ผลสำเร็จจากการจัดการความรู้ในงานศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง


ของดีต้องค้นหา ต้องหาเวทีให้นำเสนอ ต้องให้กำลังใจ...และชื่นชม

(อ่าน) การจัดเวที RW3  จังหวัดราชบุรี

เวทีการเรียนรู้ เพื่อนำเสนอกรณีตัวอย่างการทำงานส่งเสริมการเกษตรที่ได้ผลของสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2  จังหวัดราชบุรี  ได้นำกรณีตัวอย่าง “เรื่องศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง” จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่  สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี  และสำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาเป็นบทเรียนให้เจ้าหน้าที่จากจังหวัดต่าง ๆ ได้ศึกษาเรียนรู้  โดยมีผู้รับผิดชอบงานศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง ของเขตทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายงาน

 

กรณีตัวอย่างที่ 1  การดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง  ของสำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

                                 

                การดำเนินงานได้เริ่มปี 2551 ตามนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตรก็คือ มีศูนย์หลัก และศูนย์เครือข่าย มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อเป็นจุดนัดพบและเป็นจุดเรียนรู้ของเกษตรกรในการทำงานส่งเสริมการเกษตรระหว่างเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรกับเกษตรกร ได้แก่  การเลี้ยงสัตว์  ประมง และปลูกพืช  ปัญหาที่เกิดขึ้นพบว่า  ศักยภาพการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่มีความแตกต่างกัน  ความสนใจของเกษตรกรมีน้อยเพราะไม่ตรงกับความต้องการของเกษตรกร  และระยะทางที่เกษตรกรต้องมาพบกันนั้นไกล ต้องมีการเคลื่อนย้ายเกษตรกรมาเรียนรู้ยังสถานที่ดังกล่าว  ดังนั้น จึงปรับแก้โดยให้ทุกตำบลมีศูนย์หลัก จำนวน 43 ศูนย์  และอีกจำนวน 2 ตำบล ไม่มีพื้นที่การเกษตรจึงไม่ต้องมีศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอพียง 

แนวทางการดำเนินงานจึงเริ่มจากกการจัดกระบวนการเพื่อค้นหาความต้องการของเกษตรกรมาใช้เป็นประเด็นในการเรียนรู้  มีการจัดกิจกรรมตามที่เกษตรกรต้องกร  ผลที่เกิดขึ้นก็คือ  เกษตรกรให้ความสนใจมาก  เกษตรกรเดินทางสะดวก  ส่วนเจ้าหน้าที่ก็มีความกระตือรือร้นเพราะทุกตำบลต้องดำเนินกิจกรรมดังกล่าว  บทบาทของศูนย์เรียนรู้ฯ ที่เกิดขึ้นก็คือ

1) มีศูนย์เดี่ยว ซึ่งเกษตรกรจะเป็นเจ้าของ  ไม่ได้รับงบประมาณจากภาครัฐ  การดำเนินกิจกรรมแบบค่อยเป็นค่อยไป ทำกิจกรรมการเกษตรแบบทฤษฎีใหม่  ใช้สารสกัดชีวภาพ  เป็นการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่ 2 คือ ผลิตเพื่อบริโภคเอง เหลือจึงนำมาขาย (แถม) มีการทำบัญชีฟาร์ม โดยมี เจ้าหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ กับเกษตรกร 

2)  มีศูนย์กลุ่ม ซึ่งทำกิจกรรมร่วมกันคือ  ปลูกพืชคล้ายคลึงกัน  มีพื้นที่ใกล้เคียงกัน  มีงบประมาณมาสนับสนุน  แก้ไขปัญหาที่คล้ายคลึงกัน  ดำเนินกิจกรรมที่กลุ่มสนใจ  วิธีการทำงานจะเป็นกลุ่มตัดสินใจ ได้แก่  การทำกิจกรรม  จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ “ฐานการเรียนรู้” มีวิทยากรเกษตรกรประจำฐานเรียนรู้ จำนวน 5 ฐาน ได้แก่

1)  ฐานพืช ที่ปลูกพืชตามข้อตกลงของกลุ่ม หรือตามฤดูกาลเพื่อหลีกเลี่ยงน้ำท่วม

2)  ฐานปุ๋ยหมัก

3)  ฐานสารสกัดน้ำหมักชีวภาพ  โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

4)  ฐานหมูหลุม  ซึ่งหมูจะสะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น

5)  ฐานน้ำส้มควันไม้

กระบวนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานร่วมกับกลุ่มและเจ้าหน้าที่ทำแล้วได้ผลคือ

1)  รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล ที่เป็นปัญหาของเกษตรกร ได้แก่ เกษตรกรต่างคนต่างทำกิจกรรม ไม่มีการวางแผนการผลิต  และราคาผลผลิตตกต่ำ

2)  รวมกลุ่มเกษตรกร โดยรวมเกษตรกรที่เกิดปัญหาคล้าย ๆ กัน  มีความสนใจเหมือน ๆ กัน  และมีความต้องการเป็นแนวทางเดียวกัน

3)  ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมกลุ่ม  โดยนำความรู้ เทคโนโลยีเข้ามาถ่ายทอดให้กับเกษตรกรผ่านสื่อต่าง ๆ

5)      ประเมิน สรุปผลการดำเนินกิจกรรม โดยจัดเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นกับกลุ่มในแต่

ละช่วงกิจกรรม  ติดตามการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม  ให้คำปรึกษาแนะนำ เครื่องมือที่เจ้าหน้าที่ใช้ ได้แก่  3 ห่วง 2 เงื่อนไข

                ปัจจุบันได้มีการยกระดับกลุ่มกิจกรรม เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน  มีการวางแผนกิจกรรมที่หลีกเลี่ยงน้ำท่วม  ปลูกพืชหมุนเวียน  และทำแล้วได้ผล  ส่วนเป้าหมายที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจะดำเนินการต่อไป ได้แก่  ลดต้นทุนการผลิต  จัดการด้านการตลาด  และปลูกพืชปลอดภัยจากสารพิษ

                ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทำให้เกิดประเด็นในการทำงานส่งเสริมการเกษตรของหน่วยงานที่สามารถทำร่วมกันได้ต่อเนื่อง เพราะทั้ง 2 ภาคส่วนต่างมีข้อสงสัยที่ตนเองต้องการคำตอบดังนี้

 

โจทย์กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

โจทย์เจ้าหน้าที่

1)  ลดต้นทุนการผลิตทำได้อย่างไร

2)  ผลิตพืชปลอดภัยจากการสารพิษทำได้อย่างไร

3)  การจัดการการตลาด ได้แก่

  (1)  ค้นหาความต้องการของตลาด

1)  ทำอย่างไรถึงจะให้เป็นศูนย์ “ต้นแบบ” การเรียนรู้ให้ได้

2) ทำอย่างไร ถึงจะให้เกิดเป็นศูนย์ที่นำไปปฏิบัติได้จริง

 (1)  เกษตรกรต้องการอะไร แล้วนำมาเป็นประเด็นในการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ

 

จึงสรุปได้ว่า  ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง เป็นจุดเรียนรู้ให้กับเกษตรกรโดยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำ  ค้นหาวิทยากรเกษตรกร  ติดตาม ประเมิน และสรุปผลงาน

 

กรณีตัวอย่างที่ 2  ความสำเร็จของการทำงานเรื่องศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง  ของสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี  กรณี :  การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ระดับจังหวัด

 

                การดำเนินงานศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง ของสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี  มีเป้าหมายคือ  เพื่อฝึกเกษตรกรให้เกิดการเรียนรู้  โดยเรียนรู้จากศูนย์เรียนรู้ฯ ที่สำเร็จ จำนวน 23 ศูนย์ ที่เป็นศูนย์หลักมีอยู่ทุกอำเภอ จำนวน 1 ศูนย์  และเป็นศูนย์ขยายที่กระจายอยู่ทุกอำเภอ ซึ่งอาจจะมีมากกว่า 1 ศูนย์ก็ได้  และเพิ่มจุดเรียนรู้ที่เกษตรกรต้องการเรียนรู้  ซึ่งมีประมาณ 400 กว่าแห่ง

วิธีการทำงานมีกระบวนการ คือ 1)  คัดเลือกเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจากทุกอำเภอมาเป็นผู้ดำเนินงาน  2)  คัดเลือกเกษตรกรจากทะเบียนเกษตรกรคนจน  3)  จัดฝึกอบรมเกษตรกรที่เป็นผู้เข้าร่วมโครงการ  จำนวน 3 ครั้ง โดยมีการทดสอบเกษตรกรก่อนอบรม  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามที่เกษตรกรต้องการ  และประเมินผลการฝึกอบรม ซึ่งพบว่า  เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ค่อยจดบันทึก  4)  ติดตามผลงานในการปฏิบัติของเกษตรกร  ซึ่งพบว่า  เกษตรกร ประมาณ ร้อยละ 70 ที่ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง  5)  ประเมินผลงาน  ซึ่งพบว่า  การสนับสนุนงบประมาณของกรมส่งเสริมการเกษตรมีความล่าช้ากว่าการปฏิบัติของเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่  เกษตรกรไม่ค่อยมา  เกษตรกรต้องไม่ซ้ำคนเดิมในแต่ละปี  ไม่มีงบประมาณสนับสนุน  ดังนั้น จึงมีแนวทางแก้ไขก็คือ  การสนับสนุนงบประมาณควรจัดสรรให้ตรงตามช่วงเวลาการปฏิบัติงานของเกษตรกรและในพื้นที่

ผลที่เกิดขึ้นกับการดำเนินงานของหน่วยงานก็คือ  เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรทุกตำบลต้องมีงานทำเหมือนกัน  มีการกระจายงานสู่พื้นที่สู่เจ้าหน้าที่ทุกคน  มีศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงเกิดขึ้นในทุกตำบล

จึงสรุปได้ว่า  ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง ที่เกิดขึ้นนั้น เพื่อใช้เป็นจุดเรียนรู้ให้กับเกษตรกรตามความต้องการของแต่ละพื้นที่  โดยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรใช้ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง เพื่อเป็นเครื่องมือ หรือสื่อการเรียนรู้ในการทำงานส่งเสริมอาชีพการเกษตรให้กับเกษตรกรได้บรรลุผลตามหลักการและเป้าหมาย 

 

ผลการวิเคราะห์ กรณีตัวอย่างที่ประสบผลสำเร็จดังกล่าว คือ จากปรากฎการณ์ทั้ง 2 กรณีตัวอย่าง ที่ได้นำเสนอบทเรียนเพื่อการเรียนรู้  และเพื่อการเผยแพร่ผลงานส่งเสริมการเกษตร ของสำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  และสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี จะเห็นได้ว่า  องค์ความรู้หลัก ที่เจ้าหน้าที่ใช้ในการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง ได้แก่ เรื่องกระบวนการกลุ่ม (วิเคราะห์กลุ่ม  รวมกลุ่ม  กิจกรรมกลุ่ม  ประเมินผลกลุ่ม)  เรื่องเทคโนโลยีการเกษตร (การผลิตพืช  สัตว์  ประมง และอื่น ๆ)  เรื่องการถ่ายทอดความรู้/ เทคโนโลยีวิชาการ  และเรื่องการทำงานกับชุมชน  ทางด้านองค์ความรู้ที่เจ้าหน้าที่ได้นำมาใช้สนับสนุนการปฏิบัติ ได้แก่  หลักการวิจัย (เชิงเหตุ-ผล)  กระบวนการหาคำตอบร่วมกับชุมชน ซึ่งจะเห็นความเด่นชัดได้จากกรณีตัวอย่างของสำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์   ส่วนเทคนิคและวิธีการทำงานที่รวดเร็ว  ผู้เกี่ยวข้องมีความเป็นเจ้าของและร่วมรับผิดชอบกับผลที่เกิดขึ้นจะเห็นได้ชัดเจนจากกรณีตัวอย่างของสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรีคือ การจัดระบบการทำงาน และการกระจายงานให้ครอบคลุมทุกพื้นที่และเจ้าหน้าที่ทุกระดับ 

ผลงานดังกล่าวเชื่อว่า  ทุกหน่วยงานในกรมส่งเสริมการเกษตร มีสิ่งเหล่านี้กันอยู่แล้ว เพียงแต่หมั่นจดบันทึก หมั่นวิเคราะห์สรุป  และหมั่นค้นหาสิ่งดี ๆ แล้วนำมาถ่ายทอด แลกเปลี่ยน ก็จะเป็นปรากฏการณ์ขององค์ความรู้ได้มหาศาล.

หมายเลขบันทึก: 295165เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2009 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เยียมมากเลยครับ
  • ขอบคุณครับ
  • อยู่หลังเขานานๆ สมองเริ่มฝ่อ
  • จำเป็น ต้องมาเป็นนักเรียน(อยาก)รู้
  • คุณจือและครูหวังสบายดีน๊ะครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท