นิราศซิดนีย์ 44: จิตตปัญญาเวชศึกษา 113: Medical Professionalism and Palliative Care


Medical Professionalism and Palliative care

การไปร่วมงานประชุม APHN ครั้งที่ 8 ที่ Perth ผมนำเอาโปสเตอร์ไปแสดงด้วย หัวข้อเรื่อง palliative care teaching in medical school, a way for medical professionalism development เป็นประสบการณ์การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เรื่อง palliative care ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ของเราจัดมาได้หลายปีแล้ว

Key สำคัญที่ผมไปนำเสนอก็คือ การเรียนรู้ที่ได้ผลสำหรับนักเรียนแพทย์ มาจากสองปัจจัย ได้แก่ การเรียนประสบการณ์ตรง คือ bedside และการสะท้อนสดๆหลังการทำกิจกรรม ในพื้นที่ที่ปลอดภัย ปราศจากการตัดสิน characters ถูกผิด

ผลก็คือในช่วง 2 ปีครึ่งที่ผ่านมาล่าสุด มีนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่หกตอบแบบสอบถามมา 264 คน แบบสอบถามนี้ทำทันทีหลังจากกิจกรรม holistic doctor programme ที่เราจัดให้นักศึกษาแพทย์เวชปฏิบัติชั้นปีที่ 6 (ที่เราเรียกว่า extern) กิจกรรมก็คือจะมอบหมายคนไข้ palliative care ไปให้ externs เขาไปประเมินล่วงหน้า และมานำเสนอในวันกิจกรรมในรูปแบบ narrative คือ เล่าเป็นเรื่อง เป็นราวแบบประสบการณ์ของคนไข้เอง ไม่ใช่ในแบบการนำเสนอทั่วๆไปของนักเรียนแพทย์ เน้นที่ความรู้สึก และความคิดของคนไข้และญาติ หลังจากนั้น เราก็จะไปที่ bedside เพื่อที่อาจารย์แพทย์ทำการ approach และสัมภาษณ์ให้ดู ในช่วงสุดท้ายเราก็กลับมาที่ห้องสัมมนาและทำการสะท้อนกันว่านักเรียนเขาเห็น ได้คิด ได้รู้สึกอะไรกันบ้าง แบบสอบถามที่ใช้ก็จะเป็น blank sheet ให้เขียนมาอย่างที่เขาอยากจะเขียน

ตอน วิเคราะห์นั้นผมเองมานั่งอ่านแบบสอบถามปึกที่ว่านี้ แล้วก็ categorize ตาม domain ของ medical professionalism หรือวิถีแพทย์ เราก็ได้มาทั้งหมด 1270 items

Professionalism Domains items (%)
Holistic Approach 465 (36.61)
Autonomy 272 (21.42)
Primacy welfare of the patients 263(20.71)
Medical professional competence 161 (12.68)
Communication skill 109 (8.58)

การจัด categories จากการอ่าน short feedback assay ของน้องๆนักเรียนจัดเป็นงานพอสมควรทีเดียว และยอมรับว่าใช้ subjective คือความรู้สึกของผมค่อนข้างเยอะ แม้ว่าในแต่ละ domain ผมจะทำ criteria ไว้ในใจก่อนล่วงหน้าว่า อะไร แบบไหน ถึงจะเรียกว่าเป็น autonomy อะไรแบบไหนจึงเป็นการแสดงว่านักเรียนเขาเรียนรู้เรื่อง primacy welfare ของคนไข้ แต่สุดท้ายก็มีบางคำ บางเรื่องราวที่นักเรียนเขียนเล่ามาเป็นเรื่องและผมต้องตัดสินใจเอาว่า เขาได้เรียนเรื่องอะไรอยู่ใน domain ไหนของ medical professionalism

NB: ผมไม่ได้ verify ว่าวิธีที่ผมใช้จัดกลุ่มนี้ มี accuracy หรือ valid แค่ไหน ได้มาอย่างไรก็สรุปออกมาเป็นตารางอย่างที่แสดง นี่ไม่ใช่วิธีมาตรฐานสำหรับงานวิจัยเชิงคุณภาพเท่าไรนัก

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ หลังจากที่ผมอ่านเนื้อหาสะท้อนกลับของน้องๆนักเรียนแพทย์ ผมก็เกิดความคิดคำนึงว่า ที่จริง การเรียนจริยธรรม จริยศาสตร์ ถ้าเราไม่ได้ไปเน้นเรื่องนิยาม definition อะไรมากมาย หรือการจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่แล้ว ปรากฏว่า นักเรียนสามารถบอกว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้าง จากการดูคนไข้ที่ข้างเตียง ได้พูดคุย ได้รับรู้ความคิดความรู้สึกของคนไข้ และครอบคลุมทุกมิติอย่างครบถ้วนเลยทีเดียว

เหมือนกับที่เราพยายามจะ clarify term ว่า เมตตาคืออะไร กรุณาคืออะไร แตกต่างกันยังไง แต่ที่จริงๆแล้ว เราก็ไม่ได้อยากจะให้นักศึกษาเก่งภาษาไทย หรือแยกแยะความแตกต่างระหว่าง เมตตา กรุณา หรีือระหว่างมุทิตากับอุเบกขา ที่จริงเราอยากจะให้เขาได้มีประสบการณ์ตรง และหล่อหลอม "คุณสมบัติ" เหล่านี้ว่ามันอยู่ในเนื้องานที่เขากำลังจะทำ กำลังจะเป็น ต่างหากเล่า

การเรียนแพทย์ที่จะพัฒนา professionalism จึงจะต้องใช้ประสบการณ์ตรงๆ มากกว่าเรียนในห้องเรียนว่า medical professionalism ในทฤษฎีมีอะไรบ้าง คืออะไร แต่เราจะต้องสอนแสดงและทำให้เขาได้รับรู้ในเชิงปฏิบัติ ซึ่งทำได้ไม่ยากเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน setting ของ palliative care ที่จะทำให้เรื่องราวที่ดูเป็นปรัชญา อย่างเช่น primacy welfare ของคนไข้ หรือการเห็นประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นอันดับหนึ่ง หรือเรื่อง autonomy ของคนไข้ (การดำเนินชีิวิตตามวิถีของเขา) นั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ จริยธรรมและคุณธรรมแห่งวิชาชีพถูกรับรู้ได้ว่า เป็นสิ่งที่นักเรียนจะได้ ต่อเมื่อทำจริง และใคร่ครวญ สะท้อนเรื่องเหล่านี้ บูรณาการเข้าไปในเนื้อตัว ในกระบวนทัศน์ของตนเอง ว่าทำอย่างนี้แหละ คือหมอแบบที่เขาอยากจะเป็น ไม่ใช่เฉพาะเอาไว้ตอบสอบว่าหมอที่ดี (ตามที่อาจารย์ได้สอนไว้) เป็นอย่างไรแบบที่เรียนจาก classroom เท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 303439เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2009 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท