การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา


การประกันคุณภาพการศึกษา

2.การจัดการความรู้ เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา

 

หลักการและแนวคิด

2.1 คำศัพท์และความหมาย

                 การประกันคุณภาพ (Quality Assurance: QA)  หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งได้รับการวางแผนและจัดระบบแล้วในกระบวนการบริหารคุณภาพ    ที่ช่วยสร้างความมั่นใจว่าจะได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้(Harrington and Mathers, 1991:22)  

                  การประกันคุณภาพการศึกษา    หมายถึงการดำเนินการตามมาตรการ   หรือระบบที่สร้างความมั่นใจ  พึงพอใจประทับใจ   ต่อสังคมว่าสถานศึกษาที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน    สามารถจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ    ผู้จบการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้   (กรมสามัญศึกษา,2540 : 3 และ สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์, 2540 : 1)

 

                    การประเมินคุณภาพภายนอก คือ การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เพื่อมุ่งให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ผู้ประเมินภายนอกหรือคุณหมอโรงเรียนมีความเป็นอิสระ และเป็นกลาง ไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกับการประเมินคุณภาพภายนอกจะนำไปสู่การเข้าถึงคุณภาพการศึกษาด้วยความเป็นกลาง เพื่อสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างแท้จริง

               

                การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)  หมายถึง   การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร  ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ  เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้  และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้  รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด   โดยที่ความรู้มี  2 ประเภท คือ

       - ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน  (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์  พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ   เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย  เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง  จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

       - ความรู้ที่ชัดแจ้ง  (Explicit Knowledge)  เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้  โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

 

2.2 กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process)  

        เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้  หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร 

         ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้

1.การบ่งชี้ความรู้ – เช่นพิจารณาว่า วิสัยทัศน์/ พันธกิจ/ เป้าหมาย คืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องรู้อะไร , ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง, อยู่ในรูปแบบใด, อยู่ที่ใคร

2. การสร้างและแสวงหาความรู้ – เช่นการสร้างความรู้ใหม่, แสวงหาความรู้จากภายนอก, รักษาความรู้เก่า, กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว

3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ - เป็นการวางโครงสร้างความรู้  เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบในอนาคต

4.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ – เช่นปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน, ใช้ภาษาเดียวกัน, ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์

5.การเข้าถึงความรู้ – เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT), Web board ,บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

6การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ – ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็น เอกสาร, ฐานความรู้, เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน, กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม, ชุมชนแห่งการเรียนรู้, ระบบพี่เลี้ยง, การสับเปลี่ยนงาน, การยืมตัว, เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น

7.การเรียนรู้ – ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จาก  สร้างองค์ความรู้>นำความรู้ไปใช้>เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

 

2.3 หลักในการจัดการความรู้โดยใช้ โมเดลปลาทู

2.4 ขั้นตอนและการดำเนินการจัดความรู้ เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา

  จากกระบวนการและหลักการจัดการความรู้ โดยอาศัย โมเดล ปลาทู สามารถนำมาใช้ในการจัดการความรู้ เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา ได้ดังนี้

1.แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการความรู้เรื่อง การประกันคุณภาพทางการศึกษา

โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงาน ตาม โมเดลปลาทู (ประกอบไปด้วย คุณกิจ คุณเอื้อ คุณอำนวย)

2.กำหนดเป้าหมาย ของการจัดการความรู้

                เป้าหมายในการจัดการความรู้ เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้ครูและบุคลากรของสถานศึกษามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา

3.จัดเตรียมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ การประกันคุณภาพการศึกษา รวมถึงการเชิญวิทยาการที่มีความรู้ความสามารถในเรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา และบุคลากรในโรงเรียนที่มีความรู้เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา(คุณเอื้อและคุณอำนวย)

4.กำหนดวัน เวลา และ สถานที่ในการจัดการความรู้

5.ดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา ตามลำดับดังนี้

       5.1 ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม(คุณกิจ)จัดการความรู้ เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา

รับฟังการบรรยายจากวิทยาการที่รับเชิญมาบรรยาย (คุณเอื้อ)

       5.2 ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจัดการความรู้เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา อภิปราย

และสรุปสาระสำคัญที่ได้จากวิทยากร โดยมีคนค่อยดำเนินการ(คุณอำนวย)

       5.3 แจกเอกสาร เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา (ความรู้) ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม(คุณกิจ)

ได้ศึกษาและทำความเข้าใจในประเด็นต่าง ๆ ในการดำเนินการประกันคุณภาพ

        5.4 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจัดการความรู้เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา แต่ละคน ดำเนินการสรุปและบันทึกความรู้ที่ตนเองได้ลงในกระดาษ (สร้างความรู้)

        5.5 คณะกรรมการ(คุณอำนวย)ที่ได้รับการแต่งตั้งดำเนินการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

(คุณกิจ)ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้เองได้ให้กับกลุ่มหรือให้รับผู้เข้าร่วมกิจกรรมคนอื่นได้รับฟังและแสดงความคิดเห็น

        5.6 ดำเนินการสรุปความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้เรื่องการประกันคุณภาพ

        5.7 คณะกรรมการดำเนินการจัดทำเป็นเอกสาร หรือ สารสนเทศ ที่ได้จากการจัดการ

ความรู้เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา (สร้างคลังความรู้)

       5.8  นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ต่อไป

 

    2.5 การจัดการความรู้เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา มีประโยชน์ต่อสถานศึกษา 

                1.ด้านผู้เรียน เป็นตัวช่วยและส่งเสริมให้ผู้เรียน มีมาตรฐาน ตามที่การประกันคุณภาพการศึกษา มากขึ้น และเป็นข้อมูลในการพัฒนาผู้เรียนให้ตรงประเด็นของปัญหา

 

                2.ด้านตัวครู จากการจัดการความรู้เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา ทำให้ครูมีความรู้และความเข้าใจ ในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษามากขึ้น ซึ่งเป็นตัวช่วยในการพัฒนาการศึกษาให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้

                3.ด้านการบริหาร ทำให้คณะบริหารดำเนินการได้เป็นไปตามเป้าหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา ถูกต้อง ตรงประเด็น ตรงจุด แก้ไขได้

                                 อ้างอิง

 “การประกันคุณภาพการศึกษา . ”. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก:  http://www.seameo.org/vl/articles

              /assurance.htm

“การประกันคุณภาพภายนอก . ”. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก:  http://school.obec.go.th/sup_br3/q_2.htm

“คู่มือการจัดการความรู้ . ”. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก:  ww.person.ku.ac.th/training/kukm/article

            /handbook_2549.doc

หมายเลขบันทึก: 300751เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2009 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะเข้ามาเพิ่มพูนความรู้ค่ะ

ดีครับมาใหม่ครับ

ยังไม่รู้เรื่องระบบเลย...

ช่วยแนะนำด้วยนะครับ...

ดีครับมาใหม่ครับ

ยังไม่รู้เรื่องระบบเลย...

ช่วยแนะนำด้วยนะครับ...

เรื่องความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน

ก็สามารถถามผมได้นะครับ.....

..เพราะทำงานด้านนี้อยู่โยตรง...

ระบบ (system) อะไรครับ ระบุให้ชัดเจนหน่อยครับ

ผ่านการประเมินรอบแรกแล้ว แต่รอบ2จะผ่ายมั้ยน้อ

จุฑาทิพย์ บัวจันทร์

ไม่รู้ว่าจะให้อะไรน้อ

สวัสดีครับ มาร่วมเรียนรู้การจัดการความรู้ด้วยคนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท