กลุ่มทฤษฎีแรงจูงใจ (2)


ทฤษฎีการบริหารหารศึกษา

          5.  ทฤษฎี X และ  Y  ของดักกลาส แมกเกรเกอร์ โดยเขาให้สมมุติฐานว่า มนุษย์เราแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

                        ประเภท X ซึ่งมักเป็นมนุษย์ที่มีความเกียจคร้าน ไม่ชอบทำงาน หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ

                        ประเภท Y คือ มนุษย์ที่มีความต้องการทำงาน เห็นว่าการทำงานคือการพักผ่อน

            ดังนั้นการจูงใจประเภท X นั้น จะต้องทำโดยการบังคับ ขู่ เคี่ยวเข็ญ เพื่อให้เกิดความกระตือรือร้น ส่วนมนุษย์แบบ Y นั้น ไม่จำเป็นต้องกระทำด้วยแรงจูงใจแบบการบังคับ

                3.  กลุ่มทฤษฎีร่วมสมัย หมายถึง ทฤษฎีว่าด้วยสถานการณ์ มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ แต่ทฤษฎีร่วมสมัยบางอย่างที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นทฤษฎี แต่อยู่ระหว่างการศึกษาทดลองเพื่อปรับให้เป็นทฤษฎี เช่น ทฤษฎี Z ซึ่งเกิดจากคนอเมริกัน ที่มีเชื้อสายญี่ปุ่น ชื่อ วิลเลี่ยม โอชิ ได้ศึกษาวิจัยว่า แนวความคิดในการบริหารจัดการของโลกนั้น แบ่งออกเป็น 2 ค่าย คือ ค่ายอเมริกัน และค่ายญี่ปุ่น โดยสาเหตุที่ต้องศึกษาเช่นนั้น เพราะเขามองว่า ในค่ายอเมริกันนั้น มักประสบความสำเร็จในธุรกิจโดยเฉพาะก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2  และเป็นผู้ที่ชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย ผลปรากฏว่า ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  ญี่ปุ่นนั้นแม้จะเป็นประเทศที่ขาดดุลทางการค้าแก่อเมริกาแต่ได้ปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นมา จนสามารถเป็นยักษ์ใหญ่ในโลกเศรษฐกิจในปัจจุบันได้ คล้ายกับว่า อเมริกันนั้นขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นอย่างย่อยยับ ดังนั้นวิลเลี่ยม จึงศึกษาถึงจุดดีของการบริหารจัดการจากสองค่ายนำมาสร้างเป็นแนวคิดขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้ การที่จะทำความเข้าใจทฤษฎี Z ได้นั้น ต้องทำความเข้าใจของทฤษฎี A และทฤษฎี J ก่อน

                ทฤษฎี A คือ  Amarican Theory เป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา ซึ่งให้หลักการว่า การบริหารจัดการแบบนี้ ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล ของผู้บริหารที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งในทฤษฎีนี้มีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ

                                1.  Individualism คือ การที่สังคมอเมริกันเป็นสังคมแบบ ปัจเจกบุคคล ซึ่งจะมีความรับผิดชอบต่อตัวเองมาแต่อดีต และเมื่อคนต่างชาติโดยเฉพาะคนตะวันออกเข้าไปอาศัยในอเมริกันก็จะสังเกตว่า คนอเมริกันเป็นคนโดดเดี่ยว มีสุงสิงกับใคร สังคมแบบ Individualism ส่งผลให้เกิดบุคลากรที่มีความรับผิดชอบในหน่วยงานสูง แต่ก็เกิดผลเสียคือ ไม่เกิดความผูกพัน หรือเป็น

                                2. Short Term Employment คือ การจ้างงานในระยะสั้น คนอเมริกันมักไม่มีความผูกพันในครอบครัว ในที่ทำงาน พร้อมเสมอที่ออกจากงาน ย้ายงาน จึงมักมีบริการให้เช่าสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมองว่าต้นทุนในการขนย้ายเฟอร์นิเจอร์เมื่อย้ายงาน ออกจากบ้าน จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าค่าเช่า นอกจากนั้น คนอเมริกันยังมีลักษณะที่เป็น

                        3.) Individual Decision Making สูง มีความมั่นใจในการตัดสินใจ กล้าตัดสินใจ ทำให้ผู้บริหารไม่ต้องไปดูแลอย่างใกล้ชิด ผลเสียคือ ขาดการทำงานเป็นทีม

                ทฤษฎี J คือ การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น ซึ่งมีลักษณะที่เรียกว่า 1.) การจ้างงานตลอดชีวิต หรือ Lifetime Employment  มีการเลื่อนตำแหน่ง มีความผูกพันกัน เพราะฉะนั้นการเลี้ยงคนแบบญี่ปุ่นจะส่งเสริมให้มีการฝึกงานอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ผลเสียคือ ต้องเลี้ยงคนที่มีประสิทธิภาพการทำงานต่ำไว้ในหน่วยงานจนตลอดชีวิตด้วยเช่นกัน ก่อให้เกิดผลเสียต่อองค์การ ลักษณะประการที่สองของการบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น คือ ต้องมี  Concential Decision Making คือ การตัดสินที่ต้องได้รับการยอมรับจากที่ประชุม ซึ่งเป็นผลดี แต่ผลเสีย คือ อาจเกิดความล่าช้า

            วิลเลี่ยม โอชิ มองเห็นข้อดีและข้อเสียของ 2 ทฤษฎีตัวอย่าง แล้วนำข้อดีข้อเสียนั้นมาวิเคราะห์สร้างเป็นทฤษฎีร่วมสมัย ที่เรียกว่า Blend Together หรือการนำมาผสมผสานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า ทฤษฎี Z ซึ่งเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ โดย 1.) ใช้วิธีแบบ Long Term Employment หรือการจ้างงานระยะยาวขึ้น ซึ่งเป็นทางสายกลาง คือ ไม่ต้องจ้างตลอดชีวิตแต่ก็ไม่ใช่การจ้างแบบระยะสั้น แต่เน้นการจ้างในระยะเวลาที่นานพอสมควรแล้วสร้างความผูกพัน 2.) ประการที่สอง จะต้องมีลักษณะที่เรียกว่า Individual Responsibility  คือ จะต้องมีความรับผิดชอบส่วนบุคคล ซึ่งนำเอาหลักแนวคิดแบบอเมริกันมาใช้กับบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง กล้าตัดสินใจ ไม่ต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารมากจนเกินไป 3.) และประการที่ 3 คือ ต้องมี Concential Decision Making คือ การตัดสินใจต้องทำเป็นทีม ต้องมีการพูดคุย ถึงผลดีผลเสียของการบริหารจัดการแบบต่างๆ

            กล่าวโดยสรุป คือ ทฤษฎีด้านการจูงใจแบ่งเป็น 3 ทฤษฎีหลัก คือ ทฤษฎียุคดั้งเดิม ซึ่งเป็นแนวคิดการบริหารจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ที่นำโดยเฟรเดอริก วิสโล เทย์เลอร์ นั้น จูงใจด้วยเงิน กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มที่เน้น Behavior หรือเน้นด้านพฤติกรรม เน้นการจูงใจโดยอาศัยหลักจิตวิทยาต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มทฤษฎีใหญ่ คือ

                  . ทฤษฎีว่าด้วยความต้องการ ของอับบราฮัม มัสโลว์

                  .  ทฤษฎีว่าด้วย 2  ปัจจัย ที่เรียกว่า Two Factor Theory  ของเฟรเดอริก เฮสเบิร์ก

                  .  ทฤษฎีว่าด้วยความคาดหวัง ของวิกเตอร์ รูม

                  .  ทฤษฎีว่าด้วยการจูงใจ ของเดวิด เมกเคลแลนท์

                  .  ทฤษฎี X และ  Y  ของดักกลาส แมกเกรเกอร์ และกลุ่มทฤษฎีกลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มทฤษฎีที่เพิ่งเกิดขึ้นมาได้นานมานี้ หรือกลุ่มทฤษฎีร่วมสมัย Contemporary Theory คือ การจูงใจคนขึ้นอยู่กับการสถานการณ์ จนเกิดเป็น ทฤษฎี Z ของวิลเลี่ยม โอชิ นักวิชาการชาวอเมริกันลูกครึ่งญี่ปุ่นขึ้นมา

 

หมายเลขบันทึก: 292224เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2009 14:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท