อนบรรยายในช่วงเที่ยง

ก่อนอื่นขอกล่าวถึงการให้บริการในห้องตรวจพิเศษทางรังสีของระบบหลอดเลือดเพื่อให้เข้าใจสักเล็กน้อยค่ะ

การตรวจพิเศษทางรังสี ของ ระบบหลอดเลือดแดง มีดังนี้ค่ะ

1. Diagnostic เพื่อการวินิจฉัย

คือการ ตรวจดูหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อดูความผิดปกติ โดยการฉีดสารทึบรังสี(contrast media) พร้อมกับการถ่ายภาพทางรังสี ทำเทคนิคการลบภาพกระดูกออก ให้เห็นเฉพาะ ภาพเส้นเลือดที่ทำการศึกษา

การตรวจนี้เรียกว่า Angiography

2. Intervention หรือ รังสีร่วมรักษา

เป็นการตรวจพิเศษทางรังสีร่วมกับการรักษาซึ่งแบ่งการตรวจออกเป็นหลายชนิด ดังนี้

2.1 TOCE=Transarterial Oily

Chemoembolization

เป็นการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ ด้วยการให้สารเคมีบำบัด เฉพาะที่ผ่านทางหลอดเลือดแดง เข้าไปสู่บริเวณที่มีโรค หรือ ก้อนเนื้องอกโดยตรง แล้วอุดกั้นหลอดเลือดนั้นเพื่อไม่ให้เลือดกลับไปเลี้ยงก้อนเนื้องอกได้อีก

2.2 TACE=Transcatheter Arterial

Chemoembolization เหมือนกับ 2.1

2.3 PVE=Portal Vien Embolization

เป็นหัตถการ สำหรับการตรวจรักษามะเร็งตับ ปฐมภูมิ และ ทุติยภูมิ ร่วมกับการผ่าตัดตับ(ทำในห้องผ่าตัด) โดยการอุดกั้นหลอดเลือดดำของตับข้างที่จะตัด เป็นการเพิ่มปริมาณเนื้อตับที่คาดว่าจะเหลือหลังผ่าตัด ซึ่งจะช่วยลดภาวะตับวายภายหลังการผ่าตัด และช่วยเพิ่มโอกาสการผ่าตัดได้

2.4 PEI=Percutaneous Ethanol Injection

เป็นหัตการที่ใช้รักษามะเร็งตับ ขนาดเล้กกว่า 3-5 เซนติเมตร โดยสอดเข็มเล้กๆผ่านผิวหนังเข้าไปในก้อน แล้วฉีด absolute ethanol เข้าไปทำลายเซลมะเร็ง

2.5 PTBD=Percutaneous Trans

Hepatic Biliary Drainage

เป็นหัตถการ การใส่สายสวนผ่านทางเนื้อเยื่อตับ เข้าไปในท่อน้ำดี เพื่อระบายน้ำดีออกมา ในภาวะที่มีท่อน้ำดีอุดตัน( Obstructive Jaundice)

2.6 I PTBD=Irrigate Percutaneous

Trans Hepatic Biliary Drainage

เป็นหัตถการที่หลังทำ PTBD แล้ว หากน้ำดีไหลไม่สะดวก หรือไหลได้น้อยลง ขุ่น และมีตะกอน จะทำการล้างสาย PTBD

2.7 R PTBD=Revises Percutaneous

Trans Hepatic Biliary Drainage

เป็นหัตถการที่ทำภายหลังการทำ PTBD ทำเมื่อเกิดเหตุหลังจากผู้ป่วยกลับบ้าน คือมีท่อระบายสายสวน หลุดจากท่อทางเดินน้ำดีในตับ ตีบตัน เลื่อนตำแหน่ง หรือ กรณี ใส่สาย PTBD ไว้นาน (ปกติต้องเปลี่ยนสายใหม่ทุก 6 เดือน) เพื่อป้องกัน bacteria creeping เข้าไปในทางเดินน้ำดี จะนัดมาเพื่อเปลี่ยนสาย PTBD ใหม่

2.8 Angiogram and Embolization

เป็นการตรวจวินิจฉัย และร่วมรักษา หลอดเลือดโดยการอุดกั้นหลอดเลือด ที่มีเลือดไหลออกมาจากหลอดเลือดเป็นจำนวนมาก วึ่งเกิดจากหลอดเลือดแตก หรือ รั่ว ภายในอวัยวะ ที่สำคัญ การสูญเสียเลือดอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

ภาพล่าง คุณเกยูร ตัวแทนพยาบาล กำลังบรรยายการเตรียมเครื่องมือที่ทางฝ่ายพยาบาลต้องรับผิดชอบดูแล

ภาพล่าง คุณสมศักดิ์บรรยายเกี่ยวกับปริมานรังสีที่ได้รับเมือเข้าปฎิบัติงานในห้องตรวจนี้(ผู้เขียนได้นำเสนอรายละเอียดในบันทึกก่อนนี้แล้ว)

ภาพล่าง เป็นภาพบรรยากาศในห้องตรวจและการแต่งตัว สวมเสื้อตะกั่วกันรังสี และ เทคนิคการปลอดเชื้อ เหมือนในห้องผ่าตัด

ล่าง เครื่องแต่งกายโดย น้องภานุวัฒน์ รังสีเทคนิคประจำห้อง และพยาบาล คุณเบญจวรรณ

ล่าง ตู้เก็บเครื่องมือ และ catheter และ คุณแก้วมณี ผู้ดูแลค่ะ

ล่าง คอมพิวเตอร์ควบคุมและเก็บข้อมูลขณะทำการตรวจ โดยคุณน้องสมศักดิ์ รังสีเทคนิคประจำห้องตรวจ

ล่าง อ.วัลลภ รังสีแพทย์ดูภาพจากจอภาพก่อนตัดสินใจเข้าตรวจวินิจฉัยต่อ

ล่าง จากด้านนอกสามารถมองผ่านทะลุผ่านกระจกดูภายในห้องตรวจได้

ล่าง คุณน้องเกยูร กำลังเตรียมเครื่องมือปลอดเชื้อ

ล่าง ตัวอย่างภาพการตรวจแต่ละชนิด

ล่าง บรรยากาศในขณะประชุมร่วมกันของรังสีเทคนิคเพื่อสรุปงาน และปัญหาที่พบในการบริการประจำแต่ละเดือน

บน ผู้เขียนเป็นคนถ่ายรูปจึงไม่มีรูปรวมกับเพื่อนๆขอลงรูปสวยคนเดียวคงไม่ว่ากันนะคะ..อิอิ

หมายเลขบันทึก: 303911เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2009 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2016 09:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ทำได้แต่ Diagnostic ครับ Inter ล้า ไป นาน แล้ว

ท่านพี่ทำงานนี้มานานและมากแล้วนี่คะ

ปล่อยให้คนอื่นเขาทำบ้างซิคะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท