พรบ.ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าไม่ปลอดภัย พศ.2551


ผู้ประกอบการทุกคนต้องร่วมกัน รับผิดชอบต่อผู้เสียหาย ในความเสียหายที่เกิดจากสินค้าไม่ปลอดภัยและสินค้านั้นได้ มีการขายให้ผู้บริโภคแล้ว

ไปประชุมเรื่องงานคุ้มครองผู้บริโภคมาครับ กลับมาก็…...... ไม่รู้จะเขียนอะไรดี (แหะ แหะ )เพราะว่าที่ไปฟังมา นะครับ มันมีแต่เรื่องของกฎหมาย มาตรานู้น มาตรานี้ ......จำไม่ได้หรอกครับ ........เรื่องไกลตัว 

  ไอ้ที่  จะยกมาทั้ง พรบ. แล้ว copy & paste ก็ง่ายไปหน่อย เลยคิดว่าจะสรุป พรบ. ตัวใหม่อย่างย่อๆ ที่เป็นเรื่องใกล้ตัว ให้อ่านกันดีกว่า

                พรบ.ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าไม่ปลอดภัย พศ.2551

ใจความสำคัญ   ผู้ประกอบการทุกคนต้องร่วมกัน รับผิดชอบต่อผู้เสียหาย ในความเสียหายที่เกิดจากสินค้าไม่ปลอดภัยและสินค้านั้นได้ มีการขายให้ผู้บริโภคแล้ว

มาดูนิยามของแต่ละคำกันดีกว่า

ผู้ประกอบการ คือ 

1.ผู้ผลิต

 2.ผู้นำเข้า

3.ผู้ขาย (การให้เช่า / แจกฟรี ก็ถือเป็นการขายรูปแบบหนึ่ง )

สินค้า คือ สังหาริมทรัพย์ทุกชนิด รวมทั้งผลผลิตทางเกษตรกรรม ไฟฟ้า น้ำ ฯลฯ ยาก็เป็นสินค้าชนิดหนึ่งนะครับ

ผลิต คือ การทำ ผสม ปรุงแต่ง ประกอบ แปรสภาพ เปลี่ยนรูป ดัดแปลง แบ่งบรรจุ แช่แข็ง ฯลฯ (การ prepack ยาก็เป็นการผลิตอีกแบบหนึ่ง)

ผู้ค้ำประกัน คือ ผู้ซื้อ

สินค้าไม่ปลอดภัย คือ สินค้าที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ ไม่ว่าจะเกิดจาก ความบกพร่องในการผลิต หรือ ออกแบบ ไม่ได้บอกวิธีใช้ วิธีเก็บ คำเตือน ข้อมูลรายละเอียด ไม่ถูกต้อง หรือ ไม่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น นม เดิม ปลอดภัย มีฉลากข้อมูลถูกต้อง แต่หากเจือปน เมลามีน ก็ทำให้เกิดความเสียหาย เนื่องจาก บกพร่องในการผลิต แต่ !!! ถ้าสินค้านั้นมีอันตรายอยู่แล้ว ผู้บริโภคก็ทราบแต่ก็ยังบริโภคเข้าไป ก็ไม่ถือว่าเป็นสินค้าไม่ปลอดภัย เช่น ยาฆ่าแมลง

ความเสียหาย ครอบคลุม ชีวิต ทรัพย์สิน และ จิตใจ

องค์ประกอบในการฟ้องร้อง ต้องมี 3 สิ่งนี้ จึงจะฟ้องกันได้

1.ผู้บริโภค – ผู้ประกอบการ

2.การซื้อขาย

3.สินค้าและบริการที่ไม่ปลอดภัย

ข้อดีของ พรบ. นี้คือ

1.พิจารณารวดเร็ว ภายใน 3 ปี (รับพิจารณาตั้งแต่เกิดเหตุการรณ์ใน 10 ปี)

2.สามารถเดินไปฟ้องด้วยวาจาที่ศาลก็ได้ หรือใช้เอกสารแบบการฟ้องทั่วไปก็ได้

3.ประหยัด (ยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม)

4.คำนึงถึงผลกระทบทางจิตใจผู้เสียหายด้วย

แถมอีกนิด ผู้ประกอบการก็ฟ้องผู้บริโภคได้เหมือนกันนะครับ  บ่อยด้วย  เช่น กรณีบัตรเครดิต หรือ สหกรณ์ ฟ้องสมาชิก

ภก.ชวิศ บำเพ็ญอยู่  

หมายเลขบันทึก: 300728เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2009 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

แค่เขียนเล่นๆก็ได้เนื้อหา ถ้าตั้งใจจริงจะขนาดไหนเนี่ย / boss

ก็เป็นสรุปประเด็นสำคัญแล้วค่ะ จะตามมาอ่านอีก เรื่องใกล้ตัวที่จะต้องรู้ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

เพิ่งรู้ว่าการแจกฟรีก็ถือเป็นการขายรูปแบบหนึ่ง (ต้องรับผิดชอบด้วย)

ถ้าจะแจกอะไรก็คงต้องระมัดระวังกันแล้วนะเนี่ย

อนุเทพ

วันก่อนผมไปกรุงเทพฯ..รถบัสเสีย หยุดซ่อมตั้งแต่เที่ยงยันสี่โมงเย็น โดยไม่ยอมเอารถมาเปลี่ยน..
ร้องเรียนไปแล้วก็ไม่เกิดผล...

นี่คือ อีกหนึ่งชะตากรรมที่ผมประสบในฐานะผู้บริโภคที่ถูกละเลย..อย่างน่าเจ็บใจ
สรุปว่าวันนั้น ถึงกรุงเทพฯ เกือบๆ 4 ทุ่มเศษ เลยทีเดียว

อ่านแล้ว เข้าใจความหมายของคำว่าสินค้าไม่ปลอดภัย มากขึ้นกว่าเดิม

มะลิเครือ

นี่ไม่รู้จะเขียนไร

ยังได้ไรตั้งเยอะแยะ

ถ้าตั้งใจละก้อ สงสัยต้องอ่านสามวันสามคืนถึงจะจบ

แต่ก็ดูตั้งใจดี

ขอชื่นชมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท