ถึงเวลาเพิ่มสัดส่วนการจัดการศึกษาเอกชน


เร่งผลักดันนโยบายรัฐจัดการศึกษา 70:30

การเพิ่มสัดส่วนการจัดการศึกษาระหว่างรัฐกับเอกชน

 

        พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ . ศ . 2542 ได้กำหนดหลักการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเอกชนไว้โดยกำหนดให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยการบริหารและจัดการศึกษาของเอกชนเป็นไปโดยอิสระภาครัฐเป็นเพียงผู้กำกับ ติดตาม ประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ทั้งนี้รัฐต้องกำหนดนโยบายและมาตรการที่ชัดเจนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของเอกชนด้านการศึกษา และต้องให้การสนับสนุนด้านเงินอุดหนุน การลดหย่อนหรือการยกเว้นภาษี และสิทธิประโยชน์อย่างอื่นที่เป็นประโยชน์ในทางการศึกษาแก่สถานศึกษาเอกชนตามความเหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการให้สถานศึกษาเอกชนมีมาตรฐานและสามารถพึ่งตนเองได้อย่างแท้จริง

       จากรายงานการวิจัยของ รศ.ดร.ประยูร ศรีประสาธน์ (ประยูร ศรีประสาธน์ และคณะ.2529)        เรื่อง ผลกระทบของการจัดการศึกษาเอกชนที่มีต่อสังคมไทย โดยได้คัดเลือกศึกษาวิจัย 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนมาแตร์ เดอีวิทยาลัย โรงเรียนราชินี (บน) โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนอำนวยศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า 1. การให้บริการที่มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษที่สนองความต้องการเฉพาะของผู้ปกครอง จากการวิจัยปรากฏผลว่า ความคาดหวังของผู้ปกครองได้รับการสนองตอบจากโรงเรียน ทั้งทางด้านการฝีกฝนอบรมคุณธรรม จรรยามารยาท และการมีคุณภาพทางวิชาการสูง โดยเฉพาะทางด้านภาษา คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เพราะนอกจากโรงเรียนทั้ง 4 แห่ง จะสอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการแล้ว โรงเรียนยังมีจุดเพิ่มของการจัดการเรียน การสอนที่ตรงกับความคาดหวังของผู้ปกครองในประการต่าง ๆ โดยทางโรงเรียนได้ จัดการเรียนการสอนที่เน้นการฝึกฝนอบรมคุณธรรม จรรยามารยาท จัดการฝึกอบรม และฝึกฝนทั้งทางตรงและทางอ้อม ส่วนการฝึกทักษะทางภาษา การจัดการเรียนการสอน คณิตศาสตร์และการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ อันเป็นงานทางด้านวิชาการนั้นทาง โรงเรียนได้จัดให้มีวัสดุอุปกรณ์ ห้องทดลองต่าง ๆ และจัดให้มีการสอนพิเศษเพื่อเพิ่มพูน ความรู้ความสามารถทางวิชาการแก่เด็ก และสิ่งที่สำคัญคือตัวครู ซึ่งทางโรงเรียนเอกชน สามารถกำหนดลักษณะพิเศษของครูที่โรงเรียนต้องการตลอดจนดำเนินมาตรการคัดเลือก ครูที่เข้มงวดเพื่อให้ได้ครูที่มีคุณภาพทางด้านการสอนและเอาใจใส่ต่อเด็กอย่างแท้จริง โดยในการคัดเลือกได้มีการให้ทดลองสอนให้ดูก่อน จนเป็นที่พอใจจึงจะรับเข้าเป็นครู ลักษณะดังกล่าวทำให้ได้ครูที่มีคุณภาพมากกว่าวิธีการคัดเลือกครูที่โรงเรียนรัฐบาลใช้อยู่  

2. การผลิตศิษย์เก่าออกไปเป็นผู้นำในกิจกรรมด้านต่าง ๆ ของสังคม ข้อมูลที่ได้ จากการวิจัยปรากฏชัดเจนว่า ศิษย์เก่าจำนวนมากของโรงเรียนเอกชนทั้ง 4 แห่ง มีบทบาทเป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในปัจจุบัน ซึ่งจากการวิจัย พบว่าโรงเรียนเอกชนทั้ง 4 แห่ง ได้กำหนดจุดมุ่งหมายเฉพาะของโรงเรียนประการหนึ่ง ว่า ผลิตผู้นำให้แก่สังคม ซึ่งศิษย์เก่าเองก็ยอมรับว่าการทีตนมีตำแหน่ง หน้าที่การงาน และมีบทบาทเป็นผู้นำในสังคมได้นั้น ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากประสบการณ์และการฝึกอบรม ที่ได้รับมาจากโรงเรียน และจากการสอบถามบุคลากรตลอดจนผู้บริหารโรงเรียนเกี่ยวกับ การจัดกิจกรรมเพื่อฝึกทักษะความเป็นผู้นำพบว่าแต่ละโรงเรียนได้จัดกิจกรรมเสริม หลักสูตรในลักษณะการเสริมสร้างภาวะผู้นำและการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้สิ่งสำคัญ อีกประการหนึ่งที่ทำให้คนประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และการดำรงชีวิตในสังคมก็คือโรงเรียนได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถทางวิชาการ ควบคู่ไปกับการฝึกฝนอบรมด้านคุณธรรม และจรรยามารยาท อันมีผลทำให้ผู้สำเร็จ จากโรงเรียนมีทั้งความสามารถทางวิชาการและการเป็นผู้ที่มีระเบียบวินัย ประพฤติปฏิบัติ ตนดี โดยในการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาการนั้นนอกจากทางโรงเรียนจะใช้ วิธีการจัดวัสดุอุปกรณ์การศึกษา ห้องทดลองและเครื่องมือทดลองต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียน ได้มีโอกาสเรียนด้วยการทดลองและมีประสบการณ์ตรงแล้วแต่ละโรงเรียนได้จัดให้มีวิธี การสอนเสริมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถทางวิชาการให้มากยิ่งขึ้น การสอนเสริมนี้ กระทำทั้งในรูปที่ใช้บุคลากรภายในโรงเรียน และบุคลากรจากภายนอก เช่น ศิษย์เก่า ผู้ทรงคุณวุฒิและอาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ โดยเฉพาะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 ซึ่งจะต้องสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ นั้น แต่ละโรงเรียน จะให้ความสนใจเป็นพิเศษโดยจัดให้มีการสอนเข้มเป็นพิเศษและให้บริการแนะแนวการ ศึกษาต่อให้แก่นักเรียนอีกด้วย ในด้านการฝึกอบรมคุณธรรม จรรยามารยาท ทางโรงเรียน ได้จัดให้มีการอบรมควบคู่ไปกับการสอนวิชาการแขนงต่าง ๆ นอกจานี้ในบางโรงเรียนก็ได้ใช้วิธีการให้คะแนน และการให้รางวัลแก่ผู้ประพฤติดีและเพื่อให้ผู้ปกครองได้มี ส่วนร่วมในการฝึกฝนอบรมเด็กของตนทางโรงเรียนก็ได้จัดให้มีการประชุมพบปะผู้ปกครองรวมทั้งรายงานให้ผู้ปกครองทราบทันทีและสม่ำเสมอเกี่ยวกับความประพฤติ และพฤติกรรมของเด็กบุคลากรครูเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการทำให้โรงเรียนเอกชน สามารถจัดการศึกษาให้บรรลุจุดมุ่งหมายเฉพาะที่ได้กำหนดไว้ได้จากการวิจัยพบว่าครู ในโรงเรียนเอกชนทั้ง 4 แห่ง มีความเอาใจใส่ต่อนักเรียนอย่างดียิ่งและอาจมากกว่า ครูในโรงเรียนเอกชนทั้ง 4 แห่ง มีความเอาใจใส่ต่อนักเรียนอย่างดียิ่งและอาจมากกว่า ครูในโรงเรียนรัฐบาลอีกศิษย์เก่าดีเด่นบางท่านกล่าวว่าการที่โรงเรียนเอกชนให้บุคลากร ครูอยู่สอนในโรงเรียนได้โดยไม่มีเกษียณอายุนั้นได้ก่อให้เกิดผลดีในด้านการสร้างความ สมานฉันท์แก่ศิษย์เก่าของโรงเรียนที่อยู่ต่างรุ่นกันมากยิ่งขึ้นเพราะได้เพราะความรู้สึกใน การที่เป็นศิษย์ครูคนเดียวกันอันเป็นผลทำให้เกิดความร่วมมือช่วยเหลือและความเป็นอัน หนึ่งอันเดียวกันของศิษย์เก่าต่างรุ่นกันมากยิ่งขึ้นโดยที่ครูเป็นปัจจัยสำคัญต่อการจัดการ ศึกษา โรงเรียนเอกชนทั้ง 4แห่งจึงได้เน้นการคัดเลือกบุคลากรเข้าเป็นครูเพื่อให้ได้บุคคล ที่มีคุณวุฒิและคุณสมบัติที่เป็นแบบอย่างแก่เด็กได้และเมื่อรับเข้าเป็นครูแล้วก็มีนโยบาย ส่งเสริมและสนับสนุนในด้านการเพิ่มพูนวุฒิประสบการณ์และการพัฒนาตนเองในด้าน ต่าง ๆ ตลอดเวลานอกจากนี้ในบางโรงเรียนที่รับศิษย์เก่าของตนเข้าเป็นครูทำให้ครูยิ่ง เพิ่มความรักและความผูกพันต่อโรงเรียนมากยิ่งขึ้น ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้มีได้ยากใน โรงเรียนรัฐบาลเพราะต้องใช้วิธีการสอบคัดเลือกทั่วไป ในส่วนที่เป็นคุณภาพทางวิชาการ ของโรงเรียนเอกชนในปัจจุบัน ศิษย์เก่าดีเด่นส่วนใหญ่ให้ความคิดเห็นว่ามีคุณภาพ ด้อยกว่าสมัยที่ตนเรียนอยู่ ดังนั้น สิ่งที่อยากให้โรงเรียนเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน คือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดีเหมือนสมัยที่ตนเรียนอยู่ เนื่องจากแต่เดิมโรงเรียนมี หลักสูตรเฉพาะตนเอง จึงสามารถเน้นการเรียนการสอนบางด้านเป็นพิเศษได้ แต่ปัจจุบันโรงเรียนใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการจึงไม่อาจเน้นการสอนวิชาเฉพาะบางอย่าง ได้มากเท่าเดิม ศิษย์เก่าบางท่านให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมว่าปัจจัยอีกประการหนึ่งที่มีส่วน ทำให้คุณภาพทางการศึกษาของโรงเรียนด้อยกว่าสมัยก่อนคือปัจจัยเกี่ยวกับตัวนักเรียน เองและสัดส่วนระหว่างครูต่อจำนวนนักเรียนที่รับผิดของซึ่งทำให้แม้ครูจะพยายามให้ ความเอาใจใส่แก่นักเรียนแต่ก็ทำได้ไม่ทั่วถึงเหมือนสมัยก่อน ถึงแม้ว่าศิษย์เก่าดีเด่น จะให้ความคิดเห็นว่าคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชนทั้ง 4 แห่ง จะด้อยลงกว่าเดิม ก็ตามแต่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ก็ให้ความคิดเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ในปัจจุบันเป็นไปตามความมุ่งหมายของตนในระดับปานกลางและระดับมาก อันแสดง ให้เห็นว่าผู้ปกครองยังคงยอมรับเกี่ยวกับคุณภาพทางด้านวิชาการและการฝึกอบรม คุณธรรม จรรยามารยาทของโรงเรียน ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าในปัจจุบันโรงเรียนเอกชนทั้ง 4 แห่ง ยังสามารถผลิตศิษย์เก่าออกไปเป็นผู้นำทางด้านต่าง ๆ ในสังคมได้

3. การเป็นทางเลือกในการศึกษาของบุคคลที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมในระดับดี การเป็นทางเลือกในการศึกษาเล่าเรียนของประชาชนนอกเหนือไปจากโรงเรียนของรัฐนั้น หมายถึง การที่โรงเรียนเอกชนสามารถจัดการศึกษาที่มีลักษณะแตกต่างไปจากโรงเรียน ของรัฐและสามารถสนองความต้องการในลักษณะใดลักษณะหนึ่งของผู้เรียนหรือของ ผู้ปกครองนักเรียนได้จากการศึกษาเกี่ยวกับสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ ปกครองนักเรียนได้จากการศึกษาเกี่ยวกับสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ ปกครองนักเรียนทั้ง 4 โรงเรียน พบว่าผู้ปกครองนักเรียนทั้ง 4โรงเรียนเป็นผู้มีฐานะ ทางเศรษฐกิจสังคมและการศึกษาอยู่ในระดับดีและเป็นระดับที่เหนือกว่าประชากรส่วน ใหญ่โดยเฉลี่ยของประเทศสถานภาพดังกล่าวเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถที่จะรับภาระค่าใช้จ่ายในการศึกษาของบุตรรวมทั้งความสามารถที่จะเลือกสถานศึกษาที่เหมาะสมกับสภาพความต้องการของตนและ/หรือสถานศึกษาที่มีลักษณะแตกต่างไป จากสถานศึกษาของรัฐได้เป็นอย่างดีหากจะพิจารณาถึงความต้องการของผู้ปกครองที่ จะส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนทั้ง 4 แห่ง ปรากฏว่ามีความต้องการให้เด็กได้รับการ ฝึกอบรมทางด้านคุณธรรม จรรยามารยาทเป็นประการสูงสุด รองลงมาคือ การฝึกฝน ทักษะทางภาษา ทั้งนี้โดยผู้ปกครองคาดหวังว่าการฝึกฝนอบรมดังกล่าวจะมีผลทำให้ บุตรหลานของตนมีโอกาสเรียนต่อในระดับสูงมีความสามารถดำรงชีวิตในสังคมและ สามารถออกไปประกอบอาชีพได้ สำหรับเหตุผลของการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาใน โรงเรียนเอกชน ผู้ปกครองตัดสินใจ โดยคำนึงถึงชื่อเสียงของโรงเรียนและการคมนาคม สะดวกเป็นประการสำคัญที่สุดและเมื่อพิจารณาถึงเหตุผลที่ผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้าเรียน ซึ่งระบุว่า เพื่อมีโอกาสศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาและเพื่อมีโอกาสเรียนต่อมัธยม ศึกษาตอนปลายโดยไม่ต้องย้ายโรงเรียนประกอบกันแล้วพบว่า เหตุผลในการตัดสินใจ ส่งบุตรหลานของตนเข้าเรียนในโรงเรียนทั้ง 4 แห่งนั้น เป็นการส่งเข้าเรียนโดยคำนึงถึง ประโยชน์ของการศึกษาต่อของบุตรหลานตนเป็นประการสำคัญ เหตุผลดังกล่าวสอดคล้อง กับความคิดเห็นที่ผู้ปกครองคาดหวังจากการส่งเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนทั้ง 4 แห่ง ดังกล่าวด้วย จากการสอบถามความคิดเห็นว่าหากมีโรงเรียนรัฐบาลที่มีลักษณะใกล้เคียง กับโรงเรียนเอกชนผู้ปกครองจะส่งบุตรหลานเข้าเรียนหรือไม่ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่ ตอบว่าส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนรัฐบาลเพราะเห็นว่ามีมาตรฐานทางวิชาการและ โอกาสเรียนต่อระดับสูงมากกว่าโรงเรียนเอกชนขณะเดียวกับผู้ปกครองประมาณเศษหนึ่ง ส่วนสามที่ตอบจะไม่ส่งบุตรหลานของตนเข้าเรียนโรงเรียนของรัฐให้เหตุผลว่าโรงเรียน เอกชนมีครูที่เอาใจใส่ในการสอนมากกว่า จากนั้นก็เป็นเหตุผลทางด้านการคมนาคม ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้ปกครองจะเลือกส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชน      ก็ต่อเมื่อโรงเรียนเอกชนนั้นมีคุณภาพการศึกษาดีกว่ามีลักษณะเฉพาะในการจัดการเรียน การสอนที่แตกต่างไปจากโรงเรียนของรัฐและสามารถสนองความต้องการเฉพาะของผู้ ปกครองได้มากกว่า โดยเฉพาะชื่อเสียงของโรงเรียนด้านการฝึกฝน อบรมคุณธรรม จรรยามารยาท การฝึกทักษะทางภาษา และโอกาสเรียนต่อของนักเรียน

4. การเป็นคู่แข่งขันกับโรงเรียนรัฐบาล การเป็นคู่แข่งของสถานศึกษาของรัฐได้ หมายถึง การที่โรงเรียนเอกชนสามารถจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้ดีกว่าและสนองความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนได้มากกว่าสถาน
ศึกษาของรัฐ ในกรณีของโรงเรียนเอกชนทั้ง 4 โรงเรียน พบว่าผู้บริหารโรงเรียนให้ความเห็นว่าโรงเรียนเอกชนไม่สามารถจะเป็นคู่แข่ง ของโรงเรียนของรัฐได้ในด้านการฝึกและวุฒิครู แต่สิ่งที่โรงเรียนเอกชนจะสามารถ แข่งขันได้คือ ด้านคุณภาพของการศึกษา จากรายงานวิจัยหลายฉบับปรากฏว่า ค่าสหสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างวุฒิครูและคุณภาพการศึกษานั้นมีนัยสำคัญกันน้อยมาก (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2520 : 83) ฉะนั้นโรงเรียนที่มีครูที่มีวุฒิต่ำกว่า อาจจะจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพสูงกว่าได้หากโรงเรียนนั้นมีคุณลักษณะในประการ อื่นที่เหนือกว่า ซึ่งจากความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน บุคลากรและผู้บริหาร ตลอดจนศิษย์เก่าดีเด่นให้ข้อมูลตรงกันว่าครูในโรงเรียนเอกชนมีความเอาใจใส่ต่อนักเรียนมากกว่าครู       ในสถานศึกษาของรัฐ นอกจากนี้ความคิดเห็นของบุคลากรและผู้บริหารโรงเรียน เกี่ยวกับระบบบริหารโรงเรียนก็ตรงกันว่า ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนทั้ง 4 แห่ง ใช้วิธีการ บริหารด้วยความเข้าใจผู้ใต้บังคับบัญชาเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นและรับฟังความ คิดเห็นด้วยดี ลักษณะเช่นนี้ จึงมีผลดึงดูดใจให้ครูเอาใจใส่ในการสอนและปฏิบัติหน้าที่ ได้ดีกว่าระบบริหารที่ใช้แนวปฏิบัติตามระบบราชการนอกจากนี้หากพิจารณาในด้านความ มั่นคงของอาชีพ ครูโรงเรียนเอกชนมีความมั่นคงในอาชีพน้อยกว่า ฉะนั้น จึงต้องพยายาม ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อที่จะให้ได้อยู่เป็นครูต่อไป ลักษณะเฉพาะก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งทำให้ โรงเรียนเอกชนได้เป็นคู่แข่งขันกับโรงเรียน ของรัฐด้านการศึกษา ดังจะเห็นได้ว่าโรงเรียน เอกชนทั้ง 4 แห่ง มีลักษณะเฉพาะที่เป็นลักษณะเด่นของโรงเรียน กล่าวคือโรงเรียนมาแตร์ เดอีวิทยาลัย และโรงเรียนอัสสัมชัญ มีลักษณะเด่นเฉพาะด้านการฝึกฝนทักษะทางภาษา โรงเรียนราชินี (บน) มีลักษณะเด่นด้านการอบรมจรรยามารยาท โรงเรียนอำนวยศิลป์        มีลักษณะเด่นด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และความมีระเบียบวินัย ลักษณะเฉพาะ ดังกล่าวนี้ทำให้โรงเรียนทั้ง 4 แห่ง มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป โอกาสศึกษาต่อ ระดับสูงโดยเฉพาะระดับมหาวิทยาลัยก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้ปกครองใช้เป็นแนวพิจารณา ในการส่งบุตรหลานเข้าโรงเรียน ซึ่งปรากฏว่าเด็กที่อยู่ในโรงเรียนเอกชนทั้ง 4 แห่ง มี โอกาสเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในระดับสูงเพราะโรงเรียนได้พยายามจัดการเรียนการสอน อย่างเต็มที่ที่จะทำให้เด็กเรียนของตนสามารถสอบคัดเลือกได้ การที่โรงเรียนเอกชน จัดสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายและบางโรงเรียนก็มีระดับอนุบาล ด้วยเป็นสิ่งหนึ่งที่ดึงดูดใจผู้ปกครองให้ส่งบุตรหลานของตนเข้าเรียนโดยไม่ต้องพะวงใน การหาโรงเรียนใหม่อีกภายหลังจากบุตรหลานของตนจบการศึกษาในแต่ละระดับแล้ว ลักษณะการจัดโรงเรียนดังกล่าวนี้แตกต่างไปจากโรงเรียนของรัฐที่จัดแจกออกเป็นโรงเรียน ประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษา นอกจากนี้ โรงเรียนเอกชนยังมีความสามารถใน การปรับเปลี่ยนตลอดจนการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์การศึกษาที่ทันสมัยและสอดคล้องกับ ความต้องการของผู้เรียนและสามารถสนองความต้องการทางวิชาชีพได้เร็วกว่าสถานศึกษา ของรัฐเพราะสามารถตัดสินใจได้เองโดยไม่ต้องเสนอขออนุมัติตามขั้นตอนก่อนเหมือน ในโรงเรียนของรัฐความคล่องตัวดังกล่าวเป็นสิ่งที่โรงเรียนเอกชนอาจใช้เป็นปัจจัยใน การเป็นคู่แข่งขันของโรงเรียนรัฐบาลได้ อย่างไรก็ตามบุคลากร ผู้บริหารโรงเรียน และศิษย์เก่าบางท่านให้ความเห็นว่าปัจจุบันนี้ โรงเรียนเอกชนสามารถทำหน้าที่เป็น คู่แข่งขันกับสถานศึกษาของรัฐได้น้อยลงเนื่องจากจะต้องจัดการเรียนการสอนตาม หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ มิได้จัดหลักสูตรเฉพาะของตนเหมือนสมัยก่อน ซึ่งหากให้โรงเรียนมีโอกาสเลือกใช้หลักสูตรเฉพาะที่แตกต่างไปจากหลักสูตรของ กระทรวงศึกษาธิการแล้วโรงเรียนเอกชนก็จะทำหน้าที่เป็นคู่แข่งของสถานศึกษาของรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพและจะสามารถทำให้การศึกษาของชาติพัฒนาได้ดียิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 296163เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2009 12:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 13:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท