จัดการเรียนรู้


วิธีการจัดกิจกรรม
   การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                                                              อกนิษฐ์  ขำวีระ  รวบรวม
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   หมายถึง การจัดกิจกรรมที่สอดคล้อง
กับการดำรงชีวิต เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของผู้เรียน  
โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน จนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
หลักในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ                                      
1.   ให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง   โดยการ 
	แสวงหาข้อมูล 
	ศึกษาทำความเข้าใจ
	คิดวิเคราะห์
	ตีความ
	แปลความ
	สร้างความหมายแก่ตนเอง
	สังเคราะห์ข้อมูล
	สรุปข้อความรู้
2.    ให้ผู้เรียนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุด
3.    ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และได้เรียนรู้จากกันและกัน ได้แลกเปลี่ยนข้อมูล 
ความรู้ ความคิด และประสบการณ์แก่กันและกันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
4.    ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ "กระบวนการ"  ควบคู่ไปกับ "ผลงาน/ข้อความรู้ที่สรุปได้"
5.    ให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน
การเรียนรู้อย่างมีความสุข
การเรียนรู้อย่างมีความสุขเป็นสภาพการจัดการเรียนรู้ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย
เป็นอิสระ ยอมรับความแตกต่างของบุคคล  มีความหลากหลายในวิธีการเรียนของผู้เรียน
และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาอย่างรอบด้าน
 รักการเรียนรู้อันจะส่งผลให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ 
และ ต้องการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
แนวทางจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข  
	สิ่งที่เรียนต้องเป็นเรื่องใกล้ตัว  มีความหมาย  สอดคล้องกับการดำรงชีวิตของ
ผู้เรียน บทเรียนควรจะเริ่มจากง่ายไปหายาก และมีความต่อเนื่องในเนื้อหาวิชา
	กิจกรรมการเรียนต้องมีความหลากหลายน่าสนใจ  เร้าใจที่จะปฏิบัติ 
 เปิด-โอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมได้ลงมือปฏิบัติ สัมผัสจับต้องด้วยตนเอง  
และเป็นกิจกรรม ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิด ตลอดจนพัฒนาทักษะชีวิตและสังคม
	สื่อการเรียนน่าสนใจ มีความหลากหลายผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำ การใช้ 
เป็นสื่อที่สามารถสร้างความเข้าใจได้ชัดเจน สอดคล้องกับกิจกรรมและจุดประสงค์ที่กำหนด  
จนผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด หรือสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
	การประเมินผล  ควรมุ่งเน้นการประเมินผลเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนเป็น
รายบุคคล ไม่กดดันหรือสร้างความเครียด และควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประเมินตนเอง ประเมินซึ่งกันและกัน 
เพื่อสร้างความภาคภูมิใจ และเติมพลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
	ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน  ควรแสดงออกด้วยความรัก  ความเมตตา
มีความอาทรซึ่งกันและกัน ยอมรับในความแตกต่างซึ่งกันและกัน เชื่อมั่นในศักยภาพของกันและกัน 
เปิดโอกาสให้ได้แสดงความสามารถและพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ตามแบบของตนเอง 
	ครูควรให้การเสริมแรงและสนับสนุนให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จ  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความสุข
เกิดการยอมรับและเห็นคุณค่าของตนเอง มีความกล้าที่จะเผชิญกับปัญหา กล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ มีเจตคติที่ดีต่อตนเอง 
บุคคลอื่นและสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
	ครูไม่ควรใช้อำนาจกับผู้เรียน ไม่เข้มงวดจนผู้เรียนเกิดความเครียด   
ซึ่งจะเป็นการสกัดกั้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการกล้าแสดงออกที่หลากหลายของผู้เรียน
การเรียนรู้อย่างมีความสุขนั้น  ครูผู้สอนจำเป็นต้องจัดให้เกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งในระหว่างการเรียนรู้ และ 
หลังการเรียนรู้แล้ว  การที่ครูจะจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความสุขนั้น  
ที่สำคัญครูจะต้องมีความสุขในการจัดการเรียนรู้ด้วย  ยอมรับในความสำคัญของผู้เรียน พร้อมที่จะ เปิดโอกาส
ที่เหมาะสมให้กับผู้เรียนทุกคน และ พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ร่วมกันกับผู้เรียน
 บทบาทครูและบทบาทผู้เรียน
                บทบาทครู
1. ศึกษามาตรฐานการศึกษา และ วิเคราะห์หลักสูตร
2.วางแผนการสอน   กำหนดเป้าหมาย  และจุดประสงค์การเรียนรู้
3.ร่วมกับผู้เรียนนำกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนเข้ามาใช้ในการสอน
4.ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการเรียนรู้อย่างมีความสุข ร่วมกับผู้เรียน
5.เตรียมวัสดุ  อุปกรณ์  สื่อการเรียนรู้
6.ดูแลกระบวนการเรียนรู้  กระตุ้นให้ปฏิบัติ  ให้คำแนะนำ
7.นำอภิปราย  ช่วยผู้เรียนประมวลสรุปข้อเรียนรู้
8.เสริมความรู้   และ ส่งเสริมการนำความรู้ไปใช้
9.ผล  ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามสภาพจริง
10. สรุปผลการสอน
11.วิเคราะห์เพ่อปรับปรุงการเรียนการสอน
                บทบาทผู้เรียน
1.วมกำหนดเป้าหมาย และ จุดประสงค์การเรียนรู้
2.มวางแผน  ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
 3.างความรู้ด้วยตนเอง   โดยการ
-   แสวงหาข้อมูล 
-   ศึกษาทำความเข้าใจ
-   คิดวิเคราะห์
-   ตีความ
-   แปลความ
-   สร้างความหมายแก่ตนเอง
-   สังเคราะห์ข้อมูล
-   สรุปข้อความรู้
 5. มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้    
 6. มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และเรียนรู้จากกันและกัน
 7. เรียนรู้กระบวนการควบคู่ไปกับผลงาน / ข้อความรู้ที่สรุปได้
 8. นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
 ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถสรุปได้ดังนี้
 
 
ที่
 
ยุทธศาสตร์การเรียนรู้
 
สิ่งที่ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ
 
 
1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
 
10.
11.
12.
 
13.
14.
15.
16.
17.
 
18.
19.
 
20.
21.
22.
 
23.
 
24.
25.
 
การเรียนรู้โดยใช้ทักษะการอ่าน
การเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้  ( Constructivism )
การเรียนรู้โดยใช้ผังมโนภาพ
การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ( Participatory Learning )
การเรียนรู้แบบร่วมมือ ( Cooperative Learning )
การเรียนรู้แบบใช้กระบวนการกลุ่ม
การเรียนรู้โดยใช้บทบาทสมมติ
การเรียนรู้โดยโครงงาน
การเรียนรู้จากการศึกษานอกสถานที่
 
การเรียนรู้โดยวิธีกรณีศึกษา ( Case  Study )
การเรียนรู้โดยกระบวนการสร้างนิสัย
การเรียนรู้โดยใช้การเผชิญสถานการณ์
 
การเรียนรู้แบบ   Storyline
การเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน
การเรียนรู้โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์
การเรียนรู้จากห้องสมุด
การเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการพยากรณ์
 
การเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป
 การเรียนรู้โดยใช้ศูนย์การเรียน
 
การเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน
การเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( CAI )
การเรียนรู้โดยการแก้ปัญหา
 
การเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม
 
การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์
การเรียนรู้โดยใช้ความคิดรวบยอด
 
ฝึกการอ่าน
ฝึกการคิด
ฝึกการคิด , ฝึกการใช้สมอง
ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม
ฝึกการทำงานร่วมกัน
ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม
ฝึกการแสดงบทบาทตามความรู้สึก
ฝึกการหาความรู้ด้วยตนเอง
ฝึกการหาความรู้-
จากแหล่งวิทยาการต่าง ๆ
ฝึกการเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ
ฝึกการสร้างนิสัย คุณธรรมที่ดี
ฝึกการเชื่อมโยงการกระทำกับ-
การคิดวิเคราะห์เข้าด้วยกัน
ฝึกการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
ฝึกการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
ฝึกการหาเหตุผล
ฝึกการหาความรู้ด้วยตนเอง
ฝึกทักษะด้านความคิด -
ความมีเหตุมีผล  การจินตนาการ
ฝึกการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
 ฝึกการมีส่วนร่วมในการแสวงหาความรู้
 
ฝึกการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ฝึกการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ฝึกการแก้ปัญหา-
อย่างเป็นกระบวนการ
ฝึกการมีอิสระในการศึกษาหา-ความรู้ตามหลักประชาธิปไตย
ฝึกการทำงานร่วมกัน
ฝึกการรู้จักคิด การสังเกต-
เปรียบเทียบ การจำแนกสรรพสิ่ง-ให้เป็นหมวดหมู่ตาม-
ลักษณะเฉพาะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
หมายเลขบันทึก: 303628เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2009 13:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท