โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)
โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) เทศบาลนครนคราชสีมา

การจัดการศึกษาแบบเชิญชวน


การจัดการศึกษาแบบเชิญชวนเป็นทฤษฎีแห่งการปฏิบัติ สำหรับความห่วงใยและใส่ใจดูแลกัน และมีเจตนาเชิญชวนให้ตระหนักถึงศักยภาพของมนุษย์ควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงแรงกดดันในโรงเรียนที่มุ่งทำลายศักยภาพของมนุษย์ (นิรมล ศตวุฒิ : 2551)

        ภาพเคลื่อนไหว

          เมื่อวันเสาร์ที่ 6  กันยายน  2552  ได้รับหนังสือจากอาจารย์  ดร.วาสนา  ที่ให้ด้วยความรักและเมตตาที่มีต่อศิษย์    ชื่อหนังสือว่าการจัดการศึกษาแบบเชิญชวน  เขียนโดยดร.นิรมล  ศตวุฒิ ซึ่งเป็นคำใหม่ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน เมื่อได้อ่านแล้วปรากฏว่าเป็นแนวคิดการจัดการศึกษาที่เป็นนวัตกรรมมีการทดลองใช้ในหลายโรงเรียนปรากฏว่าได้ผลดี   และมีแนวคิดที่เราน่าจะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนของเราได้  จึงลองนำแนวคิดในบางส่วนมาให้พวกเราได้อ่านในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน 

                                                                       ภาพเคลื่อนไหว                        

                การจัดการศึกษาแบบเชิญชวนเป็นทฤษฎีแห่งการปฏิบัติ สำหรับความห่วงใยและใส่ใจดูแลกัน  และมีเจตนาเชิญชวนให้ตระหนักถึงศักยภาพของมนุษย์ควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงแรงกดดันในโรงเรียนที่มุ่งทำลายศักยภาพของมนุษย์ (นิรมล  ศตวุฒิ : 2551)  นักเรียนที่เข้าสู่ระบบโรงเรียนจะพบกับแรงกดดันมากมาย  จากความคาดหวังของพ่อแม่  จากความตั้งใจที่ต้องการให้นักเรียนเป็นคนดี เป็นคนเก่งของครู  ทั้งที่จริงแล้วนักเรียนควรได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพและพลังของตนเองอย่างเต็มที่  มิใช่จัดการศึกษาออกมาให้นักเรียนมีพิมพ์เดียวกันทั้งห้อง หรือทั้งโรงเรียน

      Moji

                ผู้ที่ริเริ่มมีแนวคิดจัดการศึกษาแบบเชิญชวน  คือ ศาสตราจารย์ดร.วิลเลียม  วัตสัน เพอร์กี้  และศาสตราจารย์ ดร. เบตตี้ เฟย์ ซีเกิ้ล  จากมหาวิทยาลัยฟลอริดา (นิรมล  ศตวุฒิ์ : 2551)  ตั้งแต่ปีค.ศ. 1968 

 

                การจัดการศึกษาแบบเชิญชวน  เป็นการจัดการศึกษาที่อยู่บนพื้นฐานของการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่เชิญชวน  ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตผู้เรียน  ทั้งในด้านบุคคล  สถานที่  นโยบาย หลักสูตร  และกระบวนการ  โดยมีหลักการพื้นฐาน  5  ประการ  คือ 

  1. ทุกคนมีความสามารถ(Able) มีคุณค่า  (Valuable) และมีความรับผิดชอบ (Responsible)

  2. การจัดการศึกษาเป็นกิจกรรมที่เป็นความร่วมมือ(Cooperative) และร่วมคิดร่วมทำ(Collaborative)ระหว่างครูและนักเรียน  และบุคลากรทุกคนในโรงเรียนด้วย

  3. กระบวนการเรียนมีส่วนสำคัญเท่ากับผลผลิต

  4. คนทุกคนมีศักยภาพที่ซ่อนอยู่ภายใน

  5. ศักยภาพของมนุษย์สามารถดึงออกมาและพัฒนาได้ดีที่สุดด้วยการออกแบบการจัดสถานที่ นโยบาย หลักสูตร  และกระบวนการ  โดยมีครูเป็นผู้เชิญชวน

        นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่สำคัญได้แก่

แนวคิดที่เกี่ยวกับตนเองว่า

1)ตนเองสามารถพัฒนาได้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่รอบตัวเขา 

แนวคิดที่เกี่ยวกับตนเองว่า

2)ตนเองเป็นระบบนำทาง หมายถึงคนที่มองตัวเองว่าเป็นอย่างไรก็จะแสดงพฤติกรรมออกมาเช่นนั้น 

และแนวคิดใน

3)การมองตัวเองด้านบวก หมายถึงการพูดที่เชิญชวนของครูมีอิทธิพลต่อแนวคิดของนักเรียนต่อตนเองในทางบวก  ในขณะที่การพูดที่ไม่เชิญชวนจะทำให้นักเรียนรู้สึกเจ็บอยู่ได้นานหลายปี  หรือทำให้นักเรียนมองตนเองต่ำไปเรื่อย ๆ

     (มีต่อตอนที่2 ครับ)

 

คำสำคัญ (Tags): #การจัดการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 302159เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2009 16:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะ
  • ได้อ่านแล้วค่ะ ดร.วาสนา แนะนำเช่นกัน
  • ประเทศไทยเรายังใหม่กับระบบนี้แม้จะมีปรากฏอยู่บ้าง 
  • แต่ไม่ได้พัฒนาเป็นระบบชัดเจน  มีให้เห็นเป็นบางส่วน
  • เห็นว่ามีโรงเรียนที่นำไปทดลองใช้อยู่ 1-2 โรงเรียน
  • กำลังรอผลการใช้ที่เป็นทางการอยู่ค่ะ

        ขอบคุณท่าน ผอ.ศักดิ์เดชค่ะ ที่มีความรู้ดี ๆ มาแนะนำ

        "การพูดที่เชิญชวนของครูมีอิทธิพลต่อแนวคิดของนักเรียนต่อตนเองในทางบวก  ในขณะที่การพูดที่ไม่เชิญชวนจะทำให้นักเรียนรู้สึกเจ็บอยู่ได้นานหลายปี  หรือทำให้นักเรียนมองตนเองต่ำไปเรื่อย ๆ"  

        บางครั้งคำพูดบางคำของครู  ที่พูดออกไปโดยไม่คิดหรือไม่ตั้งใจที่จะมีเจตนาร้ายต่อนักเรียน  ก็อาจทำร้ายนักเรียนได้โดยไม่รู้ตัวค่ะ   ทำให้นักเรียนรู้สึกไม่ดีรู้สึกเสียใจไปนาน  และท้อแท้ไม่อยากเรียน  ...ต้องรีบแก้ไขค่ะ 

                                         

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท