สรุปปรัชญาการศึกษาไทย


สรุปปรัชญาการศึกษาไทย

  ทุกอย่างเกิดจากเหตุ

              ประเทศไทยเริ่มมีการศึกษาเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์  แบ่งตามวิวัฒนาการศึกษายุคต่าง ๆ ดังนี้

สมัยสุโขทัย   Ø การศึกษาจะเป็นแบบวัดกับรัฐร่วมกันจัดการศึกษามุ่งเน้นในด้านการอบรม สั่งสอนศีลธรรมข้อปฏิบัติในการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม เมื่อได้อ่านได้ฟังจากหนังสือ จะมีพระภิกษุและวัดเป็นแหล่งวิชาทานที่สำคัญ วังที่สอนบุตรหลานข้าราชการ ทางด้านการเมือง และการเรือน ตามสำนักบ้านวิชาช่างต่าง ๆ ก็จะสอนเกี่ยวกับวิชาชีพ ช่างถม ช่างแกะ ช่างปั้น ฯลฯ เพื่อไปประกอบวิชาชีพ

                  หลักสูตร Ø มุ่งอบรมสั่งสอนธรรมในคัมภีร์พระไตรปิฎก จริยศึกษา ขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวิทยาการต่าง ๆ เน้นในด้านการเรียนภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาขอม วิชาเลข หนังสือคัมภีร์ที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษด้วยการคัดลอกหรือบอกต่อ และมีศิลาจารึก

                โรงเรียน               Ø   วัด วัง หมู่บ้าน

              ครู ผู้บริหาร         Ø  พระภิกษุ ขุนนาง เจ้านาย ครูช่าง

นักเรียน                Ø  ทุกคนที่ได้รับโอกาสทางการศึกษา ส่วนใหญ่จะเป็นลูกเจ้านายมียศมีตำแหน่ง และมีฐานะ จะได้รับการศึกษาการอบรม

      การเรียนการสอน         Ø       การเรียนการสอนแบบถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงามและครูเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอนเป็นต้นแบบ 

 

สมัยอยุธยา   Ø  การจัดการศึกษาเหมือนกับสมัยสุโขทัย

                หลักสูตร Ø เหมือนกับสมัยสุโขทัยรัฐจะไม่จัดการศึกษาโดยตรง แต่พระเจ้าแผ่นดินจะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเพื่อให้เกิดพุทธศึกษาและจริยศึกษา เกิดแบบเรียนไทย หนังสือจินดามณี และตำราวิชาการช่างต่าง ๆ มากมาย เช่น วิชาโหราศาสตร์

                 โรงเรียน  Ø   วัด วัง สำนักราชบัณฑิต สถานสอนภาษาของมิชชั่นนารีโรงเรียนสามเณร

              ครู ผู้บริหาร  Ø  พระภิกษุ ขุนนาง เจ้านาย ครูช่าง หมอสอนศาสนาชาวต่างชาติ

นักเรียน          Ø  ทุกคนที่ได้รับโอกาสทางการศึกษา ส่วนใหญ่จะเป็นลูกเจ้านายมี

ยศมีตำแหน่ง และมีฐานะ จะได้รับการศึกษาการอบรม ในสตรีเกิดขึ้นน้อยด้วยข้อจำกัดหลายอย่าง

              การเรียนการสอน Ø     การเรียนการสอนแบบถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงามและครูเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอนเป็นต้นแบบ เหมือนกับสุโขทัย

 

สมัยธนบุรีเหมือนกับสมัยกรุงศรีอยุธยา   Ø  เนื่องจากบ้านเมืองมีศึกสงคราม การทำนุบำรุงศาสนาและการส่งเสริมด้านการเขียนหนังสือ วรรณคดีต่าง ๆ นอกจากเพื่อเป็นการส่งเสริมสืบทอดพระพุทธศาสนาแล้วยังเป็นการส่งเสริมให้การอบรมแก่ประชาชนไปพร้อม ๆ กันด้วย 

 

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น   Ø  การศึกษาสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียน มีวัดและวังเป็นที่อบรม เหมือนกับกรุงศรีอยุธยา ส่วนใหญ่เป็นการศึกษานอกโรงเรียน

                หลักสูตร Ø เหมือนกับกรุงศรีอยุธยาแต่จะมีการติดต่อกับต่างชาติมากขึ้นก็จะมีโรงพิมพ์ผลิตตำราเรียน หนังสือประถม ก.กา และประถมมาลา

                โรงเรียน Ø   เริ่มเป็นรูปแบบคล้ายกับโรงเรียนมากขึ้น แต่ยังอยู่ในวัดและในวังเหมือนเดิม

ลักษณะครู นักเรียน การเรียนการสอน จะแบบเดิม ตามคำสุภาษิตที่ว่า เมื่อน้อยให้เรียนวิชา ให้สินเมื่อใหญ่ลักษณะการจัดการศึกษาจะเป็นแบบ บวชเพื่อเรียน ไม่ใช่จะเรียนหนังสืออย่างเดียวจะเน้นในด้านการไปประกอบอาชีพ จะตรงกับข้ามกับสมัยนี้ การประกอบอาชีพไม่ได้ขึ้นอยู่กับการที่เราได้เรียนหนังสือ 

 

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนปลาย  Ø  ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบเกิดขึ้นระยะแรกประชาชนยังไม่เห็นความสำคัญของการศึกษาเท่าไร ต่อมาความคิดเปลี่ยนกับมาให้ความสำคัญกับการศึกษาส่งบุตรหลานไปเรียนเพื่อได้ฝึกหัดให้เข้ารับราชการตามความต้องการของบ้านเมือง

ในสมัยรัชกาลที่ 6 เริ่มมีแผนการศึกษา และนำปรัชญาการศึกษาจากยุโรปมาใช้จัดการศึกษาของไทย โดยมีจุดมุ่งหมายให้ทุกคนได้รับการศึกษาเท่าเทียมกัน เน้นทางด้าน พุทธศึกษา จริยศึกษา และพลศึกษา

ในสมัยรัชกาลที่ 7 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มุ่งส่งเสริมประชาธิปไตย ขยายการศึกษาไปถึงขั้นอุดมศึกษา และได้นำทฤษฎีปรัชญาการศึกษาของทางยุโรปมาใช้จนถึงปัจจุบัน แต่มาถึงยุคที่เกิดปัญหาทางสังคมทำให้นักวิชาการได้เกิดวิพากษ์ว่าการศึกษา ที่จัดอยู่ในปัจจุบันเหมาะสมกับเด็กไทยหรือไม่ทำให้เกิดนักคิดทฤษฎีมากมาย เพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดว่าการจัดการศึกษาเราควรที่จะจัดการศึกษาตาม ปรัชญาการศึกษาไทยหรือไม่ ซึ่งแบ่งตามแนวคิดตามนักปรัชญาที่ได้เรียนมา ดังนี้ 

              ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพุทธธรรม โดย พระธรรมปิฎก คือ ทุกอย่างเกิดจากเหตุตามแนวพระพุทธศาสนา คนเราจะมีสติปัญญาได้ด้วย 2 องค์ ประกอบ คือ ทางด้านร่างกายและจิตใจ มนุษย์จะเรียนรู้ได้ด้วยสติปัญญาภายในใจนั้น คือ การที่เราได้ฝึกปฏิบัติให้สามารถหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำจากสิ่งอื่น ทำให้มีอิสรภาพ คือ สติปัญญาที่เราได้ศึกษานี้เอง กระบวนการศึกษา มีองค์ประกอบ คือ การมีความรู้เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงเพื่อประโยชน์และปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและแก้ปัญหาได้ถูกต้อง ตามหลักไตรสิกขา การปรับตัวเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการดำรงอยู่ พัฒนาร่างกายแข็งแรง และจิตใจที่มีคุณธรรม และการรู้จักและเข้าใจเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันของ ตนกับสิ่งแวดล้อมและปรับสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์แก่ตน  ปรัชญานี้เน้นแนวพุทธศาสนามาเป็นหลักในการพัฒนาการศึกษาไทยเพราะคนไทยมีความ ผูกพันและเน้นแฟ้นกับพุทธศาสนามาช้านานเราควรที่จะนำมาใช้ในการดำรงชีวิตและ แก้ปัญหาในทุกด้านของสังคม 

               ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว     ภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ทรงมีแนวคิดที่ว่าการศึกษา คือ เครื่องมือในการพัฒนามนุษย์ทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา การศึกษาจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีส่วนสร้างสรรค์สังคม การศึกษามุ่งที่สร้างปัญญาและลักษณะของชีวิตให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตเพื่อตนเอง  แนวทางด้านการจัดการศึกษามุ่งให้การศึกษาด้านวิชาการถ่ายทอดความรู้เพื่อขัดเกลาความคิด ประพฤติและคุณธรรม ให้มีความเข้าใจในหลักเหตุผล มีความซื่อสัตย์สุจริต รู้จักรับผิดชอบตนเองให้ถูกต้องเป็นธรรม เน้นการเรียนรู้แบบหลากหลายวิชาการเพื่อที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับบริบทสังคม 

      

ปรัชญาการศึกษาไทยตามพุทธธรรมจากการวิเคราะห์ของสาโรช บัวศรี

การพัฒนาการศึกษาด้วย ขันธ์ 5 เมื่อปฏิบัติตามชีวิตก็จะเป็นกุศลมูล สามารถทำให้บุคคลมีชีวิตที่ร่มเย็น เมื่อปฏิบัติตามทางสายกลาง เพื่อที่รู้จักตนเอง สิ่งแวดล้อม การปฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสิ่งแวดล้อมเราก็จะค้นพบว่าเราถนัดทางด้านอะไร พร้อมทั้งพัฒนาจริยธรรมศึกษาไปด้วย เมื่อจัดการเรียนการสอนได้ด้วยอริยสัจ 4 เพื่อหาหนทางดับทุกข์ มีเหตุปัจจัยเหมือนกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เมื่อการศึกษาของไทยสามารถนำปรัชญานี้ไปพัฒนาได้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้ในอนาคต   

สรุป จะเห็นได้ว่าการศึกษาไทยมีวิวัฒนาการความเชื่อตามแนวทฤษฎีปรัชญาการศึกษาพื้นฐาน

              ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ตอนต้น (ปรัชญาสารัตถนิยม ตรงที่ว่ามีครูเป็นต้นแบบและเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง) (ตามปรัชญาอัตนิยม นักเรียนตรงที่ว่า ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนตามความถนัดของตนเอง เช่น เลือกเรียน งานช่าง งานปั้น เลือกเรียนตามความพอใจ และสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้)  (ตามปรัชญานิรันตรนิยม หลักสูตร ตรงที่ว่าให้ผู้เรียนเรียนรู้สิ่งที่ดีงามวัฒนธรรมขนบประเพณีที่สืบทอดกันมา) (พิพัฒนาการนิยม ตรงที่ว่า โรงเรียนเป็นแหล่งสร้างสรรค์ประสบการณ์ชีวิตจริงให้แก่เด็ก)

              สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนปลายถึงปัจจุบัน เริ่มเป็นระบบมากขึ้น เริ่มมีหลักสูตร โรงเรียน ครู ผู้บริหาร เป็นรูปแบบมากขึ้นตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ จนถึงพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 การจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาตามตะวันตก เช่น ปรัชญาสารัตถนิยม ปรัชญานิรันตรนิยม ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เริ่มใช้ปรัชญาปฏิรูปนิยม การศึกษาเพื่อสร้างสรรค์สังคมและมีส่วนช่วยแก้ปัญหาสังคม การพัฒนาการศึกษาก็ยังไม่เป็นผลก็เริ่มหันกลับมามองการถึงปัญหาการศึกษาไทย ว่าควรที่จะนำแนวคิดทฤษฎีที่เหมาะสมกับสังคมไทยเพื่อให้การศึกษาไทย 
 

เจริญก้าวหน้าและมีแนวทางเลือกที่มากขึ้น เพราะว่าไม่มีอะไรดีที่สุด และไม่มีอะไรเหมาะสมที่สุด ไม่มีถูก ไม่มีผิด ไม่มีอะไรถูกต้องที่สุด จึงเกิดทฤษฎีแนวคิดการศึกษาไทยมากมายที่กล่าวข้างต้น อย่างไรก็แล้วแต่การศึกษาจะประสบผลสำเร็จได้ต้องมีต้องมีสิ่งที่เกื้อหนุนเกื้อกูลกัน ไม่ว่าจะเป็น รัฐบาล ผู้บริหาร โรงเรียน ครู และนักเรียนต้องมีส่วนช่วยกันผลักดันให้การศึกษาไทยพัฒนาเจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะครูซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่คอยชี้แนะแนวทางอบรมสั่งสอนทั้งด้านเนื้อหาวิชา และด้านคุณธรรมจริยธรรม ให้กับอนาคตของชาติต่อไป  

 

หมายเลขบันทึก: 292382เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2009 22:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าเรียนรู้ทั้งนั้นเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะSleeping In Class

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท