การเลี้ยงลูกด้วยตนเอง


เลี้ยงลูกเอง

                                      การเลี้ยงลูกด้วยตนเอง

 

                 ปัจจุบัน กระแสโลกาภิวัตน์ ส่งผลกระทบทุกระบบในสังคม โดย เฉพาะอย่างยิ่งสถาบันครอบครัวซึ่งถือเป็นหน่วยย่อยที่สุดในสังคม ได้รับผลกระทบโดยตรงดังจะเห็นได้จากครอบครัวในปัจจุบันที่แตกต่างจากในอดีตไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในลักษณะที่มีสมาชิกในครอบครัวน้อยลงมาก ๆ มีครอบครัวจำนวนมากที่ มีกันเพียงแม่ลูก พ่อลูกหรือยายหลาน ปู่หลาน  ทั้งที่ในสังคมไทยในอดีตคำว่าครอบครัว หมายรวมถึงพ่อแม่ลูก ปู่ย่าตายายและญาติพี่น้องจำนวนมากในครอบครัวเดียวกัน แต่ที่น่าสลดใจมากที่สุด ปัจจุบันมีเด็กจำนวนมาก ถูกเลี้ยงดูโดยสถาบันอื่น ๆ ที่ไม่ใช่พ่อแม่ ช่นสถานรับเลี้ยงเด็ก เนอสเซอรี่ โรงเรียนอนุบาล หรือ แม้กระทั่งสถานสงเคราะห์ ที่มีแต่จะมีจำนวนเด็กเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนมองไม่เห็นทางออกที่จะเป็นสถานสงเคราะห์ที่เล็กลงและปิดไปในที่สุด(ทั้งที่มีวิธีการเลี้ยงดูเด็กแบบอื่นอีกมากที่ไม่ต้องมีสถานสงเคราะห์เช่น Foster home care เป็นต้น)เด็ก ๆ ในสถานเหล่านี้ จึงได้ รับรู้และเรียนรู้ที่ต่าง ออกไปหรือแม้เด็กจากครอบครัวที่เป็นพ่อ แม่เลี้ยงเดี่ยวหมายถึงมีเฉพาะ แม่ลูก พ่อลูก หรือ ยายหลาน เลี้ยงดู กัน อย่างโดดเดี่ยวลำพังขาดญาติพี่น้องค่อยให้การช่วยเหลือเกื้อกูล เด็กควรได้รับการเลี้ยงดูโดย พ่อ แม่  เท่านั้น ซึ่งอาจมีพี่ลี้ยงคอยช่วยเหลือบ้างยังพออนุโลม แต่พ่อแม่ต้องดูแลเลี้ยงดูลูกเป็นหลักด้วยตนเองเท่านั้นเพราะเด็กที่โตในสถาน ในสถาบัน ต่าง ๆ ดังกล่าว ข้างต้น เด็กจะถูกเลี้ยงดูเหมือนกับระบบอุตสาหกรรมในระบบทุนนิยมหรือระบบเศรษฐกิจกระแสหลักในปัจจุบัน กระบวนการผลิตต่าง ๆ เวลาต่าง ๆ จะเป็นแบบแผนเป็นระบบ (Industrial Time) ทั้งที่เวลาของเด็ก จะเป็นตามลักษณะตามชีวภาพแต่ละคนจะหิวจะอิ่ม จะหัวเราะร้องไห้ ไม่เหมือนกันแตกต่างกันตามแต่ระบบชีวภาพ และสังคม ของแต่ละคนไปตามนาฬิกาชีวภาพ (Biology Time) ทำให้เด็กเหล่านี้ถูกนำพา (ไม่อยากเรียกว่าพัฒนา) ไปในทิศทาง ที่เหมือนกันคล้ายกันเหมือนผลผลิตที่เกิดจากสายการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมมีจำนวนมาก มีคุณภาพที่มีมาตรฐานตามวัตถุประสงค์ของการผลิตตามแต่ละโรงงานทีกำหนดไว้

              เด็กไม่ใช่วัตถุที่ต้องการ การเลี้ยงดูในลักษณะเดียวกันแบบโรงงานอุตสาหกรรมเด็กต้องการ ง่าย ๆ ง่าย แค่เพียงพ่อแม่ดูแลอาใจใส่ดูแลเลี้ยงดู ด้วยตนเองอาจผสานวิทยาการสมัยใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาช่วยอำนวยความสะดวกได้ตามแต่ละตามทักษะเฉพาะตัวของแต่ละคน เด็กจึง เป็นอีกชีวิตหนึ่งที่แตกต่างสรรสร้างได้ตามแต่จะเลี้ยงดูอย่างไร สร้างสรรค์อย่างไร ย่อมมีความพิเศษแตกต่างจากผลิตภัณฑ์แฮนด์เมค ที่ มีแค่หนึ่งเดียว ก็ยังไม่อาจเทียบได้กับการสร้างสรรค์เด็ก

 การทำงานในปัจจุบันนับพ่อแม่ใช้เวลากับการทำงานและการเดินทางมากขึ้น การที่พ่อแม่หลายครอบครัวแบ่งเวลาให้กับลูกเฉพาะหลังเลิกงานที่บางครั้งกว่าพ่อแม่จะถึงบ้านใช้เวลาไปกับการเดินทางมาก ทำให้กว่าจะถึงบ้านบางครั้งค่ำมืด ครั้นจะเล่นจะพูดคุยกับลูก ลุกก็รอจนเบื่อพ่อแม่กลับมาก็เหนื่อยอยากพักผ่อน ลูกก็เลยห่างเหินขาดความสนใจกับพ่อแม่ หันไปสนใจโทรทัศน์ เกมม์ คอมพิวเตอร์ หรือของเล่นอย่างอื่นแทน หรือไม่ก็ได้แต่นับวันรอที่พ่อแม่จะว่างเมื่อไหร่แล้วจะพาลูกไปเที่ยว

                    ข้าราชการ(และโดยเฉพาะข้าราชการกรมพัฒาสังคมและสวัสดิการ) จึงต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการดูแลเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง แต่ทั้งนี้ก็ต้องได้รับการสนับสนุน หรือเข้าใจจากเพื่อนร่วมงาน และผู้บริหาร ซึ่งโดยในทางปฏิบัติจริงแล้วค่อนข้างยาก เพราะที่ทำงานทุกที่ ที่มีคนอยูจำนวนมาก มักมีปัญหาเชิงการเมืองการแบ่งฝัก แบ่งฝ่ายอยู่ในทุกองค์การเป็นเรื่องปกติ คนที่นำลูกมาเลี้ยงดูด้้วยตนเองจึงต้องมีความอดทนมาก ๆ อย่ารู้สึกเสียเปรียบและเป็นจุดอ่อนให้ถูกต่อนำมาเป็นที่ครหาหรือนำมาเป็นข้องต่อว่าเรื่องหย่อนยานในหน้าที่ความรับผิดเชอบดังนั้นการทำให้ทุกคนเข้าใจจึงเป็นเรื่องยากมาก โดยเฉพาะคนที่มักมีปัญหากันอยู่ก่อนแล้วหรือโดยเฉพาะคนที่ไม่มีลูก หรือคนมีต้องการงานเหมือนโรงงานอุตสาหกรรมมีอยู่จำนวนมาก ค่อยพูดจาเสียดสีหรือ แสดงความไม่พอใจที่มีคนเอาลูกมาทำงานด้วย ทั้งที่โดยส่วนใหญ่แล้ว แต่ละคนมักจะมีความรับผิดชอบงานของตนเองเป็นหลักอยู่แล้ว คนที่จะนำลูก มาดูแลที่ทำงานบ้างจึงดูเป็นเรื่องน่ารังเกียจดูเกะกะสายตาคนอื่น เราจึงต้องอดทนอย่างมากที่จะเลี้ยงลูกด้วยตนเองเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการดูแลเลี้ยงดูเด็ก เป็นดังนั้นหากพ่อแม่จะคิดแบ่งเวลาเป็นส่วน ๆ จึงเป็นวิธีคิดที่ผิดที่ยากในการปฏิบัติได้จริงให้ดีที่สุด  ก็ทำให้เกิดความตึงเครียดขึ้นในครอบครัว เช่นการรีบร้อนเพื่อไปให้ทันตามนัดไว้กับลูก นัดไว้กับเจ้านายกับครอบครัว จึงไม่ควรแบ่งเวลาเป็นส่วน ๆ ให้จัดการกับเวลาอย่างมีส่วนร่วม สมดุลด้วยกันไม่มีเวลาเฉพาะงานเฉพาะลูก แต่ให้ทำงานร่วมกันรู้หน้าที่ความรับผิดชอบ การทำงานกับลูก ในอดีตซึ่งน่าจะนำมาประยุกต์เช่นการชักชวนให้ลูกมีส่วนร่วมในการทำงานเช่นช่วยพ่อจับหมูป่า ในการไปจับครั้งแรก ๆ อาจให้ลูกดูสังเกต อยู่ห่าง ๆ แต่เมื่อหลายครั้งเข้าลูกจะเริ่มคุ้นเคยและเริ่มเรียนรู้ที่จะจับหมูป่าได้ด้วยตนเอง ผู้เขียนยกตัวอย่าง ค่อนข้างไกลตัวในชีวิตประจำวันของเราในปัจจุบันแต่หากจะยกตัวอย่างที่เราเคยเจอเคยเห็นเช่นครูอาจารย์ในอดีตที่นำลูกมาด้วยขณะมาสอนลูกศิษย์ เด็ก ๆ ก็เล่นกับลูกของคุณครูก็สอนไป ไม่เห็นต้องแบ่งเวลามีความสุข มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ หรือเป็นตำรวจก็ไม่น่าจะเป็นอุปสรรคเลย หากในวันนั้นไม่ได้ไปวิ่งจับผู้ร้าย ครั้งแรก ๆ อาจปรับตัวแต่เมื่อหลายวันเข้าทุกคนก็เคยชินและกลมกลืนสมดุลไม่รีบร้อนทำงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงแม้ไม่รวดเร็วแต่ย่อมเป็นผลสำเร็จที่มีค่ายิ่งกว่าการทำงานเสร็จเร็วแต่ทิ้งลูกไว้กับพี่เลี้ยง หรือสถานรับเลี้ยงเด็กโรงเรียนอนุบาลต่าง ๆ เป็น ไหน ทุกคนมีความสุขเด็กมีความสุข พ่อแม่มีความสุขงานก็สามารถสำเร็จได้โดยคนทำงานที่ทำด้วยความสุข

            ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ผู้เขียนเห็นว่าการส่งเสริมให้ ประชาชนเห็นความสำคัญเรื่องการเลี้ยงลูก ด้วยตนเอง จะเกิดขึ้น หรือสำเร็จไม่ได้เลย หากไม่ได้การสนับสนุนหรือผลักดันจากภาครัฐ โดยเฉพาะกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ไม่ผลักดันหรือขับเคลื่อนหรือมีกฏหมายห้ามเด็กต่ำกว่า 5 ปี หรืออย่างน้อย 3 ปี เข้าโรงเรียน  จะทำให้เด็ก ๆ ตกอยู่ในระบบทุนขนาดใหญ่ โรงเรียนอนุบาลทั้งไทย และ เทศผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดแข่งขันแย่งชิงกันนำเด็กไปเข้าโรงเรียนเพราะเด็ก ในความหมายนี้เด็กคือลูกค้า  ยิ่งรับเด็กเล็กอายุน้อยลงเรื่อย ๆ ผู้เขียนไม่ได้ต่อต้านการเข้าโรงเรียนเลย แต่อยากให้คำนึงถึงโรงเรียนเป็นสถานศึกษาเพิ่มพูนความรู้และวิทยาการ ไม่อยากให้ส่งเข้าเรียน เพราะไม่มีเวลาเลี้ยงดูเพราะนำเด็กไปทำงานด้วยไม่ได้ หรือเพราะมีหน่วยงานราชการบางหน่วยที่มีคนใจคอโหดเหี้ยม  ออกกฏขึ้นมาไม่อนุญาตให้นำเด็กหรือลูกมาที่ทำงาน

                                                                         อภิเชษฐ ปานจรัตน์

                                                                          18 กันยายน 2552

หมายเลขบันทึก: 298752เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2009 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท