กต.ตร.ที่น่ายกย่อง (1)


คนดีศรีอยุธยาผู้เสียสละเพื่อสังคมชุมชนอย่างแท้จริง

ผลงานการทำความดีเพื่อสังคมและแผ่นดิน

                 

 

            ๑. เป็นเลขานุการเหล่ากาชาดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เป็นเวลา   ๔๕  ปี  ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๔ – พ.ศ. ๒๕๔๙  ได้ปฏิบัติงานและประกอบคุณความดี อาทิ เช่น

 

                   ๑.๑  ปฏิบัติงานตามนโยบายของสภากาชาดไทย ทางด้านบริจาคโลหิต,  ช่วยสาธารณภัย, หาสมาชิกช่วยจัดงานกาชาดประจำปี  เพื่อหาทุนทรัพย์ออกเยี่ยมราษฎรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาทั้ง ๑๖ อำเภอ, สงเคราะห์คนชราและผู้ด้อยโอกาส

 

                   ๑.๒  บริจาคเงินให้กาชาด ดังนี้

                           ๑.๒.๑  สมทบทุนซื้อรถให้เหล่ากาชาดฯ สมัยอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (นายวิเชียร  เวชสวรรค์) เป็นเงินจำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)

                           ๑.๒.๒  สมทบสร้างอาคารเหล่ากาชาดฯ (หลังเล็ก) สมัยอดีต                  ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (นายชัยวัฒน์   หุตะเจริญ) เป็นเงินจำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)

                           ๑.๒.๓  สมทบสร้างอาคารเหล่ากาชาดฯ (อาคารที่ใช้ปัจจุบัน) สมัยอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดร.สุรพล  กาญจนะจิตรา) เป็นเงินจำนวน                ๕๐๐,๐๐๐ บาท  (ห้าแสนบาทถ้วน)

 

                   ๑.๓  จากการปฏิบัติหน้าที่นี้เป็นเวลายาวนาน  และสร้างคุณความดี               มาโดยตลอด จึงได้รับพระราชทานเหรียญกาชาดและโล่เกียรติยศ จากสมเด็จ                         พระเทพรัตนราชสุดา  สยามบรมราชกุมารี ดังนี้

                            ๑.๓.๑  ได้รับพระราชทานฯ เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้น ๑ 

                           ๑.๓.๒  ได้รับพระราชทานฯ เหรียญกาชาดสรรเสริญ

                           ๑.๓.๓  ได้รับพระราชทานโล่เกียรติยศที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขานุการ                ที่ยาวนานเกินกว่า ๓๐ ปี

                       ปัจจุบัน  ยังทำหน้าที่เป็นกรรมการเหล่ากาชาด จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและได้บริจาคเงินและสิ่งของอีกเป็นจำนวนมาก

 

            ๒. เป็น ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดำรงตำแหน่งประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ถึง ปัจจุบันมีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมหลายเรื่อง อาทิ เช่น

                   ๒.๑  จัดตั้งสภาวัฒนธรรมอำเภอทุกอำเภอ จำนวน ๑๖ อำเภอ

                   ๒.๒  จัดตั้งสภาวัฒนธรรมตำบล  ซึ่งจะให้ครบทั้ง ๒๐๙ ตำบล ในเดือนสิงหาคม  ๒๕๕๒ นี้

 

 

                    ๒.๓  จัดงาน กินอยู่อย่างไทย เพื่อกู้ภัยเศรษฐกิจ  ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑, ๒๕๔๒ และ ๒๕๔๓ โดยนำสินค้าไทยพื้นบ้านจากท้องถิ่นของอำเภอต่าง ๆ มาจำหน่ายในราคาถูกกว่าท้องตลาด  มีการจำน่ายอาหารพื้นบ้าน ฟื้นฟูหลักและส่งเสริม เศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งได้ผลดีมาก

 

                   ๒.๔  ส่งเสริม เผยแพร่ วัฒนธรรมไทย ไปยังสถานศึกษาต่าง ๆ               โดยจัดให้มีการประกวดสวดมนต์หมู่ทำนองสรภัญญะ, ประกวดมารยาทไทย การกราบไหว้, การร้องเพลงไทย, การจัดโต๊ะหมู่บูชา, การพูดภาษาไทยที่ถูกต้อง ชัดเจน, การคัดลายมือ                 ตัวอักษรไทย

                             -  ซึ่งได้จัดให้มีการประกวดติดต่อกันทุกปี

 

                   ๒.๕  จัดโครงการ รักชาติ  รักถิ่น  โดยมอบโครงการให้สถานศึกษา              ในระดับประถมศึกษา, มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา ได้จัดกิจกรรมให้นักเรียน นักศึกษา      รู้จักวัฒนธรรมไทย  รักความเป็นคนไทย รักท้องถิ่นไทย

                            - โดยสภาวัฒนธรรมเป็นผู้ติดตามผลงานของแต่ละกิจกรรม                      ของสถานศึกษาต่าง ๆ  และมอบค่าใช้จ่ายให้สถานศึกษานั้น ๆ

 

 

                  ๒.๖   จัดส่งเสริม สนับสนุน  โครงการตั้งศูนย์บูรณาการวัฒนธรรมไทย สายใยชุมชน  โดยสนับสนุนให้วัฒนธรรมอำเภอ วัฒนธรรมตำบลได้สร้างสายใยชุมชน               เพื่อผดุงไว้ซึ่งวัฒนธรรมไทย  แก้ปัญหาชุมชน แก้ปัญหาเศรษฐกิจ แก้ปัญหายาเสพติด                 ซึ่งขณะนี้ได้รับผลสำเร็จคือ  ศูนย์ชุมชนท่าช้าง  อำเภอนครหลวง ได้ดำเนินงานเป็นตัวอย่าง

 

 

                  ๒.๗   จัดให้มีการรณรงค์การใช้ผ้าไทย  เพื่อให้รักษาและดำรงไว้ซึ่งผ้าพื้นเมืองของไทย  จึงได้มีการจัดงาน  เดินแบบผ้าไทย  ในงานสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย ได้จัดที่บริเวณวัดไชยวัฒนาราม  และหอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา

                          -  การจัดการเดินแบบผ้าไทยนี้ได้ผลดียิ่ง  จึงได้รับความกรุณาจากอดีต               ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดร.สุรพล  กาญจนะจิตรา) ทำหนังสือเชิญชวนข้าราชการ  พ่อค้า  ประชาชน  แต่งกายด้วยผ้าไทยทุกวันพฤหัสบดี

 

 

                  ๒.๘   จัดกิจกรรมอื่น ๆ   ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย เช่น

 

                          ๒.๘.๑  เป็นประธานจัดขบวนแห่  ๑๖ มหัศจรรย์วันมรดกโลก  โดยเชิญชวนวัฒนธรรม  ๑๖  อำเภอ นำขบวนแห่ซึ่งเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านมาร่วมงาน                วันมรดกโลก ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นที่ประทับใจของผู้มาร่วมงาน                      เป็นอย่างยิ่ง

 

                          ๒.๘.๒   จัดพิธีสมรสหมู่ เมื่อปี ๒๕๔๖ ที่บ้านรับรอง มีผู้ร่วมพิธีสมรส            ๑๖ คู่  จากทุกอำเภอ  โดยให้มีการจัดถูกต้องตามประเพณีไทยทุกประการ เชิญชวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้าชมงานนี้ด้วย

 

                          ๒.๘.๓   จัดทำหนังสือ  เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยส่งไปยังจังหวัดต่างๆ เพื่อเป็นการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย

 

                          ๒.๘.๔  แลกเปลี่ยนความรู้กับวัฒนธรรมต่างชาติ  เช่น ประเทศเวียดนาม, ประเทศญี่ปุ่น ฯลฯ

 

                      ๒.๘.๕   เผยแพร่เพลงของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ในสมัยอดีต                  ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (นายสมชาย    ชุ่มรัตน์) เพื่อให้คนไทยทุกคน     ตระหนักถึงความเป็นเมืองหลวงเก่า อยุธยานครแห่งประวัติศาสตร์  จึงได้จัดทำเพลงของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำเป็นแผ่นซีดี  จำนวน  ๑๐,๐๐๐ แผ่น  แจกสถานศึกษา                ให้เปิดให้นักเรียนฟังทุกเช้า  เพื่อให้เกิดความรักในถิ่นเกิด  และแจกผู้มาท่องเที่ยวอยุธยา

                             -  การจัดทำซีดีเพลงอยุธยานี้  ได้รับความร่วมมือจากศิลปินแห่งชาติ           คุณกมล   ทัพคัลไลย และบริษัท โรส วีดีโอ จำกัด โดยใช้งบประมาณส่วนตัว

                              -  จากการที่ได้ปฏิบัติงานส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่วัฒนธรรมไทย ให้คนไทยและคนต่างชาติได้ประทับใจและเห็นความสำคัญ  จึงได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการกระทรวงวัฒนธรรม  ให้ได้รับ  โล่เกียรติยศ  จากกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะเป็น ผู้สนับสนุนและเผยแพร่วัฒนธรรมไทย  เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยรัฐมนตรี          ว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

 

              ๓.  เป็น  ประธานผู้พิพากษาสมทบ  ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว  ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๗ ถึง ปัจจุบัน

                      ๓.๑   ได้ทำประโยชน์ให้แก่สังคมมาก  ในการช่วยเหลือเด็กและเยาวชน               ที่มีปัญหา ประพฤติผิด  ให้การอบรม, จัดหางานให้, เป็นผู้อุปถัมภ์ผู้ที่ขาดแคลน

                      ๓.๒  ได้จัดกิจกรรมหารายได้  นำเงินมาร่วมพัฒนาเด็กและเยาวชน                  ที่ต้องโทษ  โดยการจัดแข่งขันกอล์ฟ, แข่งขันโบว์ลิ่ง, จัดคอนเสิร์ตเพื่อเป็นกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชน

                      ๓.๓   จัดทำโครงการ ร่วมกันคิด ไม่ให้ผิดซ้ำสอง โดยให้ผู้ปกครอง           และผู้พิพากษาสมทบ  และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  ได้มีส่วนร่วมปรึกษาหารือ  เพื่อจะหาแนวทาง ให้เด็กและเยาวชนที่ทำผิดได้สำนึกไม่กระทำผิดอีก จัดให้มีการประชุมหลายครั้ง

                      ๓.๔   ได้เผยแพร่ความรู้เรื่องคดีเด็ก คดีเยาวชน ให้ผู้ปกครองและนักเรียนได้ทราบ  เพื่อเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อไป โดยไปร่วมเป็นวิทยากร                       ตามสถานศึกษาต่าง ๆ

 

                      ๓.๕   เป็นประธานจัดงานประชุมผู้พิพากษาสมทบทั่วประเทศ  เมื่อเดือนมกราคม  ๒๕๔๖  ผู้พิพากษาสมทบเข้าประชุมมากกว่า  ๑,๕๐๐  คน 

                            -  ภาคกลางวัน  จัดประชุมที่โรงแรมกรุงศรีริเวอร์

                            -  ภาคค่ำ  จัดให้มีการแสดงตลาดย้อนยุคและไลท์แอนด์ซาวด์  แสดงโดยคณะผู้พิพากษาสมทบ อยุธยา กล่างถึงประวัติพระนเรศวรฯ

 

                      í  การประชุมครั้งนี้ ประทับใจผู้มาร่วมประชุมเป็นอย่างยิ่ง  จึงเป็นที่กล่าวว่า  ไม่มีการประชุมผู้พิพากษาสมทบใดที่ยิ่งใหญ่และประทับใจเท่าของอยุธยา  นับว่าเป็นการประชาสัมพันธ์ให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยา   

 

              ๔. เป็น ผู้ไกล่เกลี่ย ประนีประนอม ของศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  และศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๙  จนถึงปัจจุบัน                  ได้ทำประโยชน์ให้แก่สังคมมาก เช่น

๔.๑  ช่วยไม่ให้มีการฟ้องร้องถึงศาล  อันจะทำให้ทั้งฝ่ายโจทก์  จำเลย              ต้องเสียเวลา  เสียเงินอีกเป็นจำนวนมาก

๔.๒  ช่วยไม่ให้ศาลมีคดีต้องพิจารณาเพิ่มขึ้น ทำให้ลดภาระเป็นอย่างมาก

๔.๓  ทำให้โจทก์และจำเลยเกิดความเข้าใจกัน ตกลงกันได้ ไม่มี คนแพ้ คนชนะ  เกิดความสมานฉันท์ ตามนโยบายของรัฐบาล

๔.๔  ในกรณีที่ธนาคารเป็นโจทก์   เช่น  ธนาคารออมสิน  จะช่วยไกล่เกลี่ยให้จำเลยชำระเงินคืนจนครบ นับว่าธนาคารได้ประโยชน์ส่วนนี้มาก

 

               ๕.  เป็น  ผู้ทรงคุณวุฒิของท้องถิ่น  ได้แก่

                     -  เป็นผู้ทรงคุณวุฒิขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

                     -  เป็นผู้ทรงคุณวุฒิขององค์การบริหารส่วนตำบลของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

                     -  เป็นผู้ทรงคุณวุฒิขององค์การบริหารเทศบาลนคร, เทศบาลเมืองและเทศบาลตำบล

หมายเลขบันทึก: 296178เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2009 13:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท