การจัดการความรู้ กับ หลักการอุดมศึกษา


การเริ่มต้นดำเนินการเรื่องการจัดการองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาแม้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่น่าจะเป็นเรื่องยาก เพราะ วัฒนธรรมการจัดการในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะในภาครัฐ เป็นการยากที่จะจัดทำ KM ให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของ หลักการ KM อย่างแท้จริงได้

เมื่อเดือนที่ผ่านมา ได้มีโอกาส ไปเยี่ยมชมศึกษาดูงานเกี่ยวกับ  "การจัดการความรู้" (Knowleage Management) ของบริษัท AIS ที่อาคารชินวัตร 1

มีประเด็น ที่น่าคิด น่าติดตามอยู่ไม่น้อยทีเดียว สำหรับ นักอุดมศึกษา ในเรื่องการเปรียบเทียบ การนำระบบ "การจัดการความรู้มาใช้ในสถาบันอุดมศึกษา"

หลักการบริหารจัดการบริษัทเอกชน โดยทั่วไป เราท่านคงต้องยอมรับว่า เป็นเรื่องของการ "ทำกำไร" หรือ "ลดต้นทุน" เพื่อการอยู่รอด อย่างเสถียร  แม้ระยะหลัง จะมีการพยายามจะสื่อสารการตลาดว่าเป็น " Coperate Social Responsibility : CSR " หรือรู้จักกันในนาม "การตอบแทนสังคม ,การคืนกำไรสู่สังคม" .. หรืออะไรก็ตาม

บริษัทนำ หลักการ การจัดการความรู้ มาใช้ในองค์กรในลักษณะของการจัดเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ , เป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องในสายวิชาชีพเกี่ยวกับ สินค้าและบริการของบริษัทนั้นๆ สำหรับให้พนักงานได้เข้าไปเก็บเกี่ยวมาใช้ โดยผ่าน ผู้กำกับดูแลที่มีความชำนาญพิเศษ เฉพาะด้านนั้น กลั่นกรองข้อมูลก่อนออกเผยแพร่ ....

ในส่วนของ การดำเนินการเรื่องการจัดการองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษา แม้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่น่าจะเป็นเรื่องยาก เพราะ วัฒนธรรมการจัดการในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะในภาครัฐ เป็นการยากที่จะจัดทำ KM ให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของ หลักการ KM อย่างแท้จริงได้

วิธีการที่จะจัดการกับขุมความรู้ ที่มีอยู่กระจัดกระจายภายในมหาวิทยาลัย และนำความรู้เหล่านั้น มาต่อยอดทางปัญญามากขึ้น ทำให้คนภายในองค์กรมีความรู้มากขึ้น องค์กรเก่งกล้าขึ้น และกลายเป็นหน่วยงานที่ชี้นำการพัฒนาได้อย่างแท้จริง KM จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนในองค์กรควรให้ความร่วมมือ และให้ข้อเสนอแนะในเชิงสร้างสรรค์เพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ ผ่านกระบวนการของการเสวนา การอภิปราย การสร้างเครือข่ายหรือกลุ่มผู้ปฏิบัติ

"ชุมชนแห่งการเรียนรู้" เป็นกิจกรรมเริ่มต้นอีกกิจกรรมหนึ่ง ในกระบวนการ KM ที่มีกิจกรรมหลายประการทั้งในส่วนที่อาจเรียกว่าเป็น "มิติของการบังคับ" และในส่วนที่เป็น"มิติของการส่งเสริม" ส่วนที่เป็นมิติการบังคับ เป็นส่วนของการดำเนินการจัดการ KM ให้ขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีความสามารถในเชิงการแข่งขัน

บุคลากรของมหาวิทยาลัยถือว่าเป็น "ทุนขององค์กร" ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการเดินทางไปสู่เป้าหมาย KM   ถ้าผู้บริหารสูงสุด ไม่มีนโยบาย KM ออกมาชัดเจนแต่เริ่มแรก การจัดการ KM ในมหาวิทยาลัยคงต้องใช้เวลามากพอสมควร ในการก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาเพื่อสถาบัน หรือองค์กร อย่างยั่งยืน ถูกต้อง ตามหลัก KM อย่างแท้จริง.  

หมายเลขบันทึก: 297435เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2009 13:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 สิงหาคม 2013 07:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท