วิธีการป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าและโรคเน่าคอดิน


ด้านที่ไม่ค่อยจะสดใสสวยงามก็คือน้ำฝนมักจะนำพามาซึ่ง สปอร์ของเชื้อราที่พัดปลิวในอากาศให้ตกลงมาพร้อมกับมันด้วยเสมอทำให้เกิดโรคระบาดทางเชื้อราทุกครั้งที่เกิดฝนตก...

 

ฝนตกกระหน่ำไปทั่วทุกหย่อมหญ้า นำพาความชุ่มชื่นเย็นฉ่ำ ทำให้จิตใจของใครหลายๆ คนที่ร้อนรุ่มสุมทรวงอยู่ ค่อย ๆ ผ่อนคลายมลายลงมาได้บ้าง แต่อย่าลืมว่า ธรรมชาตินำพาสิ่งที่สดใสสวยงามก็ย่อมที่จะนำพาสิ่งที่หม่นหมองมืดดำตามติดติดมาด้วยเสมอ เราจึงเรียกมันว่าธรรมชาติกันอย่างไรเล่า!


ด้านที่ไม่ค่อยจะสดใสสวยงามก็คือน้ำฝนมักจะนำพามาซึ่ง สปอร์ของเชื้อราที่พัดปลิวในอากาศให้ตกลงมาพร้อมกับมันด้วยเสมอทำให้เกิดโรคระบาดทางเชื้อราทุกครั้งที่เกิดฝนตก... และมันยังนำพาความชื้นแฉะมาสู่ดินทำให้ดินเป็นแหล่งที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราทางดินอีกทางหนึ่งด้วยเหมือนกัน ดังนั้นในระยะหน้าฝนเกษตรกรมักพบปัญหาโรคกล้าเน่ายุบ รากเน่าโคนเน่า โรคหมานอนในหอมกระเทียม ฯลฯ กันอยู่ตอลดเวลา ถ้าเรามีเวลาว่างลองช่วยกันสังเกตุดูบ้างก็ดี จะได้เข้าใจธรรมชาติและมีเวลาในการป้องกันรักษาได้ทันท่วงทีนะครับ

ส่วนที่จะนำมาบอกกล่าวกันในวันนี้คือโรครากเน่าโคนเน่าและโรคเน่าคอดิน เกษตรกรจะต้องไม่ประมาทต้องหมั่นตรวจตราระวังรักษาให้ดี การเตรียมแปลงหรือหลุมก่อนปลูก ควรจะต้องทำการตากดิน เตรียมดินอย่างประณีตแล้วจึงค่อยนำมาเมล็ดมาหว่านลงไป  มิฉะนั้นถ้าปล่อยให้มีเชื้อโรคสะสมอยู่เขาก็จะเข้าทำลายตั้งแต่ระยะเมล็ดยังไม่งอก หรืองอกออกมาแล้วก็จะมีเจ้าเชื้อรา ไรซอคทอเนีย (Rhizoctonia solani)  ตัวนี้คอยจ้องทำลาย ทำให้เมล็ดพันธุ์ไม่สามารถที่จะงอกและเจริญเติบโตต่อไปได้เป็นปรกติ

พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังควรระบายถ่ายเทน้ำให้ดี ให้พื้นที่ปลูกนั้นแห้งอยู่เสมอมิให้มีน้ำขังเพราะจะทำให้รากขาดอากาศและเชื้อโรคเข้าแทรกซ้อน ถ้าเป็นพื้นที่สวนใหญ่ ๆ เช่น สวนยาง สวนปาล์ม สวนมังคุด สวนทุเรียน สวนสละลองกองฯลฯ ยิ่งต้องควรบริหารจัดการสำรวจพื้นที่โดยรอบและหาพื้นที่ที่เป็นจุดต่ำสุด จัดการขุดทำเป็นบ่อให้น้ำทั่วทั้งพื้นที่ไหลรวมไปจุดเดียว (ในจุดที่ต่ำที่สุดของสวนเพื่อให้น้ำส่วนอื่น ๆ ไหลรวมมาอยู่ที่เดียว) เพือเป็นการเสียสละอวัยวะรักษาชีวิต เพราะการทีฝนตกเกือบตลอดทั้งเดือน น้ำย่อมเกิดการท่วมขัง ถ้าปล่อยให้ท่วมขังทั้งสวนก็อาจจะทำให้ผลผลิตเสียหายไปเลยทั้งสวนได้

ส่วนในเรื่องของโรครากเน่าโคนเน่านั้นเกิดจากเชื้อราหลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น ฟัยท็อพธอร่า (Phytopthora) โรคกล้าเน่ายุบตาย พิชเธี่ยม (Pytium spp), ฟิวซาเรียม(Fusarium spp.) ที่เกิดในพืชตระกูลแตง กะหล่ำ ไรซอกโทเนีย (Rhizogtonia spp) และสเคอร์ไรเทียม (Stentium spp) ส่วนมากก็จะมีผลกระทบต่อพืชหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น มะละกอ, ถั่ว, พริก, พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้นก่อนปลูกควรใช้ภูไมท์ซัลเฟต รองก้นหลุมหรือหว่านกระจายให้ทั่วทั้งแปลงประมาณ 20 – 40 กิโลกรัมต่อไร่เพื่อ สร้างความแข็งแกร่ง สร้างภูมิคุ้นกันแก่พืชเสียก่อน และใช้ จุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อรา คือ ไตรโคเดอร์ม่า คลุกผสมกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก 1 กิโลกรัมกับปุ๋ยหมัก 50 กิโลกรัม ต้นทุนประมาณกิโลกรัมละ 2 บาท หว่านกระจายให้ทั่วแปลงหรือรองก้นหลุมก่อนปลูกเหมือนกับภูไมท์ซัลเฟต ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาโรครากเน่าโคนเน่าในระยะฝนชุกนี้ได้


มนตรี    บุญจรัส

 ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ   www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 293060เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2009 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 22:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท