วิธีป้องกันและกำจัด “เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล” แบบปลอดสารพิษ


เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนี้จัดเป็นกลุ่มของแมลงปากดูด อยู่ในวงศ์ Delphacidae ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลจนถึงสีน้ำตาลปนดำ มีอยู่ 2 ชนิด

ขณะนี้มีข่าวเกี่ยวกับเรื่องการระบาดของเพลี้ยบ่อยขึ้นทุกวัน ไม่ว่าจะเป็น เพลี้ยอ่อนเพลี้ยแป้งที่ระบาดในไร่มันสำปะหลัง หรือจะเป็น “เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล” ที่ระบาดอย่างหนักอยู่ในขณะนี้ในแปลงนาข้าว ซึ่งสถานการณ์ได้เลวร้ายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนหน่วยงานภาครัฐระดับสูง ต้องออกมาชี้แจงและบอกวิธีแก้ปัญหาให้แก่พี่น้องเกษตรกร เพื่อขจัดปัญหาไม่ให้ลุกลามออกไปมากกว่าในปัจจุบัน เพราะจะส่งผลเสียต่อผลผลิตข้าวในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะในด้านของปริมาณข้าวที่จะส่งออก อาจจะทำให้ไม่มีข้าวออกไปจำหน่ายแข่งขันกันในตลาดโลก ทำให้คู่แข่งขันของเราคือประเทศเพื่อนบ้านอาจจะแซงหน้าเราไปแบบกู่ไม่กลับก็เป็นได้  เพราะประเทศของเรามัวแต่ทะเลาะเบาะแว้งและสู้รบกันเองอย่างเอาเป็นเอาตาย

 

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนี้จัดเป็นกลุ่มของแมลงปากดูด อยู่ในวงศ์  Delphacidae ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลจนถึงสีน้ำตาลปนดำ มีอยู่ 2 ชนิด คือชนิดปีกสั้นและปีกยาว โดยตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่จะวางไข่ที่กาบใบข้าว หรือเส้นกลางใบ จะวางไข่เรียงแถวเป็นแนวตั้งฉากกับกาบใบข้าว บริเวณที่วางไข่จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่สามารถทำลายต้นข้าวได้ในระดับเหนือน้ำบริเวณโคนต้น ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์ท่อน้ำท่ออาหารทำให้เกิดอาการเหลืองแห้งใบไหม้คล้ายถูกน้ำร้อนลวก แห้งตายเป็นหย่อม ๆ นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโรคใบหงิก ( rice ragged stunt ) มาสู่ต้นข้าวอีกด้วย ทำให้ต้นข้าวมีอาการต้นเตี้ย แคระแกร็น ใบสีเขียว แคบและสั้น ใบจะแก่ช้ากว่าปรกติ ปลายใบบิด เป็นเกลียว และ ขอบใบแหว่งวิ่น

วิธีการป้องกันและรักษาแบบปลอดสารพิษ เกษตรกรควรทำการตรวจวัดกรดด่างของดินให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม คือ ค่าพีเอชของดินจะต้องอยู่ที่ประมาณ 5.8 - 6.3 ถ้าดินเป็นกรดมากเกินไปคือต่ำกว่า 5.8 ก็ให้เติมกลุ่มของวัสดุปูน เช่น ปูนมาร์ล, ปูนขาว, ปูนแคลเซียม, โดโลไมท์ และฟอสเฟต หรือถ้าดินเป็นด่างก็ใส่ ยิปซั่ม, ภูไมท์ซัลเฟตถุงแดง และปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก เมื่อดินมีค่าพีเอชที่เหมาะสมจะช่วยทำให้ข้าวดูดกินอาหารในดินได้อย่างเต็มที่ ทำให้ไม่ขาดสารอาหาร มีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ ควรเพิ่มความแข็งแกร่งของเซลล์ด้วยภูไมท์ซัลเฟตถุงสีเหลือง จะช่วยทำให้ข้าวมีความแข็งแกร่งกลุ่มของแมลงปากดูดโดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะเข้าทำลายได้ยาก ช่วยลดปัญหาการระบาดหรือเข้าทำลายให้ลดน้อยลง ทำให้เราป้องกันกำจัดได้ง่าย  ควรมีการใช้สมุนไพรที่มีรสขม เช่น ตะไคร้หอม, ขมิ้นชัน, ไพร และฟ้าทะลายโจร ซึ่งอยู่ในชื่อการค้าว่า “ไทเกอร์เฮิร์บ” นำไปฉีดพ่นร่วมกับสารสกัดจำพวกสะเดา จะช่วยทำให้ รสชาติของต้นและกาบใบข้าวเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง เพลี้ยกระโดดจะไม่ชอบ จึงช่วยลดการเข้าทำลายได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลดูดกินน้ำเลี้ยงก็จะกินรสชาติที่ เผ็ด ขมไม่อร่อย โดยธรรมชาติการฉีดพ่นพวกผงสมุนไพรและสารสกัดจากสะเดา พวกนี้เมื่อถูกฉีดพ่นไปแล้วเขาก็จะไหลหยดย้อยจากปลายใบลงไปสะสมกองสุมอยู่ที่กาบใบของข้าว ทำให้ช่วงบริเวณกาบใบซึ่งขาว อวบ อ้วน และหวาน มีรสชาติเป็นที่ต้องการของหนอนและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลก็จะขมไม่อร่อยไปในทันที และสุดท้ายคือตัวพระเอกของเราครับ คือจุลินทรีย์ที่ใช้กำจัดเพลี้ยโดยตรง คือ “จุลินทรีย์ ทริปโตฝาจ” ให้ใช้ 2 – 3 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่น   ทุก ๆ 7 วัน หรือในช่วงที่มีการระบาดอย่างรุนแรงก็ให้ใช้ทุก ๆ 3 วันนะครับ  จะช่วยกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลให้หมดไปจากแปลงนา อีกทั้งยังมีความสามารถในการกำจัดพวกแมลงศัตรูพืชชนิดอื่นๆ ได้อย่างดีอีกด้วย เพราะจุลินทรีย์ ทริปโตฝาจนั้นจะค่อยๆ เจริญเติบโตแผ่เส้นใยเข้าปกคลุมรัดตรึงและเจาะทำลายผนังลำตัวของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงศัตรูพืชชนิดอื่นๆ จนตายในที่สุด

วิธีการดูแลรักษาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวนี้ จะไม่มีสารตกค้างอยู่ที่รวงหรือเมล็ดข้าว และยังไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ  ทำให้สุขภาพของเกษตรกรไม่ต้องสะสมสารพิษ ไม่ตายผ่อนส่ง ไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บก่อนวัยอันควร

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 299199เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2009 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากได้ วิธีการ ทำ หรือ การผสมยาเพื่อนำไปปฎับติ

หรือให้ชาวเกษตรตอนนี้ที่กำลังประสพปัญหาดั่งกล่าวได้เข้าใจคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท