ปกรณ์
ว่าที่ร.ต. ปกรณ์ ปกรรณกรณ์ คำกอง

องค์การและการจัดการ


องค์การและการจัดการ

องค์การและการจัดองค์การ

องค์การประกอบด้วยบุคคลที่มีพฤติกรรมเป็นไปในทางเดียวกันเพื่อสร้างให้องค์การประสบความสำเร็จในสิ่งที่ต้องการ ซึ่งการเกิดขององค์การหรือกลุ่มนั้นเกิดมาจากความต้องการความปลอดภัย มีสถานภาพที่ดี มีคุณค่าในตัวเอง จนเกิดความคุ้นเคย มีอำนาจและทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม โดยมีการก่อตั้งกลุ่ม ปรับตัวให้พร้อม กำหนดปทัสถานของกลุ่ม แล้วร่วมกันลงมือทำงานจนเกิดความสำเร็จ แต่กลุ่มที่เกิดขึ้นนั้นก็มีความแตกต่างกันในเรื่องของเงื่อนไขภายนอกกลุ่ม ศักยภาพของสมาชิก โครงสร้างกลุ่ม กระบวนการกลุ่ม ภาระงานของกลุ่ม และการตัดสินใจของกลุ่มเมื่อจะดำเนินการใดๆให้สำเร็จ เพื่อประสิทธิภาพของกลุ่มหรือระดับความพอใจในผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน โดยบุลคลในองค์การต้องมีลักษณะที่มีแรงจูงใจในการทำงาน มีอารมณ์ที่ดี มีค่านิยมที่ถูกต้อง สนใจในเชิงสร้างสรรค์ มีเจตคติ ความรู้และความสามารถ มีการเรียนรู้และรับรู้ที่มีประสิทธิภาพในองค์การ ร่วมกันตัดสินใจเพื่อองค์การ โดยมีแรงจูงใจเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานขององค์การ ซึ่งบุคคลที่อยู่ในองค์การต้องมีลักษณะเฉพาะตัวทางกายภาพที่สมบูรณ์ บุคลิกประกอบการปฏิบัติงานที่เริ่มจากคุณสมบัติเฉพาะบุคคล บวกกับความมั่งมั่นและการสนับสนุนของหน่วยงาน

                องค์การจะพัฒนาและก้าวหน้าจำเป็นต้องมีบุคคลเป็นแรงขับเคลื่อนและการบริหารงานบุคคลต้องรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องตามทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ได้แก่ ทฤษฎีการจูงใจบุคคลให้มีแรง มีความต้องการที่จะทำงานอย่างจริงจัง อย่างทฤษฎีฐานความต้องการของมนุษย์ของมัสโลว์ ต้องรู้ว่าบุคคลในองค์การมีพฤติกรรมต่องานอย่างไร ขยัน(ทฤษฎีY)หรือเกียจคร้าน(ทฤษฎีX) ทฤษฎีสองปัจจัยคือปัจจัยเกื้อหนุนกับปัจจัยจูงใจ ทฤษฎีอีอาร์จีมีความสำคัญต่อบุคคลในความต้องการสามประการคือ ความต้องการการอยู่รอด ความต้องการความสัมพันธ์ และความต้องการความเจริญงอกงาม ทฤษฎีความต้องการของแมคคลีแลนด์กล่าวถึงเรื่องใหญ่ สามเรื่องคือความต้องการสัมฤทธิ์ผล ความต้องการมีอำนาจ ความต้องการความรักจากคนอื่น ทฤษฎีประเมินเชิงปัญญาจะเน้นปัจจัยภายนอกและภายในที่ส่งผลต่อการจูงใจในการทำงาน  ทฤษฎีใช้เป้าประสงค์เป็นทฤษฎีที่วางเป้าหมายเอาไว้แล้วกระตุ้นให้เดินไปให้ถึงหรือบรรลุการทำงานขององค์การ ทฤษฎีการเสริมแรง มีการเสริมแรงในทางลบและทางบวก คือเสริมให้คนต้องทำงาน พฤติกรรมขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งตรงข้ามกับทฤษฎีความคาดหวังที่ว่าเป้าประสงค์ของบุคคลคือสิ่งจูงใจให้คนทำงาน และสุดท้ายทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลก็คือทฤษฎีความเป็นธรรม เป็นทฤษฎีความเป็นธรรม คนต้องได้รับการดูแลเท่ากัน

                ทฤษฎีดังกล่าวถือว่ามีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อการบริหารงานบุคคล การจะทำให้บุคคลในองค์การทำงานให้กับองค์การอย่างเต็มเปี่ยมก็ขึ้นอยู่กับการบริหารบุคคลที่มีประสิทธิภาพของผู้บริหาร

...................................................................................................................................................

สมาน อัสวภูมิ. 2551. การบริหารการศึกษาสมัยใหม่ แนวคิดทฤษฎีและการปฎิบัติ. อุบลราชธานี:

                อุบลกิจออฟเซตการพิมพ์

หมายเลขบันทึก: 292385เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2009 22:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท