พลังของการเรียนรู้ (Learning) เพื่อการพัฒนาครู


การประยุกต์แนวความคิด หลักการของ KM ให้ “เนียน” เข้าไปในห้องเรียนนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

 

คนดีต้องเรียน ต้องรู้ในสิ่งดี
ครูดีก็ต้องเรียน ต้องรู้ในสิ่งดี
คนดี ๆ ก็ต้องขยะแขยงต่อ “สิ่งสกปรก”
เมื่อครูเป็นครูดี ก็จะแขยงต่อความไม่ดีคือ “ความชั่ว...”
ความชั่วของครู คือ การได้ชื่อว่า “ครู” แล้วไม่ทำหน้าที่ของครูให้ดี

การเรียนรู้สิ่งดี ๆ ของครู จึงเป็นจุดเริ่มของ “พลังของการเรียนรู้ (Learning) เพื่อการพัฒนาครู”

การเรียนให้รู้และให้อยู่ในจิตใจนั้นต้องทำ ต้องสัมผัส ถ้าให้ดีต้องใช้ “ชีวิต” เข้าแลก
การเรียนรู้ที่ดีนั้นต้อง “เนียน” เข้าไปในชีวิต
ใช้ชีวิตเราเพื่อเรียนรู้ชีวิตเขา
ชีวิตเรายังไม่ดี ต้องรู้จักเรียนรู้ชีวิตดี ๆ เพื่อให้ความดีเนียนเข้าไปชีวิตเรา ซึ่งใคร ๆ เขาเรียกว่า “ครู...”

กิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่สามารถสร้างพลังการเรียนรู้ได้ คือ ตั้งโจทย์ให้ครูเรียนรู้จาก “เด็กดี...”
การเรียนรู้จากเด็กซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “ศิษย์” นั้น นอกจากที่จะได้รู้จักศิษย์เพื่อที่จะเข้าใจศิษย์มากขึ้นแล้ว ความยิ่ง ยะโส โอ้อวด ทนงว่าตนเป็น “ครู” นั้นก็จะลดลงไปด้วย

ความทนงตนว่าฉันเป็นครู เธอเป็นศิษย์นั้นก็เปรียบได้ดั่งน้ำชาที่ล้นถ้วย
ครูคนใดที่มีน้ำชาที่ล้นถ้วยอยู่ ก็มิอาจจะเรียนรู้สิ่งดี ๆ สิ่งใด ๆ ให้แทรก ให้ซึมเข้าไปใน “ชีวิต” ครูคนนั้นได้เลย...

การเรียนรู้จากเด็กด้วยกิจกรรม “สุนทรียสนทนา” จึงเป็นการเรียนรู้ที่ง่ายที่สุด ประหยัดที่สุด และได้ผลประโยชน์สูงที่สุดวิธีการหนึ่ง

 


เมื่อครูมีศิษย์อยู่ในห้อง ซึ่งห้องนั้นก็เปรียบเสมือน “เวที” ที่เราสามารถจัดกระบวนการดี ๆ ได้
เมื่อครูจัดกระบวนการเพื่อเรียนรู้อยู่กับศิษย์ เพื่อน ๆ อีกหลาย ๆ ชีวิตก็สามารถเรียนรู้ได้ร่วมกัน

 

การเรียนรู้จากตัวอย่างจริง ย่อมมีค่ากว่าตัวหนังสือในหน้ากระดาษ
การประยุกต์แนวความคิด หลักการของ KM ให้ “เนียน” เข้าไปในห้องเรียนนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

KM นั้นต้องอยู่ในห้องเรียน ห้องเรียนที่มี “ครูและศิษย์”
นำ KM เข้ามาคลุกในกระบวนการเรียน การสอน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ไปด้วยกัน
เด็กรู้ ครูรู้ ครูดี เด็กดี

ไม่แบ่งแยกครูไปเรียนที่หนึ่ง แล้วให้เด็กนั่งรอคุณครูที่ลาราชการไปเรียนรู้อยู่อีกที่หนึ่ง
เรียนไป คลุกไป แก้ไข ร่วมเรียนรู้ และพัฒนาการไปด้วยกัน

อาจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้นสามารถยืดหยุ่นเวลาในคาบเรียนเพื่อประยุกต์ใช้ KM ได้สะดวกที่สุด
อุปกรณ์การเรียน การสอนสะดวกและพร้อมพรั่ง
เด็ก ๆ (นิสิต นักศึกษา) กล้าพูด กล้าแสดงออก ปัญหาสำคัญจึงอยู่ที่ตัว “อาจารย์” นี่เอง ว่าจะ Lecture หรือว่าจะจัด “กระบวนการเรียนรู้” เพื่อพัฒนาครูและศิษย์...

การเปิดโอกาสของผู้บริหารสถานศึกษาก็เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง
ถ้าผู้บริหารเปิดไฟเขียว สนับสนุน ส่งเสริม หรือเพียงแค่ “ขยิบตา” ให้สักหน่อยหนึ่ง ครู และอาจารย์รุ่นใหม่ ไฟแรง ก็พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนการสอน...

G2K เป็นเวทีรองรับในการนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้
G2K มีกัลยาณมิตรที่คอยดู คอยแก้ไข
“เครือข่ายเสมือน (Visual Network)” ใน G2K นี้ สามารถทำหน้าที่ได้ดีเช่นเดียว 7-11 เพราะเปิดอยู่ 24 ชั่วโมง

ข้อความ ตัวอักษร รูปภาพ เสียง พร้อมพรั่ง อีกทั้งมี “ผู้รู้” ที่ไม่ยืนอยู่บนผลประโยชน์คอยให้คำปรึกษา

ตอนนี้ทุกภาคส่วนในระบบ ในเครือข่ายนั้นพร้อมที่จะ “เสริมสร้างพลังของการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาครู” แล้ว
เหลือเพียงครูที่จะก้าวลงมาละเลง ลงมาเล่นในเวทีนี้เท่านั้น

เวทีการพัฒนาการเรียนรู้นี้ ขอเพียงแค่มีใจก็ทำได้
ถึงแม้นจะอยู่ในโครงการ นอกโครงการ จะมีชื่อ หรือไม่มีชื่อ ขอเพียงเรามีใจรักใน “พัฒนาการของความเป็นครู” เท่านั้น ทุก ๆ ท่านก็เริ่มทำได้ในวันนี้ ณ เวลานี้

เวลานี้เป็นโอกาสที่ดีแล้ว ที่เราจะได้เริ่มต้นเพิ่มพลังของการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาครูซึ่งอยู่ในจิตในใจของเรา
พัฒนาวิญญาณของความเป็นครูที่ดีในตัวเองให้เกิดให้มี เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาไทยในทศวรรษที่สองนี้สำเร็จจริง...  
  


 

หมายเลขบันทึก: 301945เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2009 21:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อืม.......

ครูกล้าไหมนะ ที่จะกระโดดลงมาสู่การเปลี่ยนแปลง

กล้าไหมนะที่จะ เริ่มยอมรับความโง่ของตนเอง

กล้าไม่ที่จะเสียสละ ความชั่วในใจ ละวางมันลง

เเล้วเปิดใจ เปิดตา เปิดหู รับรู้คุณความดี ของสิ่งรอบตัว

 

ถ้าครู ยอมรับสิ่งเหล่านี้ ได้อย่างไม่มีเงื่อนไข

ใจจะค่อย ๆ สว่างไสว จะรักศิษย์

ทั้งที่เรียนดี และเรียนแย่

จะส่งเสริม เขาเหล่านั้นให้เดินในเส้นทางที่เหมาะกับตนเอง

ไม่ใช่เพียงแค่นักเรียน นักศึกษา ที่เกรดดีเท่านั้น

ที่จะเข้าไปสร้างสรร สิ่งดี ๆ ให้สังคมได้

หากครูเปิดใจ มองข้าม มาตรวัด

ทางสังคม หรือ เกณต่าง ๆ จะมองเห็น สิ่ง ดี ๆ

และความสามารถ ที่มีในศิษย์ อย่างแท้จริง

 

แล้วหากลศโลบาย ที่จะ เเง้ม

ส่วนดี ของศิษย์ ออกมา ให้เกิดประโยชน์แก่สังคม

 

กิจกรรมที่ดีๆ

เยี่ยมมากค่ะ

ก็กำลังรอดูอยู่ว่าครูจะกล้าหรือเปล่า...?

แต่ว่าก็ว่าเน๊อะ ศักดิ์ศรีของ "ครู" นั้นค้ำคออยู่ จะทำอะไรแบบนี้ก็ค่อนข้างยาก...

ถึงแม้นรู้ว่าดี มีประโยชน์ แต่จะทำก็ "เสียศักดิ์ศรี"

เฮ้อ... ประเทศไทย ทำไมศักดิ์ศรีมันเยอะจัง

สังคมครูเป็นสังคมที่แตะต้องลำบาก พูดมากก็ไม่ได้

เอานะ ถ้ากล้าก็ทำ ถ้าไม่กล้าก็ (แอบ) ทำ...

ไม่ต้องบอกใครก็ได้ ทำไปเอา "บุญ" ก็ยังดี

พัฒนาตัวเองเพื่อลูกศิษย์หน่อย ถึงแม้นจะไม่ได้เงิน ไม่ได้ตำแหน่ง ถ้าจิตใจยังเชื่อเรื่องบุญเรื่องกรรมอยู่ ก็นึกว่าช่วยเด็กเอาบุญ...

แต่ครูดี ๆ ก็มีเยอะนะเจ้าค่ะ

หลายท่าน ทำเพราะทำแล้ว มีความสุข

ยิ่งเห็นศิษย์ก้าวหน้าก็มีความสุข

ท่านเหล่านี้ มักจะไม่ดัง

แต่ท่านมีความสุข แบบเงียบ ๆ อย่างที่ท่านเป็น

 

ขอเทิดทูนบูชาคุณความดีของครูเจ้าค่ะ

คนดีมีเยอะ แต่หายาก

คนไม่ดีมีเยอะกว่า และก็หาง่ายกว่า

เด็ก ๆ ก็เลยหาเจอแต่ครูไม่ดี ก็เลยได้ตัวอย่างที่ไม่ดีตามไปด้วย

เด็กคนไหนทำบุญมามากก็จะได้เจอครูดี

เจอครูดีก็ "สบาย" ไม่หลงทิศ หลงทาง

ครูเก่งมีเยอะ ครูดีมีน้อย

เด็กเดี๋ยวนี้ก็เลยเก่งแต่ไม่ดี

มีแต่ตัวอย่างความเก่ง ขาดตัวอย่างความดี ก็เลยเอาความเก่งไปใช้ในทางที่ "ไม่ดี..."

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท