ครูหนิง
นางสาว สุดาวรรณ หนิง เต็มเปี่ยม

TQM ภาคต่อ


TQM

แนวทางการส่งเสริม TQM  ภายในองค์กร

                1.  ผู้บริหารระดับสูงต้องมีศรัทธาและมีความเชื่อมั่นว่า TQM  จะสามารถช่วยปรับปรุงพัฒนาองค์กรได้อย่างยั่งยืน

                2.  นำ TQM มาเป็นนโยบายในการบริหารธุรกิจ และประกาศให้พนักงานทุกคนได้รับรู้

                3.  จัดตั้งหน่วยงานส่งเสริม TQM  เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการผลักดันการดำเนินงานต่าง ๆ ในกิจกรรม TQM   ให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม

                4.  จัดตั้ง TQM  Steering   Committee   โดยมีกรรมการผู้จัดการเป็นประธาน เพื่อกำหนดนโยบาย, ผลักดันการดำเนินการ, ติดตามผลและแก้ปัญหาหลัก ๆ ในการทำกิจกรรม TQM

                5.  หาที่ปรึกษา (Consultant)  หากคิดว่าจำเป็น

                6.  กำหนด  Road Map ของการทำ TQM  และแผนงานหลัก

                7.  ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนงานที่กำหนด

                8.  ดำเนินการลงมือปฏิบัติในกิจกรรมต่าง ๆ ของ TQM

                9.  ผู้บริหาระดับกลางตรวจสอบการปฏิบัติและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

                10.ผู้บริหารระดับสูงตรวจวินิจฉัย (Diagnosis)  ผลการดำเนินงาน TQM เป็นระยะๆ

                11.ประเมินผลงานประจำปี

 

บทบาทของผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ในการทำกิจกรรม TQM

ผู้บริหารระดับสูง

“ศรัทธาต้องมาก่อน  ถ้าเบอร์ 1  ไม่เอาก็อย่าเสียแรงทำ”

                1.  กำหนดวิสัยทัศน์, นโยบายและเป้าหมายของการทำกิจกรรม TQM  ซึ่งควรกำหนดเป้าหมายทั้งระยะสั้น  ระยะกลางและระยะยาว

                2.  กำหนด  Road Map และแผนงานหลักของการทำ TQM

                3.  แสดงความมุ่งมั่น มีความเป็นผู้นำและสร้างวัฒนธรรมแบบ TQM

                4.  มอบหมาย และกระจายนโยบายสู่การปฏิบัติ

                5.  สนับสนุนในทุก ๆ ด้าน

                6.  แสดงความเป็นผู้นำและเป็นตัวอย่างที่ดีในการทำกิจกรรม

                7.  ตรวจวินิจฉัยและพัฒนาระบบที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น

ผู้บริหารระดับกลาง

“ต้องทำงานหนักขึ้น เพราะรับทั้งบนและล่าง”

                1.  รับผิดชอบและสนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติกิจกรรม TQM  ในหน่วยงานของตนให้สอดคล้องกับนโยบายของผู้บริหารระดับสูง

                2.  อบรมให้ความรู้และจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาให้ร่วมมือกันทำกิจกรรม

                3.  ติดตามความคืบหน้าและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน

                4.  สร้างมาตรฐานและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาในการปฏิบัติ

                5.  กระตุ้นและสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน

                6.  ประสานงานและร่วมมือกับส่วนงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

ผู้บริหารระดับล่าง

“ขาดฟันเฟืองตัวเล็ก ๆ อย่าหวังจะให้ระบบเดิน”

                1.  ควบคุมการปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่สร้างขึ้น

                2.  จูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาให้ร่วมมือกันทำกิจกรรม

                3.  ตรวจสอบและติดตามปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติและรายงานให้ผู้บังคับบัญชารับทราบ

                4.  รับทราบข้อมูลที่จำเป็นจากพนักงาน

                5.  ให้ข้อมูลทางด้านเทคนิคที่จำเป็นแก่ผู้บริหารระดับกลางเพื่อปรับปรุงงาน

                ในช่วงเริ่มต้นของการทำ TQM มาประยุกต์ใช้ในองค์กรเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องมีความมุ่งมั่นและใช้ความพยายามเป็นอย่างสูง   เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการบริหารและพฤติกรรมการทำงานของพนักงาน  ซึ่งพนักงานในองค์กรอาจไม่เคยชินและเกิดการต่อต้าน  ดังนั้นผู้บริหารจึงควรชี้แจงถึงความจำเป็นและประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับจากการกิจกรรม TQM   ให้ชัดเจนเพื่อลดปัญหาดังกล่าวให้น้อยลง   และหลังจากที่ได้ทำ  TQM  ด้วยวิธีการที่ถูกต้องไปสักระยะหนึ่งแล้ว   จะเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงขององค์กรในทิศทางที่ดีขึ้น   องค์กรมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น และสามารถดำรงอยู่ได้ในธุรกิจระยะยาว

 

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ TQM

                การนำ TQM มาใช้ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เพราะ TQM เป็นเรื่องที่ซับซ้อน ละเอียดอ่อน และเกี่ยวข้องกับทุกคนองค์การ ดังนั้น ถึงแม้ผู้บริหารจะดำเนินการตามขั้นตอนการนำ TQM ไปปฏิบัติ แบบเปิดตำราทำ (Open Book Approach)แล้วก็ตาม โครงการ TQM ก็อาจจะล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า เพราะผู้ปฏิบัติขาดความเข้าใจ และไม่ตระหนักถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลว

ในการเปลี่ยนแปลงองค์การ  ที่เรียกว่า  กุญแจแห่งความสำเร็จ (Key Success Factors) หรือ

KSFs

คำสำคัญ (Tags): #tqm
หมายเลขบันทึก: 300379เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2009 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 15:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆนะน้องสาว เยี่ยมมากจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท