สุขภาพสร้างสรรค์ (Creativity Halth) คือหัวใจสำคัญของคุณภาพชีวิต


สุขภาพสร้างสรรค์ (Creativity Halth) คือหัวใจสำคัญของคุณภาพชีวิต

เรียนผู้อ่าน Blog ทุก ๆ ท่านวันนี้พี่เปิ้นมีเรื่องมาเล่าดังนี้นะค่ะ

          เรื่อง สุขภาพสร้างสรรค์คือหัวใจสำคัญของคุณภาพชีวิต เนื้อหาดังนี้นะคะคนเราทุกคนที่เกิดมามีสุขภาพทางกายครบ 32 ประการถือว่าเป็นทุน(Capital) ที่สำคัญมาก เป็นทุนที่ติดมาตั้งแต่เกิด แต่ก็ต้องย้อนไปตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาว่าคุณภาพชีวิตของมารดาขณะอุ้มท้องและมีน้องอยู่ในครรภ์นั้น ผู้เป็นมารดาต้องตระหนัก (Awareness) และให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพของตนเองกับลูกน้อยในครรภ์อย่างมากโดยนำแนวคิด/บทความของท่าน ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์คือ คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน มาเป็นหลักคิดและนำมากำหนดทิศทาง(Dimension) ในการสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion)ให้กับประชาชนทุกกลุ่มอายุ กลุ่มอาชีพ โดยมีการบูรณากา ร(Integration) ทุก ๆภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคท้องถิ่น(อบจ./อบต.) ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม ภาคประชาชนโดยเฉพาะผู้นำทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ชมรมผู้สูงอายุ ที่มีอยู่ในแต่ละหมู่บ้าน แต่ละตำบล อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) และบุคคลที่มีจิตอาสาเข้ามามีส่วนร่วม ในกระบวน การเรียนรู้สู่วิถีชุมชน เป็นสุขภาพที่สร้างสรรค์(Creativity Health) เพราะมีการดึงเอาพลัง(Energy)จากบุคคลทุกภาคส่วนเริ่มตั้งแต่บุคคลในครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล และภาคอำเภอ เข้าร่วมดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพ ภายใต้กระบวนการเรียนรู้(ตามทฤษฏี 4 L’s ของ ศ.ดร.จีระ) ให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพเป็นเอกภาพ (Unity) โดยมีแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพแบบสร้างสรรค์โดยการนำเอานโยบาย 6 อ. มาสร้างเสริมสุขภาพ ควบคุม(Control Disease)และป้องกันโรค(Health Prevention)โดยแนวคิดนั้นควรสอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต (Life Style) และวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งนโยบาย 6 อ. ประกอบด้วย

อ.ที่ 1 ออกกำลังกาย ของประชากรทุกกลุ่มอายุ ทุกเพศ ทุกวัย มีการออกกำลังกาย วันละ 30 นาที อย่างน้อย 3-5 วันต่อสัปดาห์ทั้งการออกกำลังกายเต็มรูปแบบ เช่นการรำไทเก๊กของผู้สูงอายุ เต้นแอโรบิคของวัยหนุ่มสาววัยรุ่น กิจกรรมไม่เต็มรูปแบบเช่นการเดินขึ้นบันไดแทนขึ้นลิฟต์ การทำงานบ้านเป็นต้น

อ.ที่ 2 อาหาร ของประชาชน โดยวิธีการเลือกซื้ออาหารและบริโภคอาหารที่เหมาะสม อาหารปลอดสารปนเปื้อน โดยโรงพยาบาลร่วมกับสาธารณสุขอำเภอ ร่วมกันจัดกิจกรรมให้ความรู้และประชาสัมพันธ์เรื่องการเลือกซื้ออาหารที่มีคุณภาพ การบริโภคอาหารที่ปลอดภัย อาหารที่ไม่มีสารปนเปื้อน ไม่มีสารเคมีและเป็นอาหารที่เหมาะสมกับกลุ่มอายุ วัย กลุ่มป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ

อ.ที่ 3 อารมณ์ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องความเครียดและภาวะซึมเศร้า เมื่อมีภาวะความเครียดสูง ทางโรงพยาบาลจัดกิจกรรมแนะนำผู้สูงอายุให้สมัครเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่จัดตั้งอยู่ในรพ.หรือในสถานีอนามัย จะช่วยลดภาวะความเครียดและภาวะซึมเศร้า ขณะเดียวกันก็มีการส่งเสริมให้เล่นกีฬา ตามกลุ่มอายุ กลุ่มอาชีพ ตามที่ได้สมัครเป็นสมาชิกกลุ่มเช่นวัยรุ่นแนะนำให้สมัครเป็นสมาชิก ของ To be Number One  ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกของชมรมผู้สูงอายุทั้งของโรงพยาบาลหรือสมาชิกของชมรมผู้สูงอายุของสถานีอนามัยระดับตำบล 

อ.ที่ 4 อโรคยา หมายถึงการลดการเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายตามบริเวณบ้าน ในบริเวณโรงเรียน และในบริเวณวัด กิจกรรมคัดกรองตรวจระดับน้ำตาลในกระแสเลือด และวัดความดันโลหิตกิจกรรมคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น(Health Screening) 

อ.ที่ 5 อนามัยสิ่งแวดล้อม ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม (Environment) ให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ทั้งด้านการจัดสถานที่ (Physical) และด้านสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพจิตใจ เช่น ในโรงพยาบาลจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่สัมผัสได้ด้วยใจ  มีต้นไม้ใหญ่ที่ร่มรื่น  มีดอกไม้ที่สวยงาม ทำให้สถานที่มีความสดชื่น รื่นรมย์(Happiness & Passion =  ความสุขที่ออกมาจากข้างใน) มีห้องน้ำที่สะอาดปราศจากกลิ่นรบกวน โรงพยาบาลที่สะอาดตามหลัก 5 ส. ขณะเดียวกันจะทำงานเชื่อมโยงไปสู่โรงเรียนเป็นโรงเรียนสร้างเสริมสุขภาพ(Healthy Promoting School) มีการกำจัดขยะมูลฝอยและในครัวเรือนมีการแยกขยะ ไม่ทิ้งขยะในที่สาธารณะตามถนนหนทาง โดยเฉพาะพลาสติก โดยเริ่มจากในโรงพยาบาลขยายสู่ภายนอก(External Environment) และสร้างเครือข่าย (Network) ไปสู่โรงเรียน ให้เด็กนักเรียน คณะครูจัดแยกขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง( High Effective) ไม่ทิ้งขยะลงในแม่น้ำคูคลอง คณะครูและนักเรียน มีทักษะ(Skill) การแยกขยะที่ดี โรงเรียนมีการกำจัดลูกน้ำยุงลายทั้งในบริเวณโรงเรียน และที่ในบ้าน คนในครอบครัวจะปลอดภัยจากยุงลาย ลดการเกิดโรคไข้เลือดออก ไม่มีอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นผลมาจากมีอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี(Good Environment)

            อ.ที่ 6 อบายมุข จะลดปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ดื่มสุราและสารเสพติด การเล่นการพนันของประชาชนในหมู่บ้าน การแนะนำ การสร้างเสริมความรู้ (ทฤษฏี 4 L’sของศ.ดร.จีระ) ในเรื่องของอันตรายจากการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และสารเสพติด การเล่นการพนัน ของประชาชน ทุกกลุ่มอายุ กลุ่มอาชีพและถ้าต้องการบำบัดรักษาจะให้คำแนะนำ  ให้เข้าร่วมกิจกรรมEmpowerment การเลิกบุหรี่ในคลินิกอดบุหรี่ของโรงพยาบาลบ้านลาด ด้วยกิจกรรม 5A = ได้แก่ Ask, Advise, Assess, Assist, Arrange follow-up  กิจกรรม5R = ได้แก่ Relevance, Risks, Rewards, Road blocks, Repetition และกิจกรรม 5D = ได้แก่ Delay, Deep Breath, Drink Water, Do Something else, Destination

            สรุป สุขภาพจะดีได้ด้วยการสร้างคุณภาพชีวิต(Quality of Life) ด้วยแนวคิด สุขภาพสร้างสรรค์ (Creativity Health)คือหัวใจสำคัญของคุณภาพชีวิตของทุก ๆ คน นะค่ะ

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

Tel.081-9435033

หมายเลขบันทึก: 295726เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2009 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท