Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

งานเยี่ยมเด็กที่เกิดในระหว่างที่แม่ต้องขังในเรือนจำ


เป็นเวลากว่า ๓ ปีแล้วที่เราทำหน้าที่ไปเยี่ยมเด็กและเยาวชนที่ต้องขังและอยู่ในสถานพินิจในจังหวัดต่างๆ ด้วยเหตุที่เราตระหนักว่า เรือนจำหรือสถานพินิจอาจจะเป็นสถานที่เราใช้ในการกักขังคนกระทำผิด แต่แม้คนกระทำผิด เขาก็เป็นคน มีสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เราจึงต้องตามดูว่า เขาเสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนไหม ? เราใช้วิธีการ "เยี่ยมเชิงกัลยาณมิตร" สถานที่ที่เสี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้วยเราหวังว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนจะไม่เกิดขึ้น หากเราได้มีโอกาสเสนอแนะต่อผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยกันระมัดระวังมิให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น ในสถานการณ์ที่เฝ้าระวังนี้ ก็เลยไม่มีทั้งผู้ละเมิดและผู้ถูกละเมิด

         เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙ คณะอนุกรรมการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัวก็ได้เข้าไปเยี่ยมบุตรผู้เยาว์ของผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำที่สงขลาอีกครั้ง เป็นเวลากว่า ๓ ปีแล้วที่เราทำหน้าที่ไปเยี่ยมเด็กและเยาวชนที่ต้องขังและอยู่ในสถานพินิจในจังหวัดต่างๆ ด้วยเหตุที่เราตระหนักว่า เรือนจำหรือสถานพินิจอาจจะเป็นสถานที่เราใช้ในการกักขังคนกระทำผิด แต่แม้คนกระทำผิด เขาก็เป็นคน มีสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เราจึงต้องตามดูว่า เขาเสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนไหม ? เราใช้วิธีการ "เยี่ยมเชิงกัลยาณมิตร" สถานที่ที่เสี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้วยเราหวังว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนจะไม่เกิดขึ้น หากเราได้มีโอกาสเสนอแนะต่อผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยกันระมัดระวังมิให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น ในสถานการณ์ที่เฝ้าระวังนี้ ก็เลยไม่มีทั้งผู้ละเมิดและผู้ถูกละเมิด

          จากเรื่องของ "น้องแอน ทองดี" สังคมไทยได้เรียนรู้ว่า หากผู้ต้องขังหญิงตั้งท้องและต้องคลอดบุตรในระหว่างการต้องขัง บุตรที่คลอดออกมาก็จะได้รับการเลี้ยงดูโดยมารดาในห้องขัง หากมารดาไม่มีครอบครัวที่จะรับเด็กไปเลี้ยงดูแทนมารดาได้ และดูเหมือนเรื่องของแอน ทองดี จะทำให้เราเห็นบรรยากาศแห่งความรักในระหว่างผู้ต้องขังต่อเด็กตัวน้อยที่พลัดหลงไปอยู่กับผู้ใหญ่ที่ต้องขังเพราะกระทำความผิด และความเอื้ออาทรระหว่างเด็กน้อยผู้พลัดหลง ผู้ต้องขัง และผู้คุมขัง

           ในวันนี้ที่เรือนจำสงขลา เราก็พบเด็กหญิงเด็กชายที่ต้องมาเติบโตในเรื่อนจำเพราะคลอดในขณะที่มารดาต้องขัง เรือนจำจึงต้องมีภาระกิจที่จะต้องดูแล "มนุษย์ตัวน้อยเหล่านี้" ตอบได้ง่ายว่า ก็ส่งไปให้ญาติเลี้ยงซิ แต่ในความเป็นจริง มันก็ทำไม่ได้เสมอไป และในแง่หลักการ การให้เด็กได้มีโอกาสอยู่กับแม่ ก็น่าจะดีกว่า ในวันนี้ มีงานวิจัยเพื่อเสนอแนะการจัดการในเรื่องนี้แล้วหลายฉบับ และเรือนจำต่างๆ ก็พยายามทำดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ ก็ดังที่เห็นในรายการคนค้นคนเรื่อง "น้องแอน ทองดี" น่ะค่ะ

            ลองค้นมาอ่านดูเองแล้วกันค่ะ โดยเข้าไปที่ http://www.tvburabha.com แล้วค้นคำว่า "แอน ทองดี" หรือ "แดนหญิง" เป็นเรื่องที่น่าศึกษาค่ะ โดยเฉพาะคนที่สนใจเรื่องเด็กและกระบวนการยุติธรรม

หมายเลขบันทึก: 29660เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2006 22:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท