โจทย์วิจัย : ๓. ระบบยา


          โจทย์วิจัยเชิงระบบเป็นเรื่องท้าทาย   และเป็นเรื่องที่เรามักมองเห็นแบบเห็นดวงจันทร์    คือเห็นด้านเดียวตามความเคยชิน โดยไม่รู้ตัว    สภาพเช่นนี้ ในเรื่องระบบยา ได้แก่

   มองเห็นเฉพาะด้าน consumption หรือด้านบริโภค   ไม่เห็นด้าน production หรือด้านการผลิต


   มองเห็นเฉพาะมุมมองจากด้านฝ่ายผู้ให้บริการ    ไม่มองจากมุมของชาวบ้าน หรือผู้ใช้ยา


   มองเห็นเฉพาะยาแผนตะวันตก  ไม่มองยาแผนไทย


   มองเห็นเฉพาะด้านปัจจัยภายในประเทศ   ไม่มองปัจจัยของระบบโลกที่มีผลต่อระบบยาของประเทศไทย  

          วันที่ ๒๖ ส.ค. ๕๒ ผมไปร่วมประชุมเรื่อง แนวทางการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบยา จัดโดย สวรส.   ได้เห็นความซับซ้อนของระบบยา ที่เชื่อมโยงกับระบบอื่นในประเทศไทย และในโลกอย่างซับซ้อนซ่อนเงื่อนยิ่ง    ที่หากมีความรู้และการจัดการที่เหมาะสม   ระบบยาจะเป็นตัวขับเคลื่อนสังคมไทยไม่เฉพาะด้านสุขภาพหรือสุขภาวะ    แต่จะนำไปสู่สภาพ healthy & wealthy society ทีเดียว  

          เราจึงเตรียมการณ์ให้มีการดำเนินการ mega research program เรื่องระบบยา   ที่มองทั้งด้าน production และ consumption   มองความสมเหตุสมผลในการใช้ยาในหลากหลายมิติ   และจะเป็นชุดโครงการวิจัยที่ดำเนินการระยะยาว    เน้นการวิจัยแบบเอาผลไปใช้ประโยชน์ มากกว่าเพื่อการตีพิมพ์ หรือ impact factor   แต่ถ้าได้ตีพิมพ์และได้ impact factor ก็ยิ่งดี  

          ผมเตือนนักวิจัยที่มาประชุมในวันนั้น ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเภสัชกร ว่าต้องเตรียมตัวทำงานวิจัยร่วมกันกับนักวิจัยจากวิชาชีพอื่น   ร่วมกับคนนอกวิชาชีพด้านสุขภาพ   และเตรียมทำงานวิจัยแบบที่มีการจัดการให้เกิดทีมวิจัยขนาดใหญ่   เกิดการวิจับข้ามศาสตร์ ข้ามสถาบัน    มีการจัดกระบวนการให้เกิดผลงานที่มีคุณภาพ   ผู้สนใจโปรดติดตามในเว็บไซต์ของ สวรส. www.hsri.or.th 

วิจารณ์ พานิช
๒๖ ส.ค. ๕๒

    

หมายเลขบันทึก: 293201เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2009 08:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 09:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผมเห็นกระแส ระบบยาในเมืองไทย

มองโรงพยาบาลเป็นหลักใหญ่

มองความผิดพลาดเป็นสำคัญ

มองตามบทบาทเภสัชกรแบบไทยๆ

ความสนใจ น้อยมากที่ผู้ป่วย

เป็น product orient ที่เภสัชกร

ทั่วโลก เลอกสนใจ มา 30 ปีแล้ว(ยกเว้นประเทศไทย) 555

ระบบยา จึงมองข้ามหัวผู้ป่วย

มองระบบเพื่อปกป้องโรงพยาบาลเป็นหลัก

และยึดกฎหมายเป็น เกณฑ์

จึงมองข้ามคนไข้ไป ระบบยาแบบนี้ ผม ปล่อยมันไปครับ

คุณ นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม เข้าใจผิดไปมากครับ

คุณต้องปรับกระบวนการคิดใหม่นะครับ

ระบบยาในเมืองไทยแต่เดิมไม่สามารถคิดนอกกรอบไปได้

เพราะกฎหมายเขียนโดยแพทย์มาตั้งแต่ พรบ.ยา 2510 ทำให้เภสัชกรไม่สามารถทำอะไรที่ช่วยผู้ป่วยได้มาก เพราะถูกจำกัดบทบาท

 

ทุกวันนี้ความคิดเสรีไปมากแม้จะยังถูกจำกด้วย พรบ.ยา 2510 (เดิม)

แต่เภสัชกรเลือดใหม่พยายามหาทางใหม่ให้กับคนไข้

หลักสูตรเภสัชศาสตร์ทุกวันนี้จึงมุ่งเน้นที่ตัวผู้ป่วย(patient oriented)

ถือเอาความปลอดภัยของคนไข้เป็นสำคัญ จึงทำให้แพทย์เข้าใจว่า

เภสัชกรมองความผิดพลาดเป็นสำคัญ(จับผิด)

ความจริงแล้วไม่ใช่การจับผิด และเป็นการคุ้มครองผู้ป่วยให้ปลอดภัยจากการใช้ยาที่สั่งจากแพทย์ต่างหาก

มุมมองต่างกันทั้งๆที่ทำเพื่อผู้ป่วยคนเดียวกันครัฐ

การที่เภสัชกรมองความผิดพลาดของหมอเป็นสำคัญก็แล้วแต่จะคิด

แต่นั่นคือการทำหน้าที่ของเภสัชกรในการคุ้มครองผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท