เมื่อเข้าประชุมถอดถ้อยแถลงตีความ ICCPR


เมื่อฉันไป ประชุมถอนถ้อยแถลงตีความเนื่องด้วยประเทศไทยเป็นภาคีในการเข้าร่วม ในสนธิสัญญาระหว่างประเทศกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) แต่ยังมีบางข้อที่ประเทศไทยยังมีการตั้งข้อสงวนในตัวอนุสัญญานี้ไว้บางข้อ ที่ประเทศไทยยังไม่สามารถปฏิบัติตามได้แต่วันนี้ ประเทศไทยสามารถปฏิบัติได้ในข้อสงวนทีเคยให้ไว ได้แล้วก็ต้องมีการถอดถ้อยแถลง ที่เคยสงวนที่เคยให้ไว้กับทางสหประชาชาติโดยเนื้อหาวันนี้คร่าวๆ จะเกี่ยวกับ

การถอนถ้อยแถลงตีความ / ข้อสงวน

เนื่องด้วย ประเทศไทย  เข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทาง การเมืองโดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 โดยมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2540 โดยมีการทำถ้อยแถลงตีความไว้ 4 ประเด็น ดังนี้

ข้อ ที่ 1 วรรค 1 เรื่องสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเอง (right to self-determination) การกำหนดสถานะทางการเมือง การดำเนินการทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม อย่างเสรี

ข้อ 6 วรรค 5   เรื่องการห้ามการพิพากษาลงโทษประหารชีวิตบุคคลต่ำกว่า 18 ปี

ข้อ 9 วรรค 3   เรื่องระยะเวลาในการนำผู้ที่ถูกจับกุมไปศาลซึ่งกติกา ใช้คำว่า โดยพลัน

ข้อ 20 วรรค 1 เรื่องการห้ามการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อทำสงคราม  ซึ่งทางประเทศไทยได้ตีความคำว่า สงครามตามกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งไม่รวมถึงการทำสงครามเพื่อป้องกันตนเอง

แต่ในการประชุมครั้งนี้เป็นการถอดถ้อยแถลงตีความในครั้งนี้ ก็คือ ข้อ

ข้อ ที่ 1 วรรค 1   ในเรื่องเกี่ยวกับ  right to self-determination สิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเอง เรื่องของปวงชน  มันคือกระบวนคนที่อยู่ในประเทศทั้งหมด  กระบวนการมีส่วนร่วม เรื่องการปฏิบัติ  เป็นต้น นอกจากนี้ในที่ประชุม ยังมีการกล่าวถึงผลของการถอดถอน แล้วว่าผลต่อไป จะมีผลกระทบอย่างไรเกี่ยวกับเมื่อประเทศไทยถอนแล้ว  คำตอบที่ฉันได้รับ จากคำถามดังกล่าวนั้นก็คือ  เมื่อประเทศไทยถอนแล้วก็ทำให้ภาพลักษณ์ที่ประเทศอื่นมองประเทศไทย ในด้านเชิงบวกเกี่ยวกับด้านสิทธิมนุษยชนมากขึ้นและนอกจากนี้ แล้ว ยังเป็นการลดแรงกดดันจากทางสหประชาชาติในแง่ที่ว่าประเทศไทยให้ความสำคัญ   กับอนุสัญญาที่มาจากสหประชาชาติและยังเป็นการทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาของกฎหมายไทยที่มีทิศทางเป็นไปในทางพัฒนามากขึ้นในสายตาของสหประชาชาติ อันนี้เป็นแง่บวกที่ ฉันเองค่อนข้างจะเห็นด้วยกับในเรื่องภาพลักษณ์ ในด้านเชิงบวกด้วยอย่างยิ่ง 

ส่วนในเรื่องของ ข้อ 20 วรรค 1   จะพูดถึงเรื่อง  propoganda  การโฆษณาชวนเชื่อเพื่อการสงคราม ในเรื่องนี้ ทางฝ่ายทหาร เค้าบอกว่า ในเรื่องการข่าวนี้ค่อนข้างจะเป็นประเด็นสำคัญในเรื่องการทำข่าว มาก ซึ่งคำว่า proprganda มีความหมายในเชิงลบมากกว่า บางครั้ง เค้าเลยมีการใช้คำว่า Information coporation ซึ่งจะให้ความหมายในเชิงบวกมากกว่า   ในส่วนของเรื่องนี้ ทางผู้เข้าร่วมประชุมก็มีความเห็นสอดคล้องกัน ในเรื่องการตีความของคำว่า propaganda  ด้วยแต่ยังมีประเด็นในข้อสงสัย เกี่ยวกับคำว่า  the sovreight right ว่า จะถือว่าเป็นอำนาจสิทธิสูงสุดของรัฐในการป้องกันตนเองหรือไม่อย่างไร   ซึ่งจะต้องมาตีความกันอีกที่ในที่ประชุม พร้อมกับบุคคลที่จะมีอำนาจในการตัดสินในเรื่อง ของการถอดถ้อยแถลงด้วย

ความคิดเห็นส่วนตัวทีได้ จากการประชุมครั้งนี้ก็คือ ในการประชุมเพื่อถอนถ้อยแถลงตีความในวันนี้ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆที่มาเข้าร่วมประชุมไม่สามารถ จะมีอำนาจในการตัดสินว่าจะถอนถ้อยแถลงตีความดังกล่าวได้ หรือไม่เนื่องจากไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ  จึงจะต้องขอเอกสารเพื่อไปรายงานให้ผู้บังคับบัญชา ทราบก่อน จึงจะสามารถตัดสินใจดำเนินการต่อไป ว่าจะถอดถ้อยแถลงตีความ หรือไม่อย่างไร ซึ่งในจุดนี้ เองตัวฉันเองนึกเอาเองว่าในการประชุมบางครั้ง อำนาจการตัดสินใจก็เป็นส่วนสำคัญบางครั้งในการเข้าร่วมประชุม หน่วยงานต่างๆ ก็ควรส่งผู้มีอำนาจในการตัดสินใจมาเข้าร่วมประชุมก็คงดีไหมน้อยเลยล่ะ 

หมายเลขบันทึก: 298415เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2009 14:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 09:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มาอ่านแล้วนะน้อง

 

เนี่ยได้รับความรู้มากเลย เป็นประโยชน์มาก อยากให้ตั้งใจเขียนเรื่อยๆนะครับ

 

สนุกกับงานวิชาการไหมครับ

สมควรอย่างยิ่งที่เวลาประชุม(ยิ่งสำคัญ ๆ )ควรที่จะเป้นคนที่มีอำนาจมา แต่ก็อยู่ที่ว่าเราส่งจม.เชิญ และตาม ในการสื่อสารเขาเข้าใจว่าอย่างไรด้วย

ได้เห็นมุมมองอีกเรื่องเลยค่ะ

ขอบใจนะที่มาเล่าให้ฟัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท