คุณธรรมและจริยธรรม (๔)


มาตรฐานการปฏิบัติตนและจรรยาบรรณวิชาชีพด้านการศึกษา 

          สำหรับนักบริหารศึกษา คุรุสภาได้กำหนดมาตรฐานด้านความรู้ด้านคุณธรรมและจริยธรรมและมาตรฐานการปฏิบัติตน สำหรับ ครูและอาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ดังนี้

          1. ครูและอาจารย์  จากเอกสารวิชาการลำดับที่ 1/2548 ได้กำหนดให้ครูและอาจารย์ มีความเป็นครูด้วยคุณสมบัติด้านคุณธรรมและจริยธรรม ดังนี้

          1) มาตรฐานความรู้ : ความเป็นครู

                  สาระความรู้ 

                   (1) ความสำคัญของวิชาชีพครู บทบาทหน้าที่ ภาระงานของครู

                   (2)   พัฒนาการของวิชาชีพครู

                   (3)   คุณลักษณะของครูที่ดี

                   (4)   การสร้างทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู

                   (5)   การเสริมสร้าง ศักยภาพและสมรรถภาพความเป็นครู

                   (6)   การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และการเป็นผู้นำทางวิชาการ

                   (7)   เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู

                   (8)   จรรยาบรรณของวิชาชีพครู

                   (9)   กฎหมายที่เกี่ยวข้องการศึกษา

            สมรรถนะ 

                   (1)   รัก เมตตาและปรารถนาดีต่อผู้เรียน

                   (2)   อดทนและรับผิดชอบ

                   (3)   เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และเป็นผู้นำทางวิชาการ

                   (4)   มีวิสัยทัศน์

                   (5)   ศรัทธาในวิชาชีพครู

                   (6)   ปฏิบัติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครู

                   2) มาตรฐานการปฏิบัติตน

จรรยาบรรณต่อตนเอง 

          (1)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ

จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ

          (2)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ 

จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ

          (3)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  ต้องรัก  เมตตา  เอาใจใส่  ช่วยเหลือ  ส่งเสริม      ให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า

          (4)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

          (5)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

          (6)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ

          (7)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ 

จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ

          (8)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

จรรยาบรรณต่อสังคม

          (9)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

 

          2. ผู้บริหารสถานศึกษา จากเอกสารวิชาการลำดับที่ 1/2548 ได้กำหนดให้ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีคุณสมบัติด้านคุณธรรมและจริยธรรม ดังนี้

          1) มาตรฐานความรู้ : คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา

            สาระความรู้

                   (1)   คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร

                   (2)   จรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา

                   (3)   การพัฒนาจริยธรรมผู้บริหารให้ปฏิบัติตนในกรอบคุณธรรม

                   (4)   การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) 

          สมรรถนะ

                   (1)   เป็นผู้นำเชิงคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

                   (2)   ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา

                   (3)   ส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้ร่วมงานมีคุณธรรมและจริยธรรมที่เหมาะสม

                   2) มาตรฐานการปฏิบัติตน

จรรยาบรรณต่อตนเอง

          (1)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ

จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ

          (2)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ

          (3)  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  ต้องรัก  เมตตา  เอาใจใส่  ช่วยเหลือ  ส่งเสริม  ให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า

          (4)  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

          (5)  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

         (6)  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์และรับบริการ

          (7)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ 

จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ

         (8)  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ 

จรรยาบรรณต่อสังคม

          (9)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

          3.  ผู้บริหารการศึกษา จากเอกสารวิชาการลำดับที่ 1/2548 ได้กำหนดให้ผู้บริหารการศึกษาควรมีคุณสมบัติด้านคุณธรรมและจริยธรรม ดังนี้

          1) มาตรฐานความรู้ : คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารการศึกษา

          สาระความรู้

                   (1)   คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร

                   (2)   จรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา

                   (3)   การพัฒนาจริยธรรมผู้บริหารให้ปฏิบัติตนในกรอบคุณธรรม

                   (4)   การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)

          สมรรถนะ

                   (1)   เป็นผู้นำเชิงคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

                   (2)   ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา

                   (3)   ส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้ร่วมงานมีคุณธรรมและจริยธรรมที่เหมาะสม

          2) มาตรฐานการปฏิบัติตน

 จรรยาบรรณต่อตนเอง

          (1)  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ

จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ

          (2)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ

          (3)  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  ต้องรัก  เมตตา เอาใจใส่  ช่วยเหลือ  ส่งเสริม  ให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า

          (4)  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

          (5)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

          (6)  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ

          (7)  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

 

จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ

          (8)  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

จรรยาบรรณต่อสังคม

          (9)  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

          4.2.4  ศึกษานิเทศก์ จากเอกสารวิชาการลำดับที่ 1/2548 ได้กำหนดให้ศึกษานิเทศก์ควรมีคุณสมบัติด้านคุณธรรมและจริยธรรม ดังนี้

          1) มาตรฐานความรู้ : คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับศึกษานิเทศก์

            สาระความรู้

                   (1)   คุณธรรมจริยธรรมสำหรับศึกษานิเทศก์

                   (2)   จรรยาบรรณของวิชาชีพศึกษานิเทศก์

                   (3)   การพัฒนาจริยธรรมผู้บริหารให้ปฏิบัติตนในกรอบคุณธรรม

                   (4)   การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)

          สมรรถนะ

          (1)   ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพศึกษานิเทศก์

          (2)   มีหลักธรรมในการนิเทศและประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดี         

          2) มาตรฐานการปฏิบัติตน

จรรยาบรรณต่อตนเอง

          (1)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ

 

จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ

          (2)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ

            (3)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  ต้องรัก  เมตตา เอาใจใส่  ช่วยเหลือ  ส่งเสริม  ให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า

          (4)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

          (5)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

          (6)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ

          (7)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ

          (8)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

จรรยาบรรณต่อสังคม

          (9)   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

          การปฏิบัติตนตามแบบแผนพฤติกรรมจรรยาบรรณของวิชาชีพถือเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ผู้ที่ประกอบวิชาชีพจึงควรตีองตระหนักและใส่ใจที่จะปฏิบัติตามโดยยึดถือว่าเป็น “ศีลของผู้ประกอบวิชาชีพ”  สมควรที่จะต้องหมั่นทบทวนและปฏิบัติตามซึ่งนอกจากจะช่วยไม่ให้กระทำผิดจนเกิดการร้องเรียนทำให้เสียหายแล้วยังเป็นการยกระดับความเป็นวิชาชีพชั้นสูงทั้งของตนและองค์กรวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยรวม เป็นที่ยอมรับ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ปรากฏต่อสาธารณชนมากขึ้นอันจะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของไทยในอนาคตด้วย

 

การพัฒนาและการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม

          มนุษย์ไม่ได้เกิดมาพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม การเกิดปัญหาด้านจริยธรรมของสังคมจึงอยู่ในความรับผิดชอบของทุกคนในฐานะปัจเจกบุคคล ในฐานะสมาชิกของสังคมและในฐานะผู้ให้การอบรมเลี้ยงดูแก่บุคคลในสังคม มนุษย์เกิดมาพร้อมด้วยความต้องการที่จะดำรงชีวิตให้มีความสุขและได้รับสิ่งที่ต้องการเพื่อความอยู่รอดของชีวิต มนุษย์จึงมักจะดิ้นรนแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองเป็นที่ตั้ง ความต้องการทำให้เกิดเป็นกิเลสของความอยากซึ่งอาจนำไปสู่การทำร้ายผู้อื่นได้ การที่จะทำให้มนุษย์ตระหนักว่าการการมีความสุขแต่เพียงผู้เดียวอาจจะเป็นการทำร้ายผู้อื่น และผลสะท้อนกลับมาทำร้ายตนเองในที่สุด การปลูกฝังให้มนุษย์รู้จัก ผิด ชอบ ชั่ว ดี และการมีความสุขที่ยั่งยืน คือ การให้ความรู้และประสบการณ์เป็นสิ่งที่จำเป็น

1. การกล่อมเกลาทางสังคมและการพัฒนาด้านคุณธรรมและจริยธรรม

        มนุษย์เป็นสัตว์สังคมจึงต้องเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม การเรียนรู้กฎเกณฑ์ทางสังคมที่ต้องปฏิบัติร่วมกันเป็นสิ่งที่จำเป็นบุคคลที่ได้รับการกล่อมเกลาอย่างต่อเนื่องจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข การเรียนรู้ทางสังคมจะทำให้บุคคลมีวิถีชีวิตตามระเบียบแบบแผนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของสังคม การได้รับการอบรมสั่งสอนและให้ความรู้ตลอดจนปลูกจิตสำนึกในด้านคุณธรรมจริยธรรมตั้งแต่ในวัยเด็กจะทำให้บุคคลนั้นมีความคิดที่สอดคล้องกับคุณธรรมและจริยธรรมในระดับสากลและในระดับสังคมได้

        มนุษย์ในสังคมจะได้รับการดูแลจากหน่วยสังคมต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย หน่วยสังคมต่าง ๆ เหล่านี้จะคอยชี้แนะสั่งสอน และให้คุณค่าทางจริยธรรม หน่วยสังคมเหล่านี้รวมเรียกว่า สังคมประกิต ซึ่งประกอบด้วย ครอบครัว โรงเรียน เพื่อน สื่อสารมวลชน และศาสนา  การอบรมสั่งสอนของหน่วยสังคมเหล่านี้เป็นไปได้ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ผลของการกล่อมเกลาทางสังคมทำให้บุคคลที่อยู่ในวัยเด็กมีค่านิยมและจริยธรรมที่สอดคล้องกับตัวแบบทั้งในด้านบวกและด้านลบได้  

          1.1 คุณลักษณะของความเป็นคนดี  ในสังคมหนึ่ง ๆ อาจจะมีคุณลักษณะรายละเอียดปลีกย่อยของความเป็นคนดีที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่โดยรวมแล้วคุณลักษณะที่ดีนั้นมักจะเป็นคุณลักษณะที่เป็นพื้นฐานสากล ฮูอิทท์ (Huitt, 2002) กล่าวถึงคำนิยามของคุณลักษณะที่ดีว่าจะต้องมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ดังนี้

          1) มีความรับผิดชอบ ซึ่งเน้นว่าต้องรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีคุณธรรม คือรู้ว่าควรทำอย่างไรจึงจะถูกต้องและไม่ทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเสียหาย และแสดงความรับผิดชอบและมีจริยธรรมต่อสิ่งที่ตนได้กระทำลงไป 

          2) มีความสามารถในการกำกับวินัย การรักษาวินัยและบังคับตนให้อยู่ในระเบียบและกฎเกณฑ์ตามที่ตนเองวางกรอบไว้

          3) มีคุณธรรมที่แสดงออกทางค่านิยม จุดมุ่งหมายและกระบวนการที่สร้างสรรค์สังคม

          4) มีมาตรฐานของความประพฤติส่วนตนและความคิดที่เป็นอิสระ

         1.2 ปัจจัยที่ทำให้เกิดพัฒนาการด้านจริยธรรม  สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดพัฒนาการด้านจริยธรรมนั้น เป็นผัจจัยที่ผสมผสานกัน แคมป์เบลล์ และ บอนด์ (Campbell and Bond, 1982, as cited in Huitt, 2002) สรุปว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดพัฒนาการด้านจริยธรรม เช่น

          1) พันธุกรรม

          2) ประสบการณ์ในวัยเด็ก

          3) การแสดงออกของผู้ใหญ่และเด็กที่อายุมากกว่า

          4) อิทธิพลเพื่อน

          5) กายภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

          6) สื่อสารมวลชน

          7) สิ่งที่ถูกอบรมสั่งสอนในโรงเรียน

          8) สถานการณ์เฉพาะและบทบาทที่ต้องแสดงออกสืบเนื่อง 

          ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ มาจากองค์ประกอบทั้งภายในและภายนอกตัวบุคคล ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม วุฒิภาวะและการเรียนรู้ ความผสมผสานกันขององค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้จะหล่อหลอมให้บุคคลพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมได้ตามศักยภาพ

         1.3 ความคงที่ของพัฒนาการด้านจริยธรรม นักจิตวิทยายอมรับว่าพัฒนาการด้านจริยธรรมนั้นมีความแตกต่างในแต่ละวัย นอกจากนี้ยังพบว่าการพัฒนาการด้านจริยธรรมนั้นมีลักษณะที่แตกต่างไปจากพัฒนาการด้านอื่นๆ เช่น พัฒนาการด้านร่างกาย หรือพัฒนาการด้านสติปัญญา เนื่องจากพัฒนาการเหล่านี้มีความคงที่ เมื่อมีพัฒนาการถึงระดับใดก็จะคงความสามารถในการแสดงพฤติกรรมในระดับนั้นๆ ได้แต่สำหรับพฤติกรรมที่เป็นความสามารถในด้านการคิดในเชิงจริยธรรมแล้ว พบว่าเมื่อบุคคลมีพัฒนาการด้านจริยธรรมหนึ่งแล้วก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลนั้นจะแสดงพฤติกรรมเชิงจริยธรรมในระดับนั้นเสมอไป ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าแสดงออกด้านจริยธรรมจะไม่คงที่ พัฒนาการสามารถย้อนกลับไปกลับมาได้เนื่องจากอารมณ์ ความคิดและความรู้สึกเข้ามามีอิทธิพลต่อความต้องการที่จะทำในสิ่งที่ผิดหรือในสิ่งที่ถูกต้อง เช่น บุคคลที่มีความซื่อสัตย์เมื่อเก็บกระเป๋าสตางค์ได้อาจจะไม่ส่งคืนเจ้าของเพราะมีความจำเป็นต้องนำเงินไปรักษาแม่ซึ่งกำลังเจ็บหนัก เป็นต้น แม้ว่าจะรู้ผิดชอบชั่วดี  แต่การกระทำก็บ่งบอกระดับของขั้นจริยธรรมได้ การที่จะระบุได้ว่าบุคคลมีพัฒนาการด้านจริยธรรมในขั้นใดจะพิจารณาความสอดคล้องของการกระทำที่เป็นทั้งพฤติกรรมภายนอกและภายในด้วย

 

2. ปัญหาจริยธรรมในองค์การ

         ปัญหาจริยธรรมในองค์การเป็นปัญหาหลักที่ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานและความสำเร็จขององค์การเสื่อมถอยเนื่องจากการไม่ได้รับความเชื่อถือจากสังคม การแก้ปัญหาจริยธรรมในองค์การ ต้องเริ่มจากผู้บริหารระดับสูง เนื่องจากจริยธรรมของผู้บริหารมีความสำคัญต่อจริยธรรมของลูกน้อง คุณภาพของผู้บริหารและแนวทางในการพัฒนาตนเองเป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นประการแรก ผู้บริหารต้องตระหนักว่าตนนั้นอยู่ในฐานะที่สำคัญการไม่มีจริยธรรมของผู้บริหารสามารถทำลายจริยธรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาได้

         2.1 ปัญหาการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมในองค์การ  พระเมธีธรรมาภรณ์ (2544) กล่าวว่า รูปแบบเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะคุณธรรมและจริยธรรมนั้นไม่ใช่การพูดแต่ปากแต่ต้องทำให้เป็นตัวอย่างด้วย และในบางครั้งแบบอย่างที่ดีในอาชีพก็หาได้ยาก เช่นแบบอย่างของการเป็นนักบริหารที่ดี ครูที่ดี หรือนายแพทย์ที่ดี เป็นต้น การสร้างรูปแบบที่ดีให้ปฏิบัติได้และทำได้อย่างชัดเจนต้องการตัวแบบที่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นตัวแบบที่ดี เช่น การมีอาจารย์ที่ปรึกษาที่ดี ดูแล เอาใจใส่ก็จะเป็นผลสะท้อนกลับให้ผู้นั้นทำตามแบบอย่างเนื่องจากได้รับการปลูกฝังด้วยประสบการณ์จริง ในทำนองเดียวกัน การเลียนแบบพฤติกรรมก็จะเกิดขึ้นในองค์องค์การได้ถ้าในองค์การนั้นมีผู้บังคับบัญชาที่ขาดจริยธรรมในการบริหารกิจการ และขาดจริยธรรมในการบริหารทรัพยากร ลูกน้องจะเลียนแบบโดยให้เหตุผลว่าทำตามผู้นำ

          2.2 ปัญหาภาวะความเครียดในองค์การ ปัญหาความเครียดมีผลต่อพฤติกรรมของบุคคล และมักจะก่อให้เกิดปัญหาด้านคุณธรรมและจริยธรรม ความเครียดมักเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การทำงานได้ผลไม่เต็มประสิทธิภาพเนื่องจากมีสภาพจิตใจที่วิตกกังวลและมีอารมณ์หงุดหงิดแสดงออกด้วยความรู้สึกไม่มีความสุขในการทำงาน ความเครียดเป็นผลทำให้สุขภาพจิตเสื่อม ผู้บริหารที่มีสุขภาพจิตเสื่อม จะแสดงพฤติกรรมที่บ่งชี้อาการความผิดปกติได้ตลอดเวลา เช่น อาละวาด ด่าทอ ก่อความไม่สงบ  เป็นต้น ทำให้ขาดความเชื่อในอำนาจตนเอง ไม่กล้าตัดสินใจ ครูที่มีความเครียดก็จะไม่มีสมาธิในการจัดการเรียนการสอน นอกจากนี้ยังพบว่าความเครียดของครูมีผลกระทบไปยังนักเรียนทำให้นักเรียนมีความเครียดด้วยเช่นกัน  นอกจากนี้ยังพบว่าครูที่มีปัญหาด้านความเครียดมักจะลงโทษนักเรียนด้วยการทำร้ายร่างกายอย่างหนัก  

          2.3 ปัญหาที่เกิดจากการอบรมดั้งเดิม การอบรมเลี้ยงดูเริ่มต้นเมื่อมนุษย์อยู่ในวัยทารก การกล่อมเกลาสั่งสอนในสิ่งที่ถูก ผิด ทำให้มนุษย์มีพัฒนาการด้านจริยธรรมเพิ่มขึ้นเป็นลำดับขั้นตามวัย จากผลการอบรมเลี้ยงดูและการอบรมสั่งสอนจากสังคมประกิตทำให้รู้จักหน้าที่ ความรับผิดชอบและการรู้จักตนเอง รู้จักมารยาททางสังคมและให้เกียรติผู้อื่น การอบรมเลี้ยงดูจะทำให้บุคคลมีจิตสำนึกด้านคุณธรรมจริยธรรม

 

          โฮแกน (Hogan, 1973 cited in Tucker-Ladd, 1996 - 2000) เชื่อว่าปัจจัยในด้านของการเป็นคนดีมีหลายประการ คือ

          1)  การวางกรอบในการอบรมเลี้ยงดู   เป็นปัจจัยที่ทำให้เด็กระวังตนภายใต้กรอบของสังคมและกฎเกณฑ์ของพ่อแม่ในการประพฤติตนเป็นคนดี

          2) การตัดสินจริยธรรม  การเรียนรู้ที่จะคิดอย่างมีเหตุผลเกี่ยวกับจริยธรรมประจำใจของตนเอง

          3) ความรู้สึกด้านจริยธรรม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิตของบุคคลที่จะมีระดับในการรู้สึกผิด หรือละอายในสิ่งที่ควรทำหรือไม่ควรทำ

          4) ความรู้สึกเห็นใจ   เป็นความตระหนักในความรู้สึกถึงในความต้องการความช่วยเหลือของผู้อื่นที่ทำให้เข้าไปหาและให้ความช่วยเหลือ

          5) ความเชื่อมั่นและความรู้ รู้ลำดับขั้นในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้อื่นและเชื่อว่ามีความสามารถในการช่วยเหลือได้

          ลักษณะนิสัยของคนไทยบางอย่างอาจกีดกั้นการพัฒนาการด้านจริยธรรม เช่น การแสดงความสัมพันธ์ใกล้ชิดระดับบุคคลค่อนข้างจะสูง ทำให้ก้าวก่ายในเรื่องส่วนตัวของบุคคลมากเกินขอบเขต ซึ่งนำไปสู่การกล่าวโทษและนินทาว่าร้ายกัน การไม่ไว้หน้ากัน เป็นต้น การปลูกฝังจริยธรรมก็เพื่อทำให้บุคคลมีจิตสำนึกในการปฏิบัติตนที่ดี เคารพซึ่งกันและกัน เคารพผู้บังคับบัญชา ในทำนองเดียวกันก็เพื่อให้เป็นนักบริหารที่เคารพในเสรีภาพ เคารพในกฎระเบียบ มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และเป็นการสร้างนักบริหารที่มีคุณธรรมและจริยธรรม

 

หมายเลขบันทึก: 300109เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2009 12:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท