นิราศซิดนีย์ 43: Palliative Care & Public Health


คนเราอาจจะไม่ได้มีความสุขเสียทีเดียวทั้งๆที่ไร้โรคก็ได้ หรือบางคนทั้งๆที่มีโรคภัยเต็มตัว ก็อาจจะมี "สุขภาวะที่ดี" ก็มีเหมือนกัน

Palliative Care & Public Health

ทุกๆปีประมาณต้นเดือนตุลาคม เราจะจัดงาน Palliative Care WorldDay ขึ้น ตลอดทั้งเดือนนี้ ทั่วโลกจะมี exhibitions หรือกิจกรรมต่างๆเพื่อรณรงค์ awareness หรือความสำคัญของสิทธิพื้นฐานของการได้รับการดูแลที่ได้มาตรฐานในวาระสุดท้ายของชีวิต การแพทย์ในปัจจุบันทำให้ชีวิตยั่งยืนยาวนาน แต่ก็ไม่สามารถทำให้คนเป็นอมตะไปได้ ผลก็คือ คนสามารถอยู่ได้ทั้งๆที่มีอวัยวะ สอง หรือ สาม หรือมากกว่านั้นล้มเหลวไปแล้ว แต่ก็ยังประทัง และมีชีวิตต่อไปได้ ด้วยการรักษาประคับประคอง การดูแลแบบ holistic หรือเป็นองค์รวมยิ่งมายิ่งมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในช่วงนี้ ทั้งการดูแลตัวผู้ป่วยเองและการดูแลญาติ ครอบครัว เพื่อนสนิทมิตรสหายด้วย

สิ่งสำคัญที่จะกล่าวถึงก็คือ หากจะให้เกิด palliative care ในชุมชน เราจะต้องทำเรื่องนี้ให้เป็นนโยบายของระบบสาธารณสุขให้ได้ก่อน

Palliative Care and Public Health

  • Health is more than an absence of disease or disability
  • Health is created in a communities that attend to the richness and diversities of human experience
  • A fundamental requirement of health is a healthy environment: HEALTH IS SOCIALLY DETERMINED
  • Strategies for health involve much more than providin "health services"

สุขภาวะไม่ได้เป็นเพียง "ไร้โรคา"

สิ่งหนึ่งที่คนเข้าใจผิดก็คือคิดว่าการมีสุขภาพที่ดีเหมือนกับหรือเป็นเพียงแค่ไร้โรคเท่านั้น ที่จริงกลับกันทั้งสองปลายก็คือ คนเราอาจจะไม่ได้มีความสุขเสียทีเดียวทั้งๆที่ไร้โรคก็ได้ หรือบางคนทั้งๆที่มีโรคภัยเต็มตัว ก็อาจจะมี "สุขภาวะที่ดี" ก็มีเหมือนกัน

"อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรคเป็นอันประเสริฐ" แต่การที่คนเราจะมีความสุขสงบอย่างแท้จริงนั้น ต้องการมากไปกว่าการมีสุขภาพทางกายที่ดี เราต้องการสุขภาวะทางจิต ทางสังคม และจิตวิญญาณประกอบกันไปหมดทุกมิติ และเรายังพบอีกด้วยว่า ถ้าเราเอื้ออำนวยมิติอื่นให้ดี บางทีแม้แต่ในร่างที่เต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บ ก็ยังสามารถมีจิตที่อุดมไปด้วยความสุขสงบได้ในเวลาเดียวกัน

และเพราะ concept ว่า "สุขภาพคือไร้โรค" ทำให้เกิด dilemma สำหรับโรคที่รักษาไม่หาย หรือเรื้อรัง ว่าชาตินี้จะต้องอยู่อย่างทุกข์ทรมานไปเรื่อยๆ เป็น hopeless and hapless mentality ทั้งฝ่ายรักษาและฝ่ายเป็นทุกข์จริงๆ คนเจ็บป่วยอาจจะต้อง "ทำใจ" ทั้งๆที่ไม่จำเป็นว่าเราเป็นอย่างนี้ ก็ต้่องทนอาการเหล่านี้ไป ฝ่ายรักษาพอเห็นคำ end-stage หรือ terminal ระยะสุดท้าย ก็คิดว่าไม่ต้องทำอะไร หรือทำอะไรไม่ได้แล้วอยู่ร่ำไป

"สุขภาวะ" นั้น ต้องเริ่มต้นจากชุมชน ที่มีความหลากหลายรุ่มรวยประสบการณ์

คุณค่าของสังคมมีผลกระทบต่อกระบวนคิด กระบวนการรับรู้ และพฤติกรรมของมนุษย์อย่างมาก วันก่อนผมดูรายการใน TRUEVISION ก็มีโปรแกรมที่คล้ายๆกับรายการ The Apprentice ที่เป็นเกม reality show ที่ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ เสร็จแล้วก็เดินเรียงไปให้กรรมการตัดสิน กรรมการก็จะตัดสินประเภทตำหนิติเตียนด่าแหลกในมุมที่ตนเห็นว่าไม่ดี เสร็จแล้วก็เขี่ยผู้แข่งขันท้ิงไปหนึ่งคน รายการที่ผมว่านี้เป็นของบริษัท ELLE ที่ทำ magazine สุภาพสตรี หรือหนังสือแฟชั่น ว่างั้นเถอะ

ที่ยกเรื่องรายการสองรายการนี้มาก็เพราะ ทั้ง Donald Trump จากรายการ The Apprentice และ CEO ของ ELLE เต็มไปด้วย judgmental attitude ชนิดท่วมหู เวลาตัดสินอะไร ใช้ subjectives ของตนเอง บวกกับ objectives ที่เป็นเงิน เงิน เงิน (เพลงไตเติ้ลของ The Apprentice ก็จะร้อง Money, Money, Money แสดงความชัดเจน) และที่แน่ๆก็คือ ไม่มีการคิดว่าสิ่งที่ตนเองพูดจะทำให้เกิดอะไรกับ "ความรู้สึกของคนฟัง" สภาวะการ empathy หรือการคิดถึงหัวจิตหัวใจคนอื่น ไม่ได้อยู่ใน virtue ของคนเหล่านี้เลยจากการแสดงออก

เราก็พอจะมองเห็นว่า "สังคม" ที่ set คุณค่าทำนองนี้ จะเกิด relationship แบบไหน เกิดเจตคติแบบไหน และเกิดพฤติกรรมแบบไหน

การดูแลคนเจ็บไข้ได้ป่วย ก็จะหา "standard" ที่ rigid มาวัด มาประเมิน ตัด ranking ให้คะแนน 1 ดาว 2 ดาว โดยไม่ได้คำนึงถึงเจตจำนงความมุ่งมั่นของคนทำงาน หรือความยากลำบากจากการขาดทรัพยากร เอาทีม ManU ไปเทียบกับทีม Coventry city อะไรทำนองนั้น

บ้านเมืองเรา สังคมได้ set คุณค่าในเรื่องนี้ไว้แบบไหน?

เราให้ความสำคัญเรื่อง "ความสัมพันธ์" เรื่องราวมนุษย์ ความรู้สึก ความศรัทธา ความเชื่อ และสุขภาวะในมิติต่างๆมากน้อยแค่ไหน?

ระบำจิงโจ้เปิดงาน APHN 2009

ทำให้ดูเสร็จ บรรดาหมอ พยาบาล ก็ลงไปรำด้วยกัน

จะทำ palliative care ต้องโยนตัวตนเราไปชั่วขณะ embrace สิ่งใหม่ๆ

เราพร้อมที่จะสละความเชื่อ ความคิดของเราชั่วคราว เพื่อที่จะ embrace คุณค่าใหม่ของคนไข้และครอบครัวและชุมชนของเขาได้หรือไม่ ที่เราจะเข้าใจในสุขภาวะกำเนิดของคนไข้ที่แตกต่างจากของเรามากๆได้

สุขภาวะถูกกำหนดโดยระบบสังคมและสิ่งแวดล้อม

ไม่เพียงแต่ระบบสังคม ความเชื่อ ที่ส่งผลต่อการคิด การรู้สึก การรับรู้ และพฤติกรรมของคนในสังคม แต่รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมทุกอย่าง ทั้งกายภาพ สังคม การเมือง ศาสนา สิ่งแวดล้อม

อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มี "มลพิษ"นานๆเข้า เราก็จะยอมรับพิษว่าเป็นส่วนหนึ่งของนิเวศของเราโดยไม่รู้ตัว ยอมรับควันพิษ ยอมรับไอเสีย ยอมรับถุงพลาสติก ฯลฯ มองไม่เห็นส่วนที่เราต้องรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม บางเรื่องกลายเป็นสิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของประจำ จนเรามองข้ามไปได้อย่างไม่น่าเชื่อ

เฉกเช่นเดียวกันถ้าเรามองเห็นทุกข์ทางกาย หรือเรื่องหลายๆเรื่องในผู้ป่วย palliative care ว่าเป็นเรื่องธรรมดา อาทิ ความเจ็บปวด ความเศร้าซึม ความเหน็ดเหนื่อย ธรรมดามากๆเข้า เราก็หมดความกระตือรือร้นที่จะทำอะไรสักอย่างที่จะไปแก้ไข เพราะเราไม่ได้เห็นเป็นปัญหา เกิด mentality ที่ "ยอมรับ" ตั้งแต่แรก

ยุทธศาสตรสุขภาวะ มีอะไรที่มากไปกว่าแค่การบริการทางสุขภาพ

พฤติกรรมและเจตคติแยกกันไม่ได้ ดังนั้นนโยบายสุขภาพที่มีแต่การใช้กฏหมาย ใช้สิทธิประโยชน์มาผลักดัน ใช่้งานโรงพยาบาลเป็นหลัก ใช้หมอใช้พยาบาลเป็นคนงานหลักจะไม่มีทางเพียงพอ เพราะหมอและพยาบาลหรือโรงพยาบาลนั้น เป็นหน่วยสุดท้ายก็ว่าได้ของการเดินทางของสุขภาพ คนไข้ทุกคน ก่อนที่จะมาหาหมอ หาพยาบาลที่โรงพยาบาล เขาเคยมีความสุขมาก่อน มีหน้าที่การงาน ความสำเร็จ ครอบครัว ความสัมพันธ์ ความภาคภูมิใจ ความเชื่อ ศาสนา ความดี ความงาม ฯลฯ สิ่งเหล่านี้คือ "สุขภาวะกำเนิด" ของเขามาก่อน การบริการสุขภาพเป็นมิติเล็กๆที่จะ address ปัญหาส่วนหนึ่งเท่านั้น

เรื่องสุขภาพเป็นองค์รวม เราไม่สามารถทำให้เกิด "ระบบ" ที่เป็นองค์รวมได้จริงในสังคม ถ้าเรายังแยกแยะสุขภาพว่าเป็นงานของกระทรวงกระทรวงเดียวเท่านั้น แต่ความปลอดภัย (กระทรวงมหาดไทย) เศรษฐานะ (กระทรวงคลัง พาณิชย์) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน (กระทรวงคมนาคม กระทรวง IT กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงท่องเที่ยว) หรือแทบจะเรียกได้ว่าทุกอย่างของรัฐบาลจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับการอยู่ดีกินดี ร่มเย็นเป็นสุขของประชาชนมิใช่หรือ?

หมายเลขบันทึก: 303431เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2009 13:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
  • จะออกความเห็นก็ไม่มีความรู้นะคุณหมอ
  • แต่เคยเห็นบางรายการ คนวิจารย์พูดในที่สาธารณะ กระทบความรู้สึกคนไม่น้อยเลย
  • แต่ผู้พูด พูดเหมือนอยู่กันเพียงคนสองคน

เจริญพระ

นมัสการท่านมหาแลครับ

ยิ่งเป็นสื่อรวม ยิ่งควรจะมีทั้ง self censor และกระบวนการคัดกรองรายการเพื่อประโยชน์ หรืออย่างน้อยก็การปลอดโทษต่อสังคมส่วนรวมทีเดียวนะครับ

รายการโชว์ประเภทมากับดวง หรือโชคทำให้รวยเร็ว รวยลัด ไม่ต้องทำงานหนักๆก็หาเงินได้ง่ายๆ ออกจะเป็นการ "ปลูกฝัง" ทัศนคติให้สังคม เพ่ิมความหวังการใช้ "ทางลัด" ไปสู่ความสบาย พอๆกับการจะ promote หวยบนดินหรือใต้ดิน หรือเปิดบ่อนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยไม่คำนึงถึง "ยาพิษ" ที่จะลงสู่สังคมในระยะยาว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท