ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชคลองไผ่


ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชคลองไผ่


ูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพันธุ์พืชคลองไผ่
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพันธุ์พืชอันเนื่องมาจาก

พระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี

การดำเนินงานที่ดำเนินการที่ศูนย์แห่งนี้มีกว่า 8 กิจกรรมที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน

กิจกรรมที่ 1   กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช
กิจกรรมที่ 2  กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช
กิจกรรมที่ 3  กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช
กิจกรรมที่ 4  กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช
กิจกรรมที่ 5  กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช
กิจกรรมที่ 6  กิจกรรมวางแผนพัฒนาพันธุ์พืช
กิจกรรมที่ 7  กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
กิจกรรมที่ 8  กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
จุดที่ได้มีโอกาสเข้าชมในการศึกษานอกสถานที่ครั้งนี้ประกอบด้วย 3 จุดด้วยกัน จุดแรกคือนิทรรศการสีย้อมธรรมชาติในอาคารนิทรรศการหยาดป่า จุดที่ 2 โรงผลิตชา และจุดที่ 3 จุดที่มีการสาธิตการทำนา
     
จุดที่มีการให้ความรู้เกี่ยวกับ พันธุ์ไม้ย้อมสี สาธิตกระบวนการย้อมสีธรรมชาติ ขั้นตอนการทอผ้าตั้งแต่สาวเส้นใยออกจากรังไหม จนถึงการทอเป็นผืนผ้าและผลิตภันฑ์ต่างๆ ดูงานในโรงทอผ้า โดยที่นี่ได้รวบรวมพันธุ์ไม้ย้อมสีมากกว่า 70 ชนิด และศึกษาวิธีการย้อมเส้นไหมจนได้สีคุณภาพดีด้วยพืชกว่า 40 ชนิด เป็นสีในกลุ่ม โทนสีดำ เทา น้ำตาล เหลือง แดง เขียว และน้ำเงิน
     

ซึ่งผลิตภัณฑ์ของศูนย์ใช้ชื่อและตราสัญญลักษณ์"หยาดป่า"


ภายในจัดแสดงบอร์ดให้ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ที่ให้โทนสีต่างๆ จากภาพเป็นพันธุ์พืชที่ให้โทนสีแดง
โทนสีแดง:เป็นสีวรรณะร้อน เป็นสีมงคลชาวจีนตามคติความเชื่อ ให้ความรู้สึกแข็งแรง เอาใจยาก มั่นใจสูง สีแดงเข้ม ให้ความรู้สึกร้อนแรงทางเพศ พืชที่ให้โทนสีแดงมีหลายชนิด แต่ให้คุณภาพของสีไม่ดีนัก สีจะตกและเปลี่ยนสีง่าย  คนโบราณจนถึงปัจจุบันนิยมใช้สีแดงจากครั่ง คุณสมบัติครั่งจะขึ้นอยู่กับพืชที่อาศัย อายุครั่ง และระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวครั่ง

                  ครั่ง ย้อมไหมได้สีแดง

โทนสีน้ำตาล: ให้ความรู้สึกหนักแน่น จริงจังกับชีวิต มีความอดทนสูง พันธุ์พืชที่ให้โทนสีน้ำตาลมีหลายชนิด และได้จากหลายส่วนของพืช เช่น เปลือกและส่วนของผล นิยมใช้ จุนสี สารส้ม และโคลนเป็นสารช่วยติดสี ทำให้สีน้ำตาลมีหลายเฉดที่แตกต่างกัน
โทนสีดำ: สะท้อนวามโศกเศร้า น่ากลัวและเกรงขาม การทอไหมในประเทศไทยใช้โทนสีดำเป็นหลักในการทำเป็นไหมเส้นยืน  สำหรับการทอผ้าทุกประเภท  พันธุ์พืชที่ให้โทนสีดำมีหลายชนิด ส่วนใหญ่ใช้ส่วนผล เปลือกผล และเปลือกต้น และใช้โคลนเป็นสารช่วยติดสี
ทนสีน้ำเงิน: ให้ความรู้สึกสุขุมหนักแน่น พืชที่สามารถย้อมเส้นไหมให้ได้สีน้ำเงินที่ศูนย์ได้ศึกษามี 3 ชนิด ได้แก่ คราม ครามเถา และฮ่อม พืชทั้ง 3 ชนิดมีลักษณะทางพฤษศาสตร์และสภาพนิเวศน์ที่แตกต่างกัน
ใบและต้นมีสาร glucocide inclican ที่ให้สีน้ำเงิน การย้อมเส้นไหมด้วยพืชเหล่านี้จะเป็นการย้อมเย็น และย้อมเร็ว จัดเเป็นสี vat dry เส้นไหมหลังย้อมจะเป็นสีน้ำเงินหลังจากสัมผัสกับอากาศ
โทนสีเขียว: ให้ความรู้สึกร่มรื่น สงบ และผ่อนคลาย สีเขียวมะกอกสะท้อนความเป็นคนหัวโบราณ ในการย้อมไหมสีเขียว ชาวสุรินทร์ใช้วิธีย้อมไหมเป็นสีเหลืองด้วยเปลือกมะพูดก่อนแล้วย้อมทับด้วยสีน้ำเงินคราม ปัจจุบันมีพืชหลายชนิดที่ย้อมไหมได้สีเขียวโดยใช้จุนสีเป็นสารช่วยติดสี เช่น แก้ว โกสน ตะขบ ฝิ่นต้น สนแผง เป็นต้น
โทนสีเหลือง:บ่งบอกไหวพริบ ความฉลาดเฉลียว มีชีวิตชีวา พืชที่ย้อมได้สีเหลืองมีมากมายหลายชนิด จากส่วนต่างๆ เช่น ใบ ดอก เปลือก หรือแก่น ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช สารช่วยติดสีได้แก่ สารส้มและจุนสี
       

                 ย้อมสีแดงด้วยครั่ง                                                 จุนสี(สารช่วยติดสี)                                            ไหม

จุดที่ 2 โรงผลิตชา
ผลิตภัณฑ์ชาใบหม่อน นำใบหม่อนสดมาหั่น ลวกด้วยน้ำร้อน ผึ่งลม คั่วให้แห้งหรือคั่วแล้วนวด แล้วทำให้แห้งเพื่อชงเป็นเครื่องดื่ม อาจแต่งกลิ่นด้วยดอกไม้หรือใบเตยก็ได้
การผลิตชาใบหม่อนในครัวเรือน
อุปกรณ์
1 หม้อขนาดเบอร์ 32
2 หม้อขนาดเบอร์ 26
3 มีด
4 เขียง
5 เตาแก๊ส
6 ผ้าขาว
7 ตาข่าย(สวิง)
8 ทัพพี
9 ใบหม่อนสด ฯลฯ
ขั้นตอนการผลิต
1 การเก็บชาใบหม่อนไม่เก็บแก่หรืออ่อนเกินไป ควรเก็บในช่วงที่แดดไม่ร้อนจนเกินไปหรือเก็บช่วงเช้า
2 นำใบหม่อนมาเรียงใบ
3 นำใบหม่อนทีเรียงใบกรณีเป็นใบใหญ่แล้วมาหั่น โดยหั่นก้านใบออก   ถ้าใบเล็กไม่ต้องเรียงใบ
4 ลวกในน้ำเดือด 10-15 วินาที หรือนึ่งประมาน 1 นาที
5 นำหม่อนผึ่งน้ำเย็น และผึ่งลมให้หมาดๆ
6 นำไปใส่กะทะ ใช้มือนวดจนใบหม่อนแห้ง(อุณหภูมิประมาน 60-70 องศา) นำเข้าไปอบในตู้อบอุณหภูมิ 80-90องศา 1 ชั่วโมง
7 นำใบหม่อนคั่วอีกรอบเพื่อเพิ่มความหอมของชาหม่อน
8 นำมาร่อนเพื่อเอาเศษหม่อนที่มีขนาดเล็กออก    ตรวจสอบความสะอาดก่อนบรรจุหีบห่อ


                                                        ผลิตภัณฑ์ชาใบหม่อน
 
จุดที่ 3 ณ แปลงปลูกข้ามหอมมะลิ 105 ที่นี่มีโอกาสได้ดูขึ้นตอนการคัดกล้า ไถพรวน และขึ้นตอนการดำนา
  

อ้างอิง: http://www.rspg.or.th/klongphai/training/training_14/training_14.htm
               http://www.rspg.or.th/  เวบไซต์โครงการครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพันธุ์พืชอันเนื่องมาจาก
                                                           พระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

หมายเลขบันทึก: 294430เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2009 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท