มวล. กับ opportunity loss


          ผมบันทึกเรื่องนี้ไว้เมื่อเกือบ ๒ ปีมาแล้ว    วันนี้ (๒๕ ส.ค. ๕๒) ได้มีโอกาสทบทวนความจำเรื่องนี้กับอดีตนายกสภา มวล. ศ. นพ. จรัส สุวรรณเวลา ว่าแนวความคิดสร้างนวัตกรรมด้านการศึกษาวิทยาการสุขภาพที่ท่านคิดไว้ให้ มีหลักการสำคัญ ๓ ส่วน คือ

๑. มีการเรียนรู้ในชุมชน


๒. เรียนร่วมกันหลายวิชาชีพ (multi-professional education) ด้านสุขภาพ


๓. ไม่สร้างโรงพยาบาลของโรงเรียนแพทย์ตามที่มีอยู่ทั่วไป   แต่สร้างศูนย์วิชาการชั้นสูงที่ยังไม่มีในโรง

พยาบาลในปัจจุบัน   และร่วมมือเป็นเครือข่ายกับโรงพยาบาลในระบบบริการ เพื่อการฝึกนักศึกษาในวิชาชีพต่างๆ และเพื่อการให้บริการสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม 

          ผมมองว่าเรื่องนี้ท้าทายอย่างยิ่ง    หากทำได้จะเป็นนวัตกรรมเชิงระบบการจัดการศึกษาด้านสุขภาพทั้งกลุ่ม   แต่การจัดการเรื่องที่ฉีกแนวออกไปจากความเคยชินเช่นนี้ ต้องการทีมจัดการที่มีลักษณะพิเศษมาก   จึงเอามาบันทึกไว้เผื่อจะมีผู้หยิบเอาแนวคิดนี้ไปใช้


วิจารณ์ พานิช
๒๕ ส.ค. ๕๒

หมายเลขบันทึก: 292891เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2009 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ

อย่าลืมเข้าไป...

แลกเปลี่ยนความรู้

กับ บล็อก ของเรานะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท