Healthy 90's


ผู้ที่อายุเกิน 90 ปีทุกรายเราจะมีข้อมูลเป็นพิเศษ

Healthy 90’s

วันหนึ่งขณะที่ผมกำลังตรวจผู้ป่วยในคลินิกความดันโลหิตสูง ผมพบว่าข้อมูลในคอมพิวเตอร์แสดงว่าผู้ป่วยรายต่อไปเป็นหญิงอายุ 93 ปีซึ่งเคยมาตรวจเป็นประจำครั้งสุดท้ายประมาณ 3 เดือนก่อน แต่วันนี้คนที่เข้ามาพบกลับเป็นชายวัย 60 เศษ ๆ ซึ่งจากการสอบถามก็พบว่าเป็นบุตรชายมารับยาแทนคุณแม่ที่ไม่ได้มาไม่ไหว ผมจึงฝากความคิดถึงไปให้ท่านด้วย เมื่อหมดภารกิจจากคลินิกความดัน ผมขึ้นมาดูผู้ป่วยที่ ward ผมพบว่ามีหญิงชราวัย 90 ปีเศษที่ดูแข็งแรงดี กำลังเฝ้าไข้หลานสาวอายุประมาณ 30 ปีอยู่ที่เตียง ผมก็เกิดความสงสัยว่าเรามีผู้สูงอายุแบบ extreme แบบนี้มากน้อยแค่ไหน และมีสุขภาพเป็นอย่างไรกันบ้าง ก็เลยพูดคุยกับทีมงานว่าถ้าเราจะมีโครงการพิเศษสำหรับดูแลผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 90 ปีจะดีใหม ส่วนใหญ่ก็บอกว่าน่าสนใจแต่ยังไม่รู้ว่าจะพิเศษอย่างไร ผมเลยเสนอแนวคิดว่า ถ้าเราจะบอกว่า ผู้ที่อายุเกิน 90 ปีทุกรายเราจะมีข้อมูลเป็นพิเศษ(folder) ต่างหาก และเจาะลึกว่าแต่ละคนมีตัวชี้วัดด้านสุขภาพเป็นอย่างไร โดยที่ผู้ที่มีความเจ็บป่วยหรืออยู่ในสภาพที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้(ซึ่งผมคาดคะเนว่าน่าจะมีมากกว่า)เราจะมีทีมเข้าไปดูแล และกลุ่มนี้ไม่ต้องมาตรวจในกรณีป่วยเป็นโรคเรื้อรัง แต่เราจะไปหาหรือเยี่ยมที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ โดยที่จะถือโอกาสดูแล ผู้ดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ (เพราะว่าน่าจะสูงอายุเช่นกัน เช่นอาจจะเป็นลูก ที่น่าจะมีอายุระหว่าง 50-70 ปี)ไปในตัว ผมจึงให้งานวิชาการไปหาข้อมูลจำนวนประชากรที่มีอายุ 90 ปีขึ้นไป พบว่ามี 228 คน ที่ดูแล้วไม่น้อยทีเดียวเมื่อเทียบกับประชากรในเขตรับผิดชอบประมาณ 5 หมื่นคน หรือประมาณ 4:1,000 ของประชากรทีเดียว และถ้ารวมกับคนอายุ 89 ปีที่จะเข้ามาในกลุ่มนี้อีกจะเป็นเท่าไร และแต่ละปีกลุ่มนี้เสียชีวิตปีละเท่าไร เราก็อาจจะทราบแนวโน้มว่ากลุ่มประชากรเหล่านี้จะมากขึ้นหรือลดลง ในขณะเดียวกันถ้าโครงการนี้เป็นประโยชน์หรือสร้างองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพมากขึ้นอาจจะขยายลงมาที่อายุ 85 ปี 80 ปี หรือน้อยกว่านั้นได้ ก็เลยคิดว่าน่าจะตั้งชื่อโครงการว่า Healthy 90’s และอาจจะเปลี่ยนมาเป็น Healthy 85’s หรือ 80’s ได้ในอนาคต ขณะนี้โครงการอยู่ในระหว่างเก็บข้อมูลสำรวจสภาวะสุขภาพพื้นฐาน ซึ่งถ้าได้ข้อมูลครบก็น่าจะมาวางแผนการดูแลจัดการและจะ kick off ในปีงบประมาณ 53 โดยที่ทีมวิชาการก็จะทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุในวัยนี้ และพยายามสร้างงานวิจัยจากผลการปฏิบัติระหว่างที่ดำเนินงานโครงการ(on the job research) เพื่อสกัดองค์ความรู้ที่ได้มาเพื่อถ่ายทอดและแบ่งปันให้กับผู้สนใจคนอื่น ๆ ต่อไป…โปรดติดตามตอนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 298291เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2009 23:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ถ้าคุณหมอทำได้โครงการแบบนี้นับว่ามีประโยชน์ต่อผู้สูงอายุมาก เพราะเป็นการดูแลและให้ความสนใจกับประชากรของชาติที่นับวันจะหมดไป ผู้สูงอายุถ้าเปรียบแล้วก็เหมือนกับวัตถุล้ำค่าที่หาได้ยากนะ จริงๆ แล้วภูมิปัญญาและความรู้อยู่กับท่านแต่ละคนมากทีเดียวขึ้นอยู่กับว่าเราจะสามารถนำออกมาเผยแพร่ได้มากน้อยเพียงใด ที่อุดรฯโครงการของกศน. จะทำโครงการสรรหาและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น แล้วก็นำความรู้ที่ได้จากท่านผู้เฒ่าผู้แก่มาสังเคราะห์โดยมีนักวิชาการมาร่วมประชุมและทำหลักสูตรของกศน.เป็นแหล่งเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี แก้ปัญหาการขาดสื่อที่ไม่เพียงพอได้ดีทีเดียว ขอให้ดำเนินการโครงการต่อไปค่ะ เอาใจช่วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท