จี้ใจได้สาระ (การวางเงื่อนไขให้จดจำได้ดี)


             พาฟลอฟ  ผู้ให้กำเนิดแนวทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข  เขาได้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของปฏิกิริยาตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยทำการทดลองกับสุนัขพบว่า น้ำลายที่ไหลจากปากของสุนัขในขณะมีอาหารนั้น ไม่ได้เกิดจากอิทธิพลของอาหารในปาก  แต่เกิดจากการมองเห็นอาหารของสุนัข  การมองเห็นอาหารมีอิทธิพลต่อการไหลของน้ำลาย    และการได้กินอาหารก็จะทำให้เกิดน้ำลายไหล
ซึ่งเป็นการเรียนรู้ของสุนัข
            พาฟลอฟเชื่อว่า  การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข  การตอบสนองหรือ
การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้านั้น ๆ  ต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น  ซึ่งครูผู้สอนหลายคนได้ประยุกต์ทฤษฎีนี้มาใช้ในการสร้างเงื่อนไขให้นักเรียนสามารถจดจำเนื้อหาต่าง ๆ ได้ดี ที่เราเคยเรียนกันมา ครูสอนภาษาไทยมักจะมีเงื่อนไขในการจดจำให้เราหลายเรื่อง มีทั้งเป็นบทกลอนหรือคำประพันธ์ลักษณะต่าง ๆ เช่น
                                “ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่   ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ…”
                                  (สอนเรื่องคำที่ใช้สระ  “ใ”  20 คำ)
                                “บันดาล  ลงบันได  บันทึกไว้ให้จงดี…”
                                  (สอนเรื่องคำที่ใช้  “บัน”)
                                หรือบางทีก็เป็นคำที่ช่วยในการจำ  เช่น
                                “ไก่จิกเด็กตาย  บนปากโอ่ง”
                                  (สอนเรื่องอักษรกลาง)
                                “ผีฝากถุงข้าวสารให้ฉัน”
                                  (สอนเรื่องอักษรสูง)
            ยังมีการสร้างเงื่อนไขให้จดจำได้ดีอีกหลายเรื่อง  ที่เราจำคุ้นหูกันมากตั้งแต่เด็กจนโต
แต่มีครูสอนวิชาสุขศึกษาคนหนึ่ง   สร้างเงื่อนไขให้นักเรียนจดจำเกี่ยวกับประโยชน์ของวิตามินต่าง ๆ ได้อย่างน่าสนใจ  ใครจะจำไปใช้ก็ได้นะ (แต่อย่าหลงแต่สอนให้จำอย่างเดียวล่ะ)
                                “ เอ  -  ตา           (ป้องกันตาฟาง)
                                   บี  -  ชา           (ป้องกันเหน็บชา)
                                   ซี  -  ฟัน          (ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน)
                                   ดี  -  ดูก           (ทำให้กระดูกแข็งแรง)
                                   อี  -  หมัน         (ป้องกันการเป็นหมัน)
                                   เค  -  แข็ง         (ช่วยให้โลหิตแข็งตัวเร็วขึ้น)”
                       §§§  ครูที่เก่งจะสร้างสรรค์กลวิธีในการสอนเด็กได้เสมอ
 
หมายเลขบันทึก: 30190เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2006 07:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท